ลูกค้าไม่ชำระเงินค่าสินค้าปลายทาง และบริษัทขนส่ง บอกว่าไม่มีนโยบายจัดการเรื่องนี้
เขายสินค้าใน shopee มีการชำระเงินแบบปลายทางได้
เมื่อขนส่ง นำส่งสินค้า ลูกค้าไม่ชำระเงินที่ปลายทาง และ สินค้าตีกลับมายังร้าน
หากต้องการดำเนินคดี ต้องทำอย่างไร
ลูกค้าไม่ชำระเงินปลายทางจำนวนมาก เงินทุนที่ลงไปก็จมอยู่กับสินค้า (เป็นร้านพรีออเดอร์)
เจ้าหน้าที่ shopee ..
ให้ติดต่อกับบริษัทขนส่งโดยตรง เพราะมีนโยบายรองรับการจัดการเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม
กรณีผู้ซื้อเลือกการจัดส่งเป็นแบบชำระปลายทาง ถ้าหากผู้ซื้อปฏิเสธการรับสินค้าจะทำให้เสียคะแนนผู้ซื้อ ซึ่งอาจมีผลต่อการพิจารณาการใช้งานต่อไป
หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อได้ที่ Call Center 02-017-8399 หรือ Email : support@shopee.co.th
บริษัทขนส่ง ..
“เนื่องจากการจัดส่งพัสดุแบบเก็บเงินปลายทางนั้น ลูกค้าปลายทางจะสามารถปฏิเสธการรับพัสดุในภายหลัง ได้โดยไม่มีความผิดหรือมาตรการดำเนินการเอาผิดแต่อย่างใด”
ซื้อขายสินค้าออนไลน์แบบเก็บเงินปลายทาง โดยผู้ขายเลือกรูปแบบการชำระเงินเอง เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ซื้อ อีกทั้งผู้ขายก็รู้ดีว่า ผู้ซื้อมีสิทธิปฎิเสธไม่รับสินค้าก็ได้ เพราะเป็นข้อตกลงที่รู้อยู่ก่อนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าว เป็นข้อตกลงทางแพ่ง ซี่งคู่สัญญามีสิทธิตกลงกันได้
มาตรา 151 การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ
เราก็ทำธุรกิจนะคะ ไม่เห็นด้วยกับการที่ผู้ซื้อสั่งสินค้าแล้วปฎิเสธไม่รับสินค้าค่ะ แต่เรื่องนี้ เราคิดว่า ผู้ซื้อมีสิทธิปฎิเสธไม่รับสินค้า และ ยังมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอีกหลายฉบับเลย เป็นผู้ประกอบการรายย่อยเหนื่อย
อาจจะมีบ้างที่สร้างปัญหาให้ธุรกิจ แต่หากธุรกิจดำเนินกิจการอย่างใส่ใจ มีมาตรฐาน มีความจริงใจ ย่อมสร้างความน่าเชื่อถือและไว้วางใจใช้บริการบอกต่อ คนที่คิดจะแกล้งคนอื่นก็ไม่ควรทำนะ ใจเขาใจเรา
ร้านที่ทำแรกๆ ถ้าไม่ใหญ่พอ โดนค่าขนส่งแทบไม่ได้กำไร
เคยถาม เจ้าหน้าที่ กดของซ้ำ เนทค้างทำยังไง เมื่อก่อน มันไม่มีให้ยกเลิก
เจ้าหน้าที่ตอบง่ายๆเลย ก็ไม่ต้องรับของ เอาแค่ไหนรับแค่นั่น สั่งแล้ว ไม่มีเงิน ก็ไม่ต้องรับ
ขายของพรีออเดอร์เค้าไม่เก็บปลายทางกันหรอก เค้าเก็บมัดจำหรือเก็บเต็มตั้งแต่เริ่มสั่งของเลยนะ
มาตราแพ่ง 168 และ 458
จะเอาผิดได้เมื่อเขาเจตนา สั่งมาแล้วไม่จ่ายๆบ่อยๆ ก่อกวน ฯลฯ
ไม่เกี่ยวกับ168, 458 (แค่บอกว่าสิทธิในการซื้อสินค้าชิ้นนั้นเป็นคนซื้อ นิติกรรมยังไม่สมบูรณ์)
วิธีแก้ ก็ยกเลิกวิธีการเก็บปลายทาง ไปสร้างความเชื่อมั่นร้านค้าทางอื่นแทน
อันนี้ใช้กับการซื้อขายทั่วไป การซื้อขายออนไลน์อยู่ใต้ พรบ.ขายตรงและการตลาดแบบตรง ผู้บริโภคได้รับสิทธิพิเศษเนื่องจากกฏหมายเห็นว่าไม่ได้เห็นสินค้าโดยตรงก่อน จึงมีสิทธิ์คืนสินค้าได้โดยไม่ต้องแจ้งเหตุผล ไปอ่านได้เลยค่ะ กรณีที่ร้านค้าเกิดความเสียหายจากค่าส่งหรือใดๆ ก็ตาม ร้านค้ามีหน้าที่ต้องพิสูจน์ความเสียหายนั้นค่ะ และเป็นคดีแพ่ง ตำรวจไม่รับแจ้งความ สรุปคือร้านค้าซวยทุกด้านค่ะ เรารับเคสจากผู้เสียหายบ่อย ยืนยันว่านี่คือสิ่งที่ถูกค่ะ
เก็บเงินปลายทางคือต้องจ่ายเงินก่อนนะครับ ถึงจะรับของแล้วมาเปิดดูข้างในได้
พวกที่สั่ง แต่พอเขามาส่งให้ ตั้งใจหลบเลี่ยงไม่รับของ ไม่รับสาย ยกเลิกกลางคัน หรือปฏิเสธไม่รับของดื้อๆ หรือ อาจเป็นศรัตรูทางการค้า
ของไม่ตรงปก
ของไม่ตรงปก จะรู้ได้โดยต้องรับขของเปิดดู หรือ สงสัยสอบถามเพิ่มไปหลังจากสั่งซื้อ ก็พบว่า เข้าใจผิดจากข้อความที่โฆษณา เป็นไปได้ว่าคนขายตั้งใจ หรือ อาจไม่ตั้งใจก็ได้
ตัวอย่าง ทักไปหลังจากสั่งซื้อ เพื่อจะถามบางประเด็นเพราะสงสัย แต่กลับไม่ได้รับการตอบกลับ เกินกว่า 24hr เหมือนคนขายเจตนา จะหลบเลี่ยง หรือ ไม่ก็ขาดความใส่ใจ ยิ่งทำให้ผู้ซื้อขาดความมั่นใจ ซื้อกับใคร? ใครเป็นเจ้าของ? สถานที่ติดต่อ? เว็บไซต์? เวลาเคลมจะทำอย่างไร ขนาดยังไม่ได้ส่งของยังหลบเลี่ยง บางคนถามจนรู้ว่า ของที่สั่งไม่ได้เป็นไปตามที่โฆษณาก็ยกเลิกเพื่อไม่ให้คนขายต้องจ่ายค่าส่งก็มี
สรุปแล้ว ถ้าร้านขายของดี จริงใจ ใส่ใจ ปัญหาเหล่านี้จะลดลง มีคนซื้อมากขึ้นจากการบอกต่อ แต่ถ้ามาตั้งแง่ เช่น ตอนรับคำสั่งซื้อเสร็จ ก็ส่งข้อความเชิงข่มขู่ (จะเอาผิด 168,458) อย่างนี้ก็เกินไป ลองคิดในมุมกลับกัน ถ้าคนซื้อส่งข้อความไปขู่คุณด้วย จะฟ้อง หลอกลวง พรบคอมฯ ฯลฯ คุณจะรู้สึกอย่างไร
บางกรณี ลูกค้าแจ้งว่าต้องการใช้ของด่วน ขอให้ทางร้านช่วยส่งของให้ทันที ทั้งที่ทางร้านก็ตัดรอบไปแล้ว แต่ก้เห็นใจลูกค้า เลยรีบส่งให้เป็นกรณีพิเศษ ปรากฎว่าพอส่งของให้ เจตนาไม่รับของ เบอร์ที่ให้ไว้ก็ติดต่อไม่ได้ แถมบล็อกแชทของทางร้านอีกต่างหาก ทางร้านเสียค่าส่งแบบฟรีๆ แถมกว่าจะได้รับของตีกลับคืน รอเป็นเดือน สภาพบรรจุภัณฑ์เละเทะ ผิดกับตอนที่เราส่งไป เสียความรู้สึกมาก แต่เป็นเพียง 1% เท่านั้น ลูกค้าดีๆ มีอีกเยอะ เก็บแรงไว้บริการลูกค้าดีๆ ดีกว่า
สรุป ร้านแย่ๆก็มีเหมือนกัน คนซื้อแย่ๆก็มี
บางร้านอาจแก้ปัญหาโดยให้จ่ายมัดจำก่อน หรือ โอนบางส่วน ( แต่ก็จะสู้ร้านอื่นไม่ได้)
ซึ่งก็ไม่ได้หรอก เพราะคุณจะไม่เสนอบริการเก็บเงินปลายทางให้กับเขาก็ได้ แต่คุณก็เสนอโดยแบกรับความเสี่ยงส่วนนี้ไว้ แลกกับการให้บริการที่ดีกับลูกค้าคนอื่น ๆ
สาเหตุที่ยกเลิกมีมากมาย บางคนก็แถว่าคนสั่งไม่เอาแล้วบ้าง เด็กกดเล่นบ้าง เจอร้านที่ถูกกว่า ก็เลยไม่รับของเอาซะดื้อ ๆ เพราะยังไงก็ไม่เสียอะไร
เมื่อก่อนตอนดูแลงานแบบนี้ในบริษัทเก่าก็ด่าเช็ดเหมือนกันแหละ ของตีกลับมาเยอะ ๆ เสียเวลาเอาของออกจากกล่องอีก
แต่เจ้านายเค้าบอกยอมรับได้ เพราะลูกค้าดี ๆ หลายคนไม่ไว้ใจที่จะโอนเงินมา ถ้ามีระบบนี้ก็ดึงลูกค้าส่วนนี้มาได้
ส่วนลูกค้างี่เง่าก็ต้องนับเป็น loss ที่ต้องยอมรับ ถ้าถึงจุดที่ loss มันมากเกินจะรับได้ค่อยพิจารณาเอาออก
เพิ่มเติม (ไม่แน่ใจ)
ผิดสัญญาซื้อขายไม่ผิดทางอาญา แต่ฟ้องแพ่งได้ ถ้าเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง
– มีหนังสือสัญญา กรณีมูลค่ามากกว่าสองหมื่น
– จ่ายมัดจำแล้ว
– ชำระเงินไปบางส่วนแล้ว
– มีใบวางบิล/ใบแจ้งหนี้ที่ผู้ซื้อเซ็นรับ
มิจฉาชีพ
วิธีการหาเงินที่แปลก
พวกสั่งของมาจากจีน สิบยี่สิบบาทต่อชิ้น แล้วหาที่อยู่คน มันมีที่เอาชื่อและที่อยู่มาจากไหนไม่รู้ แล้วส่งดะ เก็บเงินปลายทาง สักร้อยหรือสองร้อย หักค่าส่งก็กำไรแล้วครับ
ของไปถึงที่บ้าน ราคาไม่กี่ตังค์ คนที่บ้านก็จ่ายแทน นึกว่าลูกชายสั่ง ลูกสาวซื้อ ยิ่งคนเฒ่าคนแก่ ไม่รู้เรื่อง
สั่งซื้อไปแล้วมาตรวจสอบทีหลังพบว่าสินค้าตัวเดียวกันราคาจริงถูกกว่า 10 เท่า ส่วนหนึ่งก็เป็นความผิดของคนซื้อที่ไม่เช็คข้อมูลให้ดีก่อน แต่บอกตรงๆ ว่าขอไม่รับสินค้าเช่นกันค่ะ ราคาจริง 50฿ รีวิวเว่อา์อัพราคาเป็น 999฿ แบบนี้รับไม่ได้จริงๆ
ก็หาข้อมูลก่อนซื้อ เพราะก่อนซื้อไม่มีใครไปบังคับมือคุณให้กด
ก่อนจะยอมรับการเก็บเงินปลายทางเพื่อเพิ่มยอดขาย ก้อควรศึกษาว่ามันมีความเสี่ยง ไม่มีใครบังคับให้ต้องเก็บเงินปลายทาง
ขายของให้คนร้อยพ่อพันแม่ก้อควรต้องรู้ไม่ใช่ทุกคนจะเปนคนดี ทำตามความถูกต้องทั้งหมด บางอย่างเราก้อต้องรู้จักระวังตัวเอง เหมือนเดินข้ามทางม้าลายทำไมต้องมองซ้ายมองขวา ทั้งๆที่เราทำถูกต้องทุกอย่าง
สมัยนี้ธุรกิจแข่งขันกันสูง แข่งกันอำนวยความสะดวกเพื่อดึงลูกค้า การเก็บเงินปลายทางก้อเปนการดึงดูดลูกค้าอย่างนึง
ร้านเสื้อผ้าบางร้านลูกค้าซื้อแล้วเอากลับไปบ้านใส่ลองหลายครั้งไม่พอใจ สามารถเอามาคืนได้ใน 14 วัน ไม่มีเงื่อนไข เขาไม่เห็นโวยวายอะไร
ถ้าคุณทำไม่ได้แบบเขา ก้อไม่มีใครบังคับให้คุณทำ คุณก้ออย่าไปตั้งข้อเสนอเพื่อดึงดูดแบบเขา แค่นั้นเอง
กรณีคุณก้อให้ลูกค้าจ่ายก่อนส่งของ จบ
ไม่พอใจก็ไม่ต้องขายครับ
เก็บเงินมัดจำก่อน
ลูกค้าที่จ่ายปลายทางส่วนใหญ่คือไม่สะดวกโอนเงินค่ะ เลยไม่สามารถเก็บมัดจำได้ แต่ไม่เคยมีปัญหานะคะ เพราะสั่งวันนี้ ได้ของพรุ่งนี้แล้ว ลูกค้ายังไม่เปลี่ยนใจ และอีกอย่างของมาส่งแล้ว ส่วนใหญ่ก็ต้องเกรงใจและจ่ายเงินรึป่าวคะ ถ้าจะไม่จ่ายเงินก็หน้าด้านเกินไปแล้ว ลูกค้าเราส่วนใหญ่ก็จ่ายปลายทางทั้งนั้นเลยด้วย บางคนสั่งของครั้งแรกเค้าก็กลัวถูกโกงถ้าให้โอนเงินก็ไม่กล้าโอน
เคยมีกระทู้ แม่ค้าประจานลูกค้านี่แหละ ล่ะกลับกลายเป็นแม่ค้าผิดเต็มๆที่ประจานลูกค้า แม่ค้าคนนั้นเสียทั้งเงิน เวลา ความรู้สึก ไปเลย เพราะเค้าแจ้งความคนละจังหวัด ก็ต้องเดินทางไปจังหวัดนั้นๆเลยนะ
https://pantip.com/topic/35724275
การประจานผิดทั้งกฏหมายแพ่งและอาญา ไม่ว่าสิ่งที่ประจานจะจริงหรือไม่ก็ตาม การประจานทางอินเทอร์เน็ตเป็นการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณามีโทษจำคุก
เข้าใจว่า มาตรา 168 กับมาตรา 458 ที่ร้านขู่ หมายถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ค่ะ เป็นเรื่องที่คุณกระทำผิดสัญญาซื้อขาย (คดีแพ่ง) แต่ตำรวจรับแจ้งความเฉพาะคดีอาญาค่ะ ถ้าร้านอ้างว่าคุณไม่ยอมรับสินค้าทั้งที่สัญญาซื้อขายสมบูรณ์ทำให้ร้านเสียหาย ร้านต้องไปดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในส่วนของคดีแพ่งเอาค่ะ ตำรวจไม่มีหน้าที่รับแจ้งความในเรื่องนี้
ถ้าร้านมองว่าคุณทำผิดสัญญาซื้อขาย ร้านก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้ ส่วนจะชนะคดีหรือไม่ก็ต้องให้ศาลดูทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายประกอบกันค่ะ ส่วนที่เขียนไปด้านบนคือร้านมีสิทธิที่จะดำเนินคดีแพ่งได้ถ้าร้านมองว่าตัวเองเสียหาย แต่ร้านไม่สามารถแจ้งความดำเนินคดีอาญาได้เพราะไม่ใช่เรื่องคดีอาญาที่พนักงานสอบสวนจะรับแจ้งความค่ะ
แต่คุณต้องแยกให้ออกระหว่างการไปลงบันทึกประจำวันต่อหน้าเจ้าหน้าที่กับการแจ้งความโดยประสงค์จะดำเนินคดีออกจากกันนะคะ ถ้าเป็นการลงบันทึกประจำวัน ทางร้านไปขอให้เจ้าหน้าที่จดบันทึกได้ค่ะ แต่ไม่มีผลให้มีการตั้งสำนวนสอบสวน ถ้าจะให้มีการดำเนินคดีอาญา ต้องแจ้งความโดยมีความประสงค์ให้ดำเนินคดีอาญาเท่านั้น และในเมื่อเรื่องของคุณเป็นการผิดสัญญาซื้อขายทางแพ่ง จึงไม่สามารถแจ้งความได้ค่ะ
ผมเคยไม่รับนะ สินค้าหลักหมื่นด้วย เเต่เพราะร้านคลุมเคลือ ถามไปไม่ตอบ ไม่มีความชัดเจนในการค้าขายเหมือนจะหมกเม็ดบางอย่าง
ลังเลอยู่ว่าจะสั่งไม่สั่ง เเต่คิดว่าคงไม่มีอะไร จึงกดสั่งไป เเต่มันก็ยังคาใจ เลยหาข้อมูลจึงรู้ว่าสินค้านั้น โมเดลที่ลงขายกับภาพไม่ตรงกัน
ผมเลยไม่รับ เเละตามระเบียบ ถ้าซื้อจาก Lazada เหตุผลเปลี่ยนใจที่จะคืนได้ เหตุผลเดียวก็คือต้องไม่เเกะของ มันก็เข้าเงื่อนไข
ของส่งมาไม่รับ ก็หมายถึงไม่ได้เเกะ ของก็ตีกลับ เเต่ส่วนใหญ่ถ้าร้านจริงใจ ถามมาตอบไปอันนี้รับหมด ซื้อมาหลายปีเเล้วมีเเค่ไม่รับ
เคสนี้เคสเดียวเท่านั้น เเละถ้าบางเคสรับเเล้ว สินค้ามีปัญหา มีตำหนิเเบบชัดเจน จะไม่คุยกับร้านครับ ทำเรื่องคืนสถานเดียว
เพราะเหมือนร้านไม่จริงใจตั้งเเต่เเรกที่ซื้อขายกัน ตั้งใจส่งของมีปัญหามาให้ คุยไปก็จะได้ของไม่ดีกลับมาอีก ถ้าจริงใจเเต่เเรกต้องส่งของดีมาให้เลย
ซื้อออนไลน์ เลือกซื้อช่องทางไหน ยังไง
ถ้าไม่ผ่านตัวกลางซื้อขาย ตามตัวยาก เคลมลำบาก
ต้องรู้ ที่อยู่ และ ชื่อสกุล ผู้ขาย ควรมีเว็บไซต์ หรือ สิ่งที่แสดงความเชื่อถือได้ รีวิวในเฟสเชื่อถือไม่ได้ เพราะลบคอมเม้นท์ได้ คงเหลือไว้เฉพาะที่ดีๆ
ขายบนเฟสบุ๊กไม่ต่างกับ สมัยก่อน ที่ขายตามเว็บบอร์ด เป็นผู้ขายขาจร ไม่รู้คือใคร เหมือนขายของตลาดนัด ไร้หลักแหล่ง เฟสบุ๊กก็เหมือนเว็บบอร์ดนั่นแหละ แต่เป็นคนละแพลทฟอร์ม ไลฟ์สด จึงเป็นการขายที่ดีที่สุดถ้ามาทางนี้ เพราะได้ความน่าเชื่อถือ คนขายหล้าเอาหน้าออกกล้อง
1.เว็บไซต์
ความน่าเชื่อถือสูง ตรวจสอบเว็บได้ มีชื่อ – สกุล / บริษัท ที่อยู่ เบอร์ ฯลฯ และอาจมี เพจเฟสบุ๊กเสริม
2.ผู้ให้บริการแพลทฟอร์ม ecommerce
เช่น Shoppee / Lazada ต้องติดต่อไปยังผู้ให้บริการแพลทฟอร์ม
มีปัญหา ร้องเรียนได้
3.เพจเฟซบุ๊ก
มีปัญหาตามกับใคร? น่าเชื่อถือน้อย ปิดเพจเมื่อไรก็ได้ คอมเม้นท์ อาจถูกสร้างขึ้นมา บางส่วนอาจถูกบล๊อก ถูกลบ คุณจึงเห็นแต่คอมเมนท์ดีๆ
คุณรู้ไหม คนขายเป็นใคร? อยู่ที่ไหน? มาตรฐานการบริการเป็นอย่างไร? ความใส่ใจการตอบกลับ? ความจริงใจ ความถูกต้องของโฆษณา ของไม่ตรงปก
สั่งซื้อเสร็จ ผู้ขายแจ้งลิ้งสถานะจัดส่ง พร้อมข้อความขู่ จะเอาผิด หากไม่รับสินค้า
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น คือ คุณจะรู้ว่าสินค้าไม่ตรงปก ก็ต้องแกะดูก่อน ก็คือต้องจ่ายเงินก่อน แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นจริง คุณจะเคลมกับใคร? ยังไง?
การเช็คเบื้องต้น อาจะสอบถามไป ถึงข้อมูลสินค้าว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่ แต่คนขายอาจไม่ตอบคุณอีกเลย (อาจจะเลี่ยง หรือไม่ใส่ใจ) คุณโทรหาเบอร์ ที่เพจ พบว่า คนรับสายบอกว่าอยู่ต่างจังหวัด ซึ่งน่าจะเป็นเจ้าของ แต่โบ้ยเรื่องให้ไปคุยกับแอดมิน (ก็เขาไม่ตอบแชทไงจะคุยยังไง) คุณจึงบอกว่า ให้ตอบมาภายในวันนี้ก่อนเย็น ไม่งั้นยกเลิกไม่ต้องส่งมา ในที่สุด เขาโทรมาแต่ไม่ได้รับ ด้วยหลายเบอร์ คุณโทรกลับไปไม่มีคนรับ เขาตอบแชท จนคุยกันแล้วรู้ว่า ของไม่ได้เป็นไปตามที่แจ้ง ยกเลิก แยกย้าย
4.เว็บบอร์ด
ไม่มีความน่าเชื่อถือ เหมือน ขายของตลาดนัด ไม่มีระบบระเบียบที่ดีพอ ดีขึ้นมาหน่อยถ้าเว็บบอร์ด มีการให้ลงทะเบียน แต่ก็ไม่ค่อยจะทำกัน เพราะยุ่งยาก และปลอมง่าย หนักกว่านั้น ประเภทโพสท์บอร์ด อาจเปรียบเหมือนการซื้อของจาก คนที่เจอในงานวัด คนข้างทาง