• September 14, 2017

    เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing) จะเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น แนวโน้มการนำคลาวด์ คอม พิวติ้งไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หรือจากองค์กรต่าง ๆ มากมายทั้งในและต่างประเทศ

    เรื่องนี้เราจะมาขยายความเรื่อง Cloud Server หนึ่งในบริการที่เราภาคภูมิใจกัน

    คลาวด์คอมพิวติ้ง คือ แนวคิดการใช้งานทางด้านไอทีที่ใช้วิธีดึงพลังและสมรรถนะจากคอมพิวเตอร์หลาย ๆ ตัวจากต่างสถานที่ให้มาทำงานสอดประสานกันเพื่อช่วยขับเคลื่อนการบริการทาง ด้านไอที ประโยชน์ของคลาวด์ คอมพิวติ้งมีอยู่หลายประการ เช่น ช่วยให้การนำไอทีไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจทำได้ง่ายและประหยัดขึ้นกว่าใน อดีต โดยองค์กรสามารถใช้บริการทางด้านไอทีได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีของตน อีกทั้งผู้ใช้งานก็สามารถเลือกใช้บริการเฉพาะอย่างและเลือกเสียค่าใช้จ่าย ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านหรือสอดคล้องกับงบประมาณของตนได้ ยิ่งไปกว่านั้น คลาวด์ คอมพิวติ้งก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงาน หรือเพิ่มความอุ่นใจในด้านความปลอดภัยของระบบไอที เป็นต้น

    ใน อนาคตอันใกล้ คลาวด์คอมพิวติ้งจะ กลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญและจะเข้ามามีบทบาทในการปรับเปลี่ยน รูปแบบการใช้งานทางด้านไอทีขนานใหญ่ นอกจากนั้นแล้ว แนวโน้มการใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้งก็จะเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น ด้วยแรงผลักดันจากแนวโน้มสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้

    1. แนวโน้มของเว็บที่กลายเป็นสื่อกลางสำหรับการติดต่อสื่อสารของคนทั่วโลก
    ปัจจุบัน เว็บเครือข่ายทางสังคม (โซเชียลเน็ตเวิร์ก) มีการเปลี่ยนแปลงทุกวันโดยผู้ใช้หลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ตัวอย่างเช่น เฟซบุ๊ค (Facebook) วิกิพีเดีย (Wikipedia) หรือทวิตเตอร์ (Twitter) เป็น ต้น ด้วยความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายของเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์กนี้เอง ทำให้ปัจจุบันเริ่มมีการนำเว็บแอพพลิเคชั่นรูปแบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรในองค์กร

    โดย การเลือกใช้โซเชียล เน็ตเวิร์กผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งในองค์กร เพื่อระดมความคิดของพนักงานผ่านระบบออนไลน์ในแบบเรียลไทม์ รูปแบบการใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้งดังกล่าวนี้สามารถรวบรวมข้อมูลจากพนักงาน18,000 คน โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปบริหารจัดการและวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้งานเพื่อ ประโยชน์ในเชิงธุรกิจต่อไป
    นอกจากนั้น การสื่อสารอินเทอร์แอคทีฟในแบบเรียลไทม์ หรือที่เรียกว่าเว็บ 2.0 ก็ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันแนวโน้มการใช้งานทางด้านคลาวด์ คอมพิวติ้งให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าว นอกจากจะตอบสนองการทำงานของเว็บไซท์ที่เนื้อหามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแล้ว การประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลยังทำได้อย่างรวดเร็ว โดยดึงประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีอยู่มาใช้งานได้อีกด้วย

    2. แนวโน้มความต้องการประหยัดพลังงาน
    ด้วย ปัญหาโลกร้อน และค่าใช้จ่ายของพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ องค์กรหลายแห่งในปัจจุบันต่างหันมาให้ความสำคัญกับการลดพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานที่ใช้ในระบบไอที ทั้งนี้เพื่อช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายและลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศ ประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติ้งในด้านนี้ก็คือ การช่วยองค์กรลดการใช้พลังงาน หรือแม้กระทั่งการนำพลังประมวลผลส่วนเกินที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานใน ระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้อีก จากผลการวิจัยล่าสุดพบว่า เครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่ที่ทำงานตลอดเวลานั้น ส่วนใหญ่มีการใช้ทรัพยากรในระบบเพียงแค่ 10-20 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ด้วยแนวคิดของคลาวด์ คอมพิวติ้งนี้เอง จะช่วยควบรวมทรัพยากรในระบบให้ทำงานและเกิดความคุ้มค่ารวมทั้งประโยชน์สูง สุดจากการใช้ทรัพยากรในระบบ นอกจากนั้นแล้ว วิธีการดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถเพิ่มหรือลดขนาดการใช้งานของ ระบบได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

    3.ความต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมขององค์กร
    ด้วย การแข่งขันอย่างรุนแรงทางธุรกิจในปัจจุบัน องค์กรชั้นนำหลายแห่งต่างให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแตกต่างของ องค์กรในอีกทางหนึ่ง แนวโน้มการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมดังกล่าวนี้เอง ถือเป็นการกระตุ้นการนำคลาวด์ คอมพิวติ้งไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ ทั้งนี้ เพราะการสร้างสรรค์นวัตกรรมสามารถทำได้ด้วยการดึงคุณประโยชน์ของคลาวด์ คอมพิวติ้งซึ่งให้พลังการประมวลผลที่เหนือกว่า แต่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์นั่นเอง

    4. ความต้องการใช้งานไอทีที่ง่ายและไม่ซับซ้อน
    ปัจจุบัน แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความสลับซับซ้อนเพียงใดก็ตาม สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว หลายคนก็ยังต้องการการใช้งานที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ให้บริการทางด้านไอทีหลายรายในปัจจุบันจึงหันมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง เพื่อนำเสนอบริการทางด้านซอฟต์แวร์แบบ ‘จ่ายเท่าที่ใช้’ (Software as a Service) เพื่อเป็นทางเลือกแก่ลูกค้าโดยเฉพาะองค์กรขนาดกลางหรือขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ มักมีเจ้าหน้าที่ทางด้านไอที่ทำงานอยู่อย่างจำกัด แทนรูปแบบการซื้อซอฟต์แวร์มาใช้โดยตรงแบบในอดีต การใช้งานในลักษณะดังกล่าว นอกจากจะทำให้การนำไอทีไปใช้งานทำได้ง่ายยิ่งขึ้นแล้ว องค์กรนั้น ๆ ก็จะได้รับประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยอยู่เสมอ โดยไม่ต้องเผชิญกับความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและการอัพเกรด เวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่นในอดีต

    5. การจัดระเบียบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
    ทุก วันนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าข้อมูลต่าง ๆ มากมายในเว็บช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้นกว่าในอดีตมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปัจจุบัน เราจะมีเสิร์ชเอ็นจิ้นที่ช่วยเราหาข้อมูลที่ต้องการอยู่มากมาย แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยปริมาณข้อมูลในเว็บที่เพิ่มมากมายมหาศาลในแต่ละ วัน โดยเฉพาะข้อมูล และไฟล์ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายล้านคนส่งขึ้นไปในเว็บในแต่ละวันนั้น หากไม่มีการจัดระเบียบอย่างเป็นระบบที่ดี การนำคุณประโยชน์ของเว็บมาพัฒนาต่อยอดให้กลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุน ประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบก็อาจทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

    คุณประโยชน์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของคลาวด์ คอมพิวติ้งก็คือ ความสามารถในการจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลมากมายหลากหลายประเภทให้ เป็นระบบ ซึ่งช่วยให้การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ทำได้เร็วและถูกต้องแม่นยำ กว่าเดิม

    ด้วย ความสามารถและคุณประโยชน์อันมากมายดังที่กล่าวมานี้ ถือได้ว่าคลาวด์ คอมพิวติ้งจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญแห่งอนาคต และจะมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจอย่างที่ไม่เคยมีมา ก่อน ดังนั้น ธุรกิจใดก็ตามที่สามารถฉกฉวยโอกาสและสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อธุรกิจของตนได้ก่อนก็ย่อมจะสร้างความได้เปรียบและโอกาสในการ ต่อยอดความสำเร็จทางธุรกิจขององค์กรได้ก่อนใคร

    ที่มาจาก : SIPA

    ระบบ could server ดีกว่า web hosting อย่างไร
    ตัวอย่าง
    ระบบ could ต้องเช่า ปีละ 40,000
    ระบบ web hosting ปีละ 10,000

    VPS คือ การแบ่งเซิฟเวอร์ให้เช่า
    คือ มีเครื่องเซิฟเวอร์ 1 เครื่องแล้ว แบ่งแยกระบบออกจากกันเลย
    โดยใช้หลักการของ VM ฉะนั้น เซิฟเวอร์เครื่องนึง จะแบ่งแยกใช้ VPS ได้อย่างมากสุด ประมาณ 10 VPS เพราะว่า OS มันต้องรันในระบบ ต่อการแบ่ง 1 ตัว
    แต่ถ้าเกิดว่า เป็น Hosting ธรรมดา มันเป็นแค่ระบบ ที่ติดตั้งในเซิฟเวอร์ เพื่อแบ่งแยกให้แต่ละ user เข้าใช้งาน แต่อยู่ในเซิฟเวอร์หรือ OS เดียวกัน

    โดยความแตกต่างของ user ที่ใช้งานนั้น
    ถ้าเป็น Hosting จะสามารถเข้าจัดการได้แค่ ไฟล์ระบบในส่วนของตนเอง แต่ไม่สามารถจัดการเซิฟเวอร์หรือระบบต่างๆ ได้
    แต่ถ้าเป็น VPS โดยผู้เช่า สามารถจัดการะบบต่างๆ ในเซิฟเวอร์ได้ทั้งหมด เหมือนเป็นเซิฟเวอร์ของตนเอง

    VPS
    Virtual Private Server คือเซิร์ฟเวอร์เสมือน หรือเป็นประหนึ่งเซิร์ฟเวอร์ แต่จำลองขึ้นมา โดยแบ่งเซิร์ฟเวอร์ 1 ตัว ออกเป็น VPS ย่อยๆ หลายๆ ตัว โดยที่แต่ละ VPS ทำงานแยกจากกัน แบ่ง CPU, Memory, Disk กันตาม Limit ที่ตั้งไว้ และแยกระบบ login รวมทั้งการทำงานภายในออกจากกันโดยเด็ดขาด หาก VPS ตัวใดตัวหนึ่งทำงานหนัก ก็จะ “ไม่ค่อย” ไปกวนการทำงานของตัวอื่น หรือ VPS ตัวใดโดนเจาะระบบผ่านตัว VPS เอง ก็ไม่มีผลด้านความปลอดภัยไปถึง VPS ตัวอื่นในเซิร์ฟเวอร์นั้นโดยตรง

    ที่ใช้คำว่า ไม่ค่อย เพราะมันขึ้นกับเทคโนโลยีของ VPS ที่นำมาใช้ บางรูปแบบการทำงานของ CPU จะแบ่ง Limit กันโดยเด็ดขาด แต่เทคโนโลยี VPS บางตัวก็อาจจะกวนกันได้บ้าง เช่น openvz ที่สามารถตั้ง minimum guaranteed CPU ของ VPS แต่ปล่อยให้ burst ได้ เป็นต้น ขึ้นกับผู้ให้บริการจะทำการตลาดโดยบอกตัวเลขอะไร ดังนั้นในบางกรณี VPS จึงสามารถ oversell ได้ (ขายมากกว่าทรัพยากรที่มีจริง)

    ในภาพรวมก็เป็นบริการที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการความอิสระในการปรับแต่งการทำงานระดับ root หรือ services ต่างๆ เสมือนใช้เซิร์ฟเวอร์ตัวเอง แต่ด้วยงบประมาณจำกัดหรือความจำเป็นไม่มากขนาดที่จะต้องเช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่อง การเลือกใช้ VPS จึงเป็นทางเลือกที่สะดวกและสบายกระเป๋ากว่า ทั้งนี้ VPS ในปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ในราคาเดือนละไม่กี่ร้อยบาทขึ้นไปถึงหลักหลายพัน ขึ้นอยู่กับปริมาณ Limit ต่างๆ ที่เราต้องการใช้

    Dedicated Server
    Dedicated Server คือการเช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งตัวเพื่อใช้งานและปรับแต่งตามความต้องการของผู้ใช้เอง โดยสามารถใช้งาน Resources ทั้งหมดของเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory, Disk และ Network ที่เชื่อมต่อกับตัวเครื่อง โดยหากอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งเกิดปัญหา ระบบก็จะต้องหยุดการทำงานลงจนกว่าจะทำการเปลี่ยนอุปกรณ์และกู้ข้อมูลเสร็จสิ้น ซึ่งอาจกินเวลา 2-3 ชม. ไปจนถึงหลายชั่วโมง นอกเหนือไปจากนั้น การสำรองข้อมูล (backup) ก็มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ใช้บริการเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว เพื่อที่จะสามารถกู้กลับคืนมาได้ในกรณีจำเป็น

    Cloud
    Cloud ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ เพียงแต่เป็นเทคโนโลยีที่นำมาทำการตลาดอย่างจริงจัง ในต้นทุนที่ทำการตลาดแบบทั่วไปได้ ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ระบบ Cloud เป็นการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก โดยแบ่งชั้นการประมวลผลออกจากชั้นเก็บข้อมูล และอาจมีการคิดเงินแบบเหมาจ่ายรายเดือน หรือคิดแบบตามใช้งานจริงก็ได้

    ชั้นการประมวลผล (Computing layer — CPU, Memory) เป็นการร่วมกันทำงานของเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่อง ซึ่งแม้มีเซิร์ฟเวอร์ใดเสียหาย ก็จะไม่มีผลกับการใช้งานของลูกค้า เพราะระบบจะสวิทช์การประมวลผลไปยังเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นแทนโดยอัตโนมัติในทันที การประมวลผลของเว็บของผู้ใช้งานจะทำงานในชั้นนี้ ซึ่งระบบจะแบ่งทรัพยากร CPU, Memory ให้ตามจำนวนที่เลือกและแยกทรัพยากรกับผู้อื่นอย่างชัดเจน Cloud ส่วนมากจะมี Firewall ป้องกันระบบของแต่ละคนออกจากกันอย่างเด็ดขาด

    ชั้นเก็บข้อมูล (Storage layer) เป็นการทำงานร่วมกันของระบบเก็บข้อมูลแบบ SAN (Storage Area Network) หรือในบางระบบอาจใช้การทำงานของ Distributed Storage ในชั้นนี้ ซึ่ง Storage Layer นี้ จะต้องมีความเสถียรและความเร็วสูง และต้องมีระบบ Activate-Active หรือ Active-Standby เพื่อใช้งานระบบสำรองได้ทันทีที่เกิดเหตุขัดข้องของหน่วยเก็บข้อมูลหลัก จึงควรมี SAN อย่างน้อย 2 ตัว ซึ่งมีข้อมูลที่เหมือนกัน (Replicate) ตลอดเวลา ข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้งานจะถูกเก็บไว้ที่ชั้นนี้

    เครือบข่ายเน็ตเวิร์คความเร็วสูง จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นการประมวลผล และชั้นเก็บข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างทันใจตลอดเวลา

    ระบบ Cloud บางแบบยังรองรับการขยายหรือหดตัวโดยอัตโนมัติสำหรับเซิร์ฟเวอร์เสมือนหรือเว็บของลูกค้า เมื่อการใช้งานเพิ่มหรือลด ตามที่ได้กำหนดไว้

    นอกจากนี้ ยังมี Cloud ที่สามารถยืดขยายการทำงานให้ใช้ Resources ของระบบเกินขอบเขตของเครื่องๆ เดียว โดยการนำ CPU, Memory ของทุกเครื่องมารวมกัน และแบ่งให้บริการตามต้องการได้อีกด้วย

    ระบบ Cloud จะมีต้นทุนของระบบที่สูงกว่าแบบอื่นมาก รวมทั้งไม่สามารถ Overselling (ขายเกินทรัพยากรรวมที่มี) ได้ ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าบริการแบบอื่นๆ
    ดังนั้น ด้วยระบบ Cloud เหล่านี้ ทำให้การทำงานของเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือนของผู้ใช้งานไม่ติดขัด แตกต่างจากเว็บโฮสติ้ง หรือ เซิร์ฟเวอร์ธรรมดาทั่วไป ที่หากเกิดการติดขัดเสียหายของอุปกรณ์นั้นๆ ก็จะทำให้การทำงานหยุดลงโดยไม่มีระบบทดแทน

    การเลือกใช้งาน
    เมื่อเข้าใจความแตกต่างของบริการต่างๆ แล้ว ก็มาถึงเวลาที่ท่านจะเลือกใช้บริการให้เหมาะกับความต้องการและงบประมาณของท่าน

    เลือกใช้ Dedicated server ถ้าท่านต้องการใช้ทรัพยากรทั้งหมดของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และมีการจัดการระบบ Backup ที่ดี เพื่อให้กลับมาทำงานได้เร็วที่สุดในกรณีอุปกรณ์ในเครื่องเสียหาย โดยทั่วไประบบ Dedicated server จะมีความเร็วสูง และโดยเฉพาะการทำงานกับดิสก์มักจะเร็วกว่า Cloud เพราะ Disk ติดอยู่ภายในตัวเซิร์ฟเวอร์โดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับระบบของ Disk ที่เครื่องด้วย ว่าจะเป็น Disk ประเภทใด ความเร็วเมื่อเทียบกับ SAN ที่ใช้ใน Cloud ก็จะแตกต่างกันไปไม่แน่นอน
    เลือกใช้ VPS หากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่อง VPS จะเป็นทางเลือกที่ประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด โดยมีความปลอดภัยและความเสถียรใกล้เคียงกับการใช้งาน Dedicated server แต่ความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลอาจจะต่ำกว่าเพราะทุก VPS ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะอ่านเขียนลง Disk เดียวกันภายในเครื่องทั้งหมด
    เลือกใช้ Cloud ถ้ามีงบประมาณมากเพียงพอและต้องการความสบายใจมากที่สุด บริการ Cloud มีโอกาสที่อุปกรณ์จะเสียหายพร้อมๆ กันทั้งหมดจนทำให้ระบบทำงานไม่ได้ต่ำมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการแบ่งชั้น Compute และ Storage ออกจากกัน ในกรณีผู้ใช้ที่ต้องทำการอ่านเขียนหนักมากๆ อาจได้ความเร็วของการอ่านเขียน Disk ไม่เร็วเท่ากับจาก Dedicated server

    ทุกระบบมีข้อดี ข้อเสีย และค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป เมื่อท่านทราบความแตกต่างเหล่านี้แล้ว บทความนี้ก็อาจช่วยให้ท่านจัดสินใจเลือกใช้บริการได้ง่ายและเหมาะสมยิ่งขึ้น

    เอาเซอร์เวอร์หลายตัวมาต่อใช้รวมเป็นเสมือนเครื่องเดียวกัน ตัวไหนพังก็ยัง
    ทำงานได้ ข้อมูลไม่มีวันหายนอกจากพังหมดทุกเครื่อง แค่ เครื่องมันเยอะโอกาสพังทุกเครื่อง
    แทบไม่มีเลยการันตีว่าข้อมูลไม่หาย นอกจากพังหมดทุกเครื่อง ตอนเวลาคำนวณ ก็จะกระจาย
    การคำนวณออกไปทุกเครื่องแล้วส่งกลับมารวมเพื่อแสดงผล ทำให้รับโหลดได้เยอะเมื่อมีข้อ
    มูลมากๆๆ ไม่เหมาะักับเว็บขนาดเล็ก เหมาะกับข้อมูลเยอะๆ มาก

    ข้อดีคือไม่ต้องใช้การประมวลผลจากฝั่ง client แต่ใช้ประสิทธิภาพของทาง server เป็นหลัก
    ฉะนั้นต่อไป อย่าง เกมคอนโซลก็ไม่ต้องมานั่งอัพเกรดประสิทธิภาพเครื่องกันบ่อยๆ

    cloud เป็นคำโฆษณา, ส่วนเทคโนโลยีจริงๆ มันไว้เรียกภาพรวมของระบบ มีตั้งแต่ระดับ app / service ไปจนถึง system



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories