คนแรก สังเวยวิทยาศาสตร์ คนทำจะเป็นพระเจ้าหรือฆาตกร?
เขายินดีที่จะอุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
จิตใจมนุษย์ มีความลึกซึ้ง หากรู้ว่าร่างกายนี้เป็นของคนอื่นทั้งร่าง อาจมีปัญหาสุขภาพจิต
จะต้องคิดอะไรในหัววนเวียนแต่เรื่องนี้ไม่จบสิ้น อาจถึงขั้นต้องบำบัด
มนุษย์จะใกล้ความอมตะไปเรื่อยๆ ร่างกายพังก็โคลนขึ้นมาใหม่ อยู่ไปได้จนสิ้นอายุขัย ที่น่ากลัวกว่าคือ มนุษย์สามารถโหลดข้อมูลถ่ายถึงกันได้ ใครเป็นใครแทบไม่รู้เลย เคยมีกรณีผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ แล้วมีลักษณะนิสัยความชอบบางอย่าง เปลี่ยนไปเหมือนกับของผู้บริจาคอวัยวะ
ระบบประสาทกลาง ( Central Nervous System – CNS )
ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เนื้อเยื่อสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่แผ่กระจายออกไปทั่วร่างกายของมนุษย์สัตว์มีความสัมพันธ์แน่นอนกับความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์สัตว์
โดยที่ความชำรุดเสียหายของส่วนใดก็ตามของ CNS นี้จะมีผลกระทบกระเทือนถึงความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมในลักษณะที่ตรวจสอบได้ในปฏิบัติการ
ข้อเท็จจริงนี้ทำให้น่าพิจารณา CNS ในบทบาทที่ตั้งของจิตที่เป็นมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุรวม 79 ดวงการที่ CNS แผ่กระจายอยู่ทั่วร่างกายของมนุษย์สัตว์ หมายความว่า ในขณะใดขณะหนึ่ง บางส่วนของ CNS นี้ จะเป็นที่อาศัยเกิดของจิตบางดวง ซึ่งสรุปว่า ตัวหทยวัตถุอาจเลื่อนที่ไปที่ตำแหน่งใดของ CNS ก็ได้
สมองเองมันก็เป็นอวัยวะ เสื่อมสลายหมดอายุได้
นิวรอน ของคนถูกสานสร้างมาตั้งแต่เป็นตัวอ่อน การสร้างๆพร้อมๆกันการรับรู้การเรียนรู้การรับประสบการณ์ต่างๆ ทำให้รูปแบบและจำนวนนิวรอนของแต่ละคนไม่เหมือนกันเลยแม้เป็นฝาแฝด และการเก็บแต่ละข้อมูลมันส่งสัญญาณไฟฟ้าเคมีไปหมดแทบทั้งสมองสานปนกันไปหมด ดังนั้นต่อให้ถอดรหัสไฟฟ้าเคมีของสมองคนๆ นึงมาใส่ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ได้ ตอนเอาไปใส่ในอีกร่างมันจะพอดีได้ทำยังไงเพราะทั้งจำนวนและรูปแบบนิวรอนไม่เหมือนกันเลย
ที่พอเป็นไปได้คือทยอยใส่ความจำตั้งแต่ตอนโคลนนิ่ง แต่ก็จะแปลกเพราะนิวรอนส่วนหนึ่งก็สร้างจากสัมผัสเช่นการจับ การมอง การออกแรงของกล้ามเนื้อบางส่วนซ้ำๆ หรือรูปร่างบางอย่าที่ได้มาจาก DNA พ่อแม่ ซึ่งพอเอาต้นแบบนิวรอนมาสร้างพร้อมร่างใหม่ ร่างใหม่อาจจะอ้วนหรือผอมหรือกระดูกไม่สั้นไม่ยาวตามต้นแบบก็ได้
การมีชีวิตอมตะ ก็คือการวนไปที่จุดเดิม ๆ ทุกวัน
Muscle Memory เป็นเรื่องของสารสื่อประสาทจากสมอง ไม่ใช่ความทรงจำของกล้ามเนื้อตามชื่อที่เรียก
ในจักรวาลของ GUNNM เพชรฆาตไซบอร์ค
ซึ่งเป็นการ์ตูนวิทยาศาสตร์เชิงปรัชญา ที่สร้างคำถามที่ไม่มีใครตอบได้จนถึงทุกวันนี้ คำถามนั้นก็คือ ระหว่างพวกเมืองขยะเศษเหล็ก ที่มีสมองเป็นมนุษย์ แต่ชิ้นส่วนทั้งหมดเป็นจักรกลแถมบางตัวมีรูปร่างประหลาดพิสดารจนไม่เหลือลักษณะความเป็นมนุษย์อีกแล้ว กับชาวซาเลมชนชั้นสูง ที่มีวิทยาการก้าวหน้า แต่กลับมีชิ้นส่วนทุกอย่างคงความเป็นมนุษย์แต่เปลี่ยนสมองเป็นชิพคอมพิวเตอร์
ฝ่ายใดจะถือว่าเป็นมนุษย์มากกว่ากัน
ความเป็นมนุษย์อยู่ที่ตรงไหน คำถามจาก Battle angel
เรื่อง Battle angel เป็นหนึ่งในมังงะที่เป็นตำนานของโลกการ์ตูน ด้วยเนื้อหาที่ล้ำสมัยและเต็มไปด้วยดราม่า เร่ืองนี้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1990 โดยใช้ชื่อว่า Gunnm ซึ่งแปลว่า “gun dream”
ผ่านไปเกือบสามทศวรรษ การ์ตูนเรื่องนี้พึ่งจะถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์โดยฝีมือกำกับของเจมส์ คาเมรอน (AVATAR) และ โรเบิร์ต โรดริเกซ (SIN CITY) โดยกำหนดฉายปลายปีนี้ ดู Trailer ของเรื่องนี้ได้
เดิมเรื่องนี้นางเอกชื่อว่ากัลลี่ในเวอร์ชั่นญี่ปุ่น แต่เปลี่ยนมาเป็นอลิตาในเวอร์ชั่นต่างประเทศ โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องในอนาคตที่ไซบอร์กกับมนุษย์อยู่ในสังคมเดียวกัน คุณสามารถเปลียนอวัยวะทุกชิ้นที่เป็นเลือดเนื้อให้เป็นเครื่องจักรได้อย่างง่ายดายมาก ซึ่งนางเองสูญเสียความทรงจำไปและใช้การต่อสู้เพื่อค้นหาตัวเอง แต่พล็อตสำคัญที่ผู้เขียนตั้งคำถามที่น่าสนใจถึงความเป็นมนุษย์ว่ามันอยู่ที่ตรงไหนกันแน่ โดยพวกชนชั้นล่างที่อยู่บนพื้นโลกในเมืองขยะต้องคอยทำงานให้กับ Factory เพื่อตอบสนองการบริโภคของกลุ่มชนชั้นปกครองที่อาศัยบนนครลอยฟ้าซึ่งเรียกว่าซาเลม ความแตกต่างระหว่างชนชั้นไม่ได้มีแค่นั้น แต่ลงลึกไปถึงแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ โดยพวกชนชั้นล่างในเมืองขยะมักนิยมเปลี่ยนร่างกายให้เป็นเครื่องจักรยกเว้นส่วนของสมองที่เป็นของแท้ซึ่งเปลี่ยนไม่ได้ แต่ชาวซาเลมบนฟ้าจะมีทุกอย่างเป็นเลือดเนื้อยกเว้นสมองที่ถูกเปลี่ยนเป็นชิพซึ่งเก็บความทรงจำทั้งหมดไว้ ส่วนสมองของจริงก็จะถูกโยนทิ้งไป
จุดนี้เป็นไคลแมกซ์ของฉบับการ์ตูน (ในเวอร์ชั่นภาพยนตร์คงไปไม่ถึงตอนนี้) ซึ่งสร้างคำถามที่ไม่มีใครตอบได้จนถึงทุกวันนี้ คำถามนั้นก็คือ
ระหว่างพวกเมืองขยะที่มีสมองเป็นมนุษย์แต่ชิ้นส่วนทั้งหมดเป็นจักรกลแถมบางตัวมีรูปร่างประหลาดพิสดารจนไม่เหลือเค้าความเป็นมนุษย์อีกแล้ว กับพวกซาเลมที่ชิ้นส่วนทุกอย่างเป็นมนุษย์แต่มีสมองเป็นคอมพิวเตอร์ ฝ่ายใดถือว่าเป็นมนุษย์มากกว่ากัน
นิยามความเป็นมนุษย์อยู่ที่สมองหรือไม่ใช่ ถ้าคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เหมือนสมองทุกอย่างแม้กระทั่งเรื่องของอารมณ์จนไม่สามารถแยกความแตกต่างได้เลย จะถือว่ามันเป็นมนุษย์ได้หรือไม่ ซึ่งในนิยายวิทยาศาสตร์ก็มีเรื่องทำนองนี้มากมาย หรือในปัจจุบันวงการแพทย์ก็เริ่มเปลี่ยนอวัยวะสำคัญเป็นเครื่องจักรได้แล้ว ต่อไปก็คงเปลี่ยนได้ทุกชิ้นแม้แต่สมอง หรือแม้แต่การโหลดความทรงจำไปเก็บไปคอมพิวเตอร์และให้มีชีวิตบนแพลตฟอร์มไปตลอดกาล แบบนี้จะถือว่ายังเป็นมนุษย์ต่อไปไหม เป็นคำถามเชิงปรัชญาต่อตัวตนของเรา ซึ่งคำถามนี้จะยิ่งดังมากขึ้นเรื่อยๆตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าของมนุษย์
ภาคแรกตั้งคำถามว่ามนุษย์คืออะไร แต่ภาคlast order ไปไกลถึงคำตอบบรรลุถึงวิถีแห่งความไร้ตัวตน เนื้อหนังเหล็กชิปหรือสมองก็ไม่มีความหมาย โดยตัวละครที่น่าจะเหนือที่สุดของการ์ตูนชื่อดอนฟุ ปรากฏตัวมาช่วยเหลือ เฮียแกเล่นปล่อยหมัดสุญตาสร้างแบล็คโฮลขึ้นมาเลยทีเดียว ก่อนปลีกวิเวกจากไปในดินแดนที่ทามและเสปซไร้ความหมาย
สิ่งที่กัลลี่คิดมาตลอดว่าตัวเองเป็นร่างหุ่นยนต์แต่สมองมนุษย์ จริงๆแล้วสมองก็เป็นชิปเหมือนกัน(ช่วง ภาค Last Order ซึ่งก็น่าจะโนว่าน่ะแหละจับเปลี่ยนเป็นชิปแทน) ทำให้กัลลี่เหมือนเกือบๆเป็นบ้าไปเลย เพราะตัวเองมักพูดว่าเป็นมนุษย์(ไม่เคยพูดว่าตัวเองเป็นหุ่นยนต์หรือไซบอร์กเลย) สิ่งยึดเหนี่ยวเดียวจึงพังทลาย ทีนี้ตัวเองก็เท่ากับไม่มีอวัยวะมนุษย์อยู่เลย เป็นจักรกลล้วนๆ
แต่ท้ายสุดก็ยังคงความเป็นมนุษย์ในตัวเองอยู่ได้ แสดงถึงความไร้ตัวตน ไม่ยึดติดจริงๆ (ช่วงนั้นได้ปีกดาบดามัสคัสมาด้วย อันนี้เครดิตอาเธอร์)
อย่างที่ คห. 10 ว่า ชิป ไม่ชิปไม่เกี่ยวละ
ถ้าสามารถผ่าตัดย้ายสมองโดยยังสามารถคงจิตวิญญาณความเป็นปัจเจคบุคลอยู่เช่นเดิมได้
สิ่งที่จะถูกเอาออกไปนั่นก็คือสมอง เพราะสมองคืออุปสรรคที่สำคัญต่อความก้าวหน้าของมนุษย์ แต่ต้องพัฒนาร่างกายใหม่ ให้สมบูรณ์ อนาคต มนุษย์เราจะต่างจากหุ่นยนต์ ตรงที่ความมีชีวิตที่เหลืออยู่คือ ความคิด แต่อวัยวะต่างๆความรู้สึกต่างๆ แทนที่ด้วยเครื่องจักร
สิ่งที่ทำให้เราเป็นเรา คือ จิต เหมือน ซอฟแวร์อยู่ใน ฮาดร์แวร์ คือสมอง ซึ่งคือออฟฟิตของจิต เป็นที่จิตใช้ทำงานเพื่อควบคุมร่างกาย วิทยาศาตร์ในปัจจบันยังทำไม่ได้ ต้องไปอีกวิธีในเรื่องของจิตแทน ตอนนี้ก็พึ่งเทคโนโลยี ย้ายร้างไปก่อน
เรื่อง จิตมันไกลเกิน มนุษย์ส่วนใหญ่ ไม่ต่างจากสัตว์ ตรงที่ การใช้ชีวิต แบบสิ่งมีชีวิต มนุษย์ น้อยคนนัก ที่จะ ควบคุมจิต ได้ถึงขั้นนั้น เพราะ ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมกลืนกิน ความเป็นมนุษย์เป็นคน ไปหมดแล้ว
มนุษย์ปัจจุบันเราใช้แต่เหตุผลหลักฐาน จน ไสยศาสตร์ อาจดูเป็นเรื่องไม่จริง ไปซะแล้ว….
เส้นประสาท เมื่อไมอีลินชีทถูกทำลาย เส้นประสาทถูกตัดขาด จะเกิดขบวนการ wallerian degeneration axon และการฟื้นตัว และเส้นประสาทสมองเป็นแบบตายแล้วตายเลยไม่งอกใหม่ ถึงจะทำให้งอกใหม่ได้อย่างเส้นประสาทส่วนปลาย ระยะเวลาหนึ่งเดือนงอกได้ประมาณ หนึ่ง เซ็นต์ กล้ามเนื่อฝ่อหมด และคงหมดโอกาส เพราะเส้นประสาทสอง 3,4,5 มาเลี้ยงกล้ามเนื้อกระบังลมขาดอากาศ ไม่หายใจ ไม่เกินห้านาทีก็ตายแล้ว
ต้องลอกออกมาทั้งแผง ตั้งแต่ต้นคอ ในส่วนที่สำคัญ กระตุ้น Axon ด้วยไฟฟ้า ตลอดเพื่อไม่ให้ เสื่อมสลายหดตัวแล้ว ค่อยๆ แทนที่แต่ล่ะอย่างไล่เส้นประสาทให้ครบแล้ว ยกทั้งแผง ไปใส่ร่างใหม่
คำว่า ไล่เส้นประสาทให้ครบ คือ เงื่อนไข สมมติ idea ใชัตัวกระตุ้น(ตัวเลี้ยง) ทำสำเร็จ สมองยังทำงาน ได้ แม้ ไม่ได้ตัวเลี้ยง ตามกฎธรรมชาติ แต่เมื่อไปใส่ร่างใหม่ ไล่เส้นประสาททุกเส้น แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะปัจจุบัน วงการแพทย์เอง ก็ใช่จะรู้จักเส้นทุกเส้น ในสมอง ว่า effect กับอะไร โอเค อาจจะท่องกันตามหลักสูตร ตามกฎสรีระศาสตร์ แต่ถามว่า บางเส้นจะเห็น ก็ต้องอาศัยแว่นขยาย กันเลยทีเดียว ถามว่าเขารู้เหรอ ตัดเส้นนั้น มีผลกับอะไร ป่าวเลย สมองยังเป็นอะไร ที่วงการแพทย์ยังรู้ไม่หมดครับ case ที่รักษากันจริงๆ ก็คือ case ที่เกิดขึ้น ในฝาครอบกระโหลก ที่ไปอยู่ชิด หรือ เบียด กับ สมอง เป็นหลัก เช่น มะเร็ง เลือดคั่ง อะไรแบบนี้ครับ ส่วน case ที่เกี่ยว กับสมองตรงๆ มาแบบ 100% นี่ไม่มีครับ ถึงมี แพทย์ ก็แทบไม่รู้ครับ
เขาหมายถึง เส้นประสาทนอกสมอง ไล่เส้นประสาททุกเส้น ไม่ไหวหรอกครับ
เส้นประสาทมันแผ่เข้าไปในทุกส่วนของร่างกาย และไม่สามารถดึงออกมาจากร่างกายได้
ถึงจะเลือกย่อยส่วนของร่างกายออกเหลือแต่เส้นประสาท ก็ไม่สามารถเอาเข้าไปแทนที่เส้นประสาทในร่างใหม่ได้ ต้องตัดต่อใยประสาท โดยไม่ให้แอกซอนสลาย
ต้องมีเครื่องจักรที่ละเอียดสามารถตัดต่อส่วนของเซล โดยไม่ให้ cytoplasm รั่ว ไม่ให้ส่วนปลายของใยประสาทเสื่อมสลาย ซึ่งตอนนี้ยังทำไม่ได้ แต่ต่อไปก็อาจจะทำได้
ไม่งั้นก็ อาจจะต้องสร้างแอกซอนเทียมในร่างใหม่ ที่ไม่สลายตัว และทำพอร์ตเชื่อมต่อไว้รอ
สมองยังเป็นอะไรที่วงการแพทย์เองก็ยอมรับ แล้วว่าไม่ได้รู้จักทั้งหมด เส้นประสาทเส้นเล็ก เส้นน้อย แม้แต่แพทย์เอง ก็ยังไม่กล้าแตะ เพราะไม่รู้ว่า จะ effect กับอะไรบ้าง คิดว่าเป็นไปได้แค่คำว่า ไกล้เคียงที่สุด แต่ไม่มีทาง ที่จะย้าย หรือ cloning ครับ คงเป็นไปได้ยาก เอา case ง่าย ๆ ที่ใช้ common sense คนไข้ที่ถูกลงความเห็นว่าเสียชีวิต โดย ผ่านกระบวนการตรวจชีพจร วัดคลื่นหัวใจ วัดการทำงานของสมอง ยังฟื้นขึ้นมาก็หลายราย จริงๆ แล้ว เราโดน ระบบทำงานของ สมอง หลอกหรือเปล่า เปล่าเลย เพียงแต่เราไม่เคยเข้าใจ การทำงานของสมองอย่างทะลุปรุโปร่ง สมองยังเป็นอะไร ที่วงการแพทย์ยังรู้ไม่หมด case ที่รักษากันจริงๆ ก็คือ case ที่เกิดขึ้น ในฝาครอบกระโหลก ที่ไปอยู่ชิด หรือ เบียด กับ สมอง เป็นหลัก เช่น มะเร็ง เลือดคั่ง อะไรแบบนี้ ส่วน case ที่เกี่ยว กับสมองตรงๆ มาแบบ 100% นี่ไม่มี ถึงมี แพทย์ ก็แทบไม่รู้
ปัจจุบันแค่ร่างกายเราทั้งหมด เรายังรู้ไม่ถึง 30% เลย มีโรคอีกหมาศาลที่ไม่รู้ที่มา ไม่รู้วิธีรักษา กว่าจะไปถึงขั้นนั้นได้ นานมากหรืออาจเป็นไปไม่ได้ซะด้วยซ้ำ
สมองมนุษย์สร้างมายังไงจากตัวอ่อน ยังไม่รู้เลย
เราก็ตัดหัวออกแล้วค่อยๆ เปลี่ยนไปทีล่ะอย่างเรื่อยๆ
ตอนนี้ เหลือเพียง จะทำอย่างไร ให้สมองมันจูนกับระบบใหม่
แล้วสมอง มันจะอยู่นานได้ขนาดไหน โดยไม่เสื่อมสลายไปตามเวลา เหมือนร่างกาย สมมุติว่าเทคนิคการแพทย์ทำได้ แต่จะมีปัญหาเรื่องการต่อต้านเซลอย่างรุนแรง ทำให้ตาย ในที่สุด
การย้ายสมองไม่มีความคุ้มค่า เพราะสมองก็เป็นอวัยวะมีความเสื่อม เว้นแต่จะซ่อมแซมตัวเองได้ ไหนจะต้องมานั่งเชื่อมต่อระบบต่างๆกับร่างใหม่อีก ดังนั้น การย้ายความจำในสมองเก่าไปยังร่างใหม่สมองใหม่น่าจะดีกว่า ค่อยๆcopyความจำไปทีละส่วน
แต่ copy เสร็จก็จะมีคุณ2คน แล้วเดี่ยวคนแรกก็จะตายไป คนที่สองจะคือตัวเรา หรือ หาก copy หลายตัวจะเกิดอะไรขึ้น
ย้ายหัวได้ โรคสมองเสื่อม พาร์กินสัน เส้นโลหิตในสมองเสื่อมแตก ตายอยู่ดี หนีไม่พ้น
เส้นประสาทเป็นอะไรที่ละเอียด ไม่ใช่จะตัดแล้วต่อได้ ก้านสมองที่เชื่อต่อกับกรดูกสันหลังล่ะทำไง มนุษย์ไม่ได้มีแค่สมอง แต่มีไขสันหลังด้วย และระบบประสาท ไม่เหมือนระบบหลอดเลือดที่ต่อเส้นใหญ่ๆก็พอเส้นเล็กๆค่อยๆเก็บรายละเอียด ยังไม่นับรวมว่าความจำความคิดมันมีแค่สมองเท่านั้นหรือ มันจะมีอะไรอีกไหมเช่น จิต หรือ วิญญาณ
สมองทำงานคล้ายกับคอมพิวเตอร์อนาลอก ที่ใช้สายไฟโยงไปโยงมาเพื่อโปรแกรมระบบ
สำหรับสมอง มันยังมากกว่านั้น ทั้งความจำ ความคิดอ่าน ความฉลาด ขึ้นกับการเชื่อมโยงของเซลประสาท นั่นคือ ข้อมูลและตัวสมอง (หรือ hardware) มันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่สามารถจะแยกจากกันได้ อย่างน้อยก็เทคโนโลยีในปัจจุบันนี้
ถ้าย้ายไปแต่ข้อมูล จะเอาไปลงสมองใหม่ ว่างๆ การโยงใยเซลสมองของสมองเก่าและสมองใหม่มันไม่เหมือนกัน เอาข้อมูลไปก็ลงไม่ได้ สมองยังเกี่ยวพันไปถึงไขสันหลัง
จะตัดเอาไปแต่สมองก็ไม่ได้อีก ต้องเอาไขสันหลังไปด้วย เป็นไปได้ยากที่จะเลาะออกไปทั้งยวงได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
ความเป็นจริง สมองเราทำหน้าที่แทบทุกอย่าง
โดยเฉพาะการจำและประมวลผล ผ่านบทเรียนที่เรียกว่าประสบการณ์
สมอง กับ RAM/ROM ทำงานไม่เหมือนกัน
Human brains store information using many different strategies, none of which are very analogous to binary in a digital computer.
The mechanism believed to underlie most information storage in the brain is called LTP (long-term potentiation, and involves microscopic chemical changes at the synapses that connect neurons to each other. These changes include the addition and removal of neuroreceptor units which, in aggregate, determine the signal transmission strength of any given synapse.
The brain also stores information by making structural changes to its neural networks, such as growing new dendrites or forming new synapses. Short-term memory may be represented by circulating signal feedback loops (“chaotic attractors”) or by temporary molecular changes.
The closest analogy to binary in the brain is the “spiking” behavior of neurons.
When a neuron is sufficiently activated, it generates a single electrical pulse, called a spike, which travels down its axon, activates all its synapses, and delivers tiny quantities of neurotransmitter to its neighbors. These spikes are all-or-nothing, similar to binary 1s and 0s in a computer. But unlike binary, they are propagating events lasting a few milliseconds, whereas binary usually refers to state representations that are not transient.
DNA, on the other hand, does use a system very similar to binary, except that the encoding is in base 4 (A,T,C,G) rather than base 2 (0,1).
อย่าง DNA เป็น ฐาน 4
แม้ว่าสมองมนุษย์มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับสัตว์ทั่วไป แต่ก็เล็กกว่าสมองของช้างหรือวาฬ ดังนั้น ขนาดของสมองที่ใหญ่จึงไม่ได้บ่งบอกถึงความสามารถทางสติปัญญามากกว่าสมองที่เล็ก คำถามคือ แล้วมีปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อระดับสติปัญญาของมนุษย์จนทำให้เกิดความแตกต่าง
“สมอง” กับช่วงวัยแรกของชีวิตชีวิต3,4
จากบทความ The Basics of Brain Development, Neuropsychol ของ Joan Stiles และ Terry L. Jernigan. บอกว่า ระบบประสาทของคนจะเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์หลังจากมีการปฏิสนธิของไข่และสเปิร์มเพียงไม่กี่สัปดาห์ โดยโครงสร้างพื้นฐานของระบบประสาทจะมีลักษณะเป็นท่อยาวๆ เรียกว่า “หลอดประสาท” เมื่ออายุครรภ์เริ่มมากขึ้น ส่วนหน้าสุดของหลอดประสาทก็จะมีการขยายตัวใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นสมอง
การขยายตัวจะเกิดร่วมกับกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ที่เป็นเซลล์ตั้งต้น หรือที่เรียกกันว่า “สเต็มเซลล์” จากนั้นก็จะพัฒนาไปเป็นเซลล์ประสาทชนิดต่างๆ และเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สนับสนุนเซลล์ประสาทนั้นๆ ส่วนหลอดประสาทส่วนที่เหลือจะพัฒนาต่อและกลายไปเป็นส่วนของไขสันหลัง
เสริมสร้างสมอง เริ่มได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ครรภ์4
วงจรประสาทเกิดจากการที่เซลล์ประสาทส่งแขนงประสาทนำออก หรือ”แอกซอน” ไปยังเซลล์ประสาทอีกตัว เพื่อบอกว่าต้องตอบสนองอย่างไร เช่น ส่งสัญญาณต่อ หรือยับยั้งการทำงาน การสร้างวงจรประสาทในสมองของคนจะพัฒนาหรือเกิดขึ้นตามความจำเป็นในการทำงาน โดยวงจรประสาทในส่วนของหน้าที่พื้นฐานในการมีชีวิตรอด ประกอบด้วยวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวและระบบประสาทรับความรู้สึก จะมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาไปจนถึงช่วงปีแรกหลังคลอด
เมื่อเด็กน้อยมีอายุ 3-5 ขวบ วงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการสื่อสารก็จะมีการพัฒนา และตามมาด้วยวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับการทำงานขั้นสูงของสมอง ที่เป็นพื้นฐานของความสามารถทางสติปัญญา เช่น การวางแผน การตัดสินใจ การยับยั้งตนเอง การควบคุมตนเอง โดยวงจรประสาทในด้านนี้จะพัฒนามากในช่วงวัยเรียนจนถึงวัยรุ่น และสิ้นสุดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
หลังจากนั้นโครงสร้างสมองและวงจรประสาทจะค่อนข้างคงที่ แต่ก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้บ้างตามการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ จึงเป็นที่มาของประโยคที่ว่า “หากต้องการจะส่งเสริมการสร้างวงจรประสาทในส่วนใด ควรทำตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก” นั่นเอง
เสริมสร้างสมอง เสริมสร้างไมอีลิน แล้วเกี่ยวอะไรกับสฟิงโกไมอีลิน?
ยังมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณประสาทก็คือ “การสร้างไมอีลิน” โดยไมอีลิน เป็นเยื่อหุ้มเส้นใยประสาทมีส่วนช่วยทำให้การส่งสัญญาณประสาทเป็นไปแบบก้าวกระโดด คือส่งได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งพ่อแม่สามารถเสริมสร้างไมอีลินให้กับลูกรักได้โดยการจัดหาสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของสมองของลูกในช่วงนั้นๆ5-8
ช่วงขวบปีแรก ควรเน้นการกอดและสัมผัสเพื่อกระตุ้นการสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทการรับสัมผัส เลือกของเล่นที่มีสีสันเพื่อกระตุ้นการสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทการมองเห็น แม้แต่หมั่นพูดคุยกับลูกและใช้เสียงดนตรีในการเล่น จะเป็นการกระตุ้นการสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทการรับเสียงและภาษา
ช่วงอายุ 1-3 ขวบ เน้นการกระตุ้นวงจรประสาทของภาษา เช่น การชี้อวัยวะบนใบหน้า การเรียกชื่อสิ่งของในชีวิตประจำวัน หรือการเล่านิทานให้ลูกฟัง นอกจากนี้ยังควรฝึกทักษะของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น การต่อของเล่น การใช้ช้อนตักอาหาร เพื่อช่วยการสร้างปลอกไมอีลินของวงจรประสาทในการทำงานระหว่างกล้ามเนื้อมือและการมองเห็นที่จะเป็นพื้นฐานของการฝึกเขียนหนังสือ รวมไปถึงการฝึกการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน เช่น การจับคู่สิ่งของที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน ก็จะช่วยให้มีการสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทส่วนของการเรียนรู้ได้
เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น การฝึกให้รู้จักแก้ไขปัญหาที่เจอในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการสอนความเป็นเหตุและผลของสิ่งต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน ก็จะช่วยให้การสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทส่วนของการทำงานขั้นสูงของสมองเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นรากฐานของการเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น การคิดวิเคราะห์ การควบคุมตนเอง และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่จะมีการพัฒนาต่อไปในช่วงวัยเด็กโตและวัยรุ่น
สำหรับการทำงานของสมองในด้านกระบวนการทางสติปัญญาและความเฉลียวฉลาด จำเป็นต้องอาศัยการติดต่อเชื่อมโยงวงจรประสาทจากหลายส่วน จึงจะทำให้มนุษย์สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผน ยับยั้งและควบคุมตนเองได้ ดังนั้น การส่งสัญญาณประสาทของลูกน้อยจึงสามารถพัฒนาได้ด้วยการกระตุ้นที่เหมาะสมกับช่วงอายุ รวมไปถึงการได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม ก็จะทำให้สมองมีวัตถุดิบเพียงพอในการนำไปใช้สร้างเซลล์ในระบบประสาท รวมไปถึงการสร้างปลอกไมอีลิน อันเป็นพื้นฐานในการส่งสัญญาณประสาทอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
เมื่อไมอีลิน เป็นตัวช่วยสมองส่งกระแสสัญญาณประสาทเพื่อการส่งข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สฟิงโกไมอีลิน ก็คือสารอาหารตัวหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลินค่ะ แต่ไม่ใช่มีแค่สฟิงโกไมอีลินเท่านั้นนะ สารอาหารอื่นๆ ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลิน เช่น ดีเอชเอ โคลีน เป็นต้นเป็นต้น9
แต่ถ้าพูดถึงสฟิงโกไมอีลินแล้ว จะไปหารับประทานได้จากไหนบ้างล่ะ เพราะเป็นสารอาหารที่แม่ๆ อย่างเราคงยังไม่คุ้นชินหูเท่าไหร่นัก
คำตอบคือ การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่หลากหลายเป็นประจำ ไข่ นม ครีม ชีส ก็เป็นแหล่งอาหารที่คุณแม่มั่นใจได้ว่าลูกจะได้รับสฟิงโกไมอีลินอีกทางหนึ่ง
โรสฮิปนิวโรน เซลล์พบใหม่ในสมองมนุษย์
ทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยาของ 2 ประเทศ ร่วมมือกันค้นพบและศึกษาเซลล์ประสาทในสมองใหม่ล่าสุด ร่วมกันตั้งชื่อว่า “โรสฮิป นิวโรน” หรือ “เซลล์ประสาทกุหลาบป่า” เพราะนอกจากจะจับเป็นกลุ่มแตกกิ่งก้านสาขาของ “เดนไดรท์” หรือ “ใยประสาทนำเข้า” สีแดงสดแล้วยังมีส่วน “แกนประสาทนำออก” หรือ “แอกซอน” มีลักษณะเป็นกระเปาะคล้ายผลโรสฮิปอีกด้วย
การค้นพบเซลล์ประสาทใหม่นี้ เป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างทีมนักวิจัยของสถาบันอัลเลนเพื่อวิทยาศาสตร์สมอง ในเมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา ซึ่งนำโดย ทริกเว แบคเคน นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของสถาบันกับทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยเซเกด ในประเทศฮังการี โดยทั้งสองทีมค้นพบเซลล์ประสาทที่มีลักษณะไม่เหมือนที่เคยมีการค้นพบมานี้แยกจากกัน แต่เมื่อต่างฝ่ายต่างรับรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งกำลังศึกษาวิจัยเรื่องเดียวกัน ก็ตัดสินใจทำงานร่วมกันในที่สุด
ทีมวิจัยของสถาบันอัลเลนตรวจสอบพบเซลล์ประสาทแปลกใหม่นี้ระหว่างการตรวจสอบเนื้อเยื่อสมองของชายวัยกลางคน 2 รายที่เพิ่งเสียชีวิตไป โดยพบว่ามีเซลล์ประสาทกลุ่มหนึ่งส่งผลให้ยีนหรือหน่วยพันธุกรรมกลุ่มหนึ่งภายในเซลล์เปิดการทำงาน ในขณะที่ยีนส่วนอื่นๆ ไม่ได้เปิดการทำงาน ทีมมหาวิทยาลัยเซเกดค้นพบเซลล์ประสาทโรสฮิป ขณะศึกษาการทำงานและรูปร่างของกระแสประสาทของสมองจากเนื้อเยื่อสมองซึ่งถูกตัดออกมาจากบุคคลหนึ่งระหว่างการผ่าตัดสมอง แล้วถูกเก็บรักษาให้มีชีวิตไว้ในสารละลายพิเศษ
เหตุผลหนึ่งซึ่งทำให้เซลล์ประสาทโรสฮิปไม่เคยถูกค้นพบมาก่อนหน้านี้เป็นเพราะมีเซลล์ชนิดนี้น้อยมากในสมอง นอกจากนั้น แบคเคนยังระบุด้วยว่า ตัวอย่างเนื้อเยื่อสมองจริงๆ ของมนุษย์นั้นหามาศึกษาได้ยากมาก และจริงๆ แล้วแม้แต่ในการศึกษาครั้งนี้ก็เป็นการศึกษาในสมองเพียงชั้นเดียว โดยเป็นไปได้ว่าเซลล์ประสาทโรสฮิป อาจพบได้ในเนื้อสมองชั้นอื่นๆ ด้วย
ทีมวิจัยพบว่าเซลล์โรสฮิปรวมกันทั้งหมดแล้วมีเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อเยื่อสมองชั้นแรกของสมองส่วน นีโอคอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง (คอร์เท็กซ์) ที่เชื่อว่าวิวัฒนาการขึ้นมาทีหลังสุด และทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและการได้ยินของมนุษย์เรา
การวิจัยนี้ยังพบด้วยว่า เซลล์ประสาทโรสฮิปเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทที่เรียกกันว่า “ไพราไมดัล เซลล์” เซลล์ประสาทหลายขั้วที่มีรูปร่างคล้ายพีระมิด เป็นเซลล์ประสาทที่ส่งสัญญาณแบบเร้า (ให้กระทำ) ซึ่งมีสัดส่วนมากถึงราว 2 ใน 3 ของเซลล์ประสาทในส่วนของคอร์เท็กซ์ทั้งหมด
ความสัมพันธ์เต็มรูปแบบระหว่างเซลล์ประสาท โรสฮิปกับไพราไมดัลนั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก แต่ทีมวิจัยพบว่าโรสฮิปเป็นเซลล์ประสาทที่ส่งสัญญาณแบบห้าม ซึ่งจะไประงับการทำงานของเซลล์ประสาทอื่นๆ แบคเคนบอกว่า สามารถพูดได้ว่าโรสฮิปทำหน้าที่เป็นเหมือนเบรก เพื่อระงับการทำงานของเซลล์ไพราไมดัล
แต่โรสฮิปจะมีผลจริงๆ ต่อพฤติกรรมของสมองโดยรวมอย่างไรนั้น แบคเคนยอมรับว่า ยังไม่สามารถรู้ได้ในเวลานี้
นอกเหนือจากคุณลักษณะดังกล่าวแล้ว เซลล์โรสฮิปยังมีความแปลกอีกอย่าง นั่นคือไม่มีปรากฏในคอร์เท็กซ์ของหนู ซึ่งนอกจากจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เพิ่งมีการค้นพบเซลล์ประสาทชนิดนี้แล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าสมองมนุษย์มีลักษณะจำเพาะ ไม่เหมือนกับของหนูทดลอง หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป
การนำผลทดลองกับสมองของหนูทดลองมาใช้กับมนุษย์จึงจำเป็นต้องระมัดระวังและคำนึงถึงความต่างดังกล่าวนี้ด้วย