Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิตอล ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของระบบเน็ตเวิร์คคอมพิวเตอร์
ปี 2012 => 1BTC=500
ปี 2017 =>1BTC=100,000
bitcoin เกิดและทำงานอย่างไร?
คุณขายของ ได้รับเงิน 1000 บาท ไปฝากธนาคาร
ฝากเงิน 1000 บาท
ธนาคารบันทึกลงในระบบของธนาคารและในสมุดบัญชีว่ามีเงิน 1000 บาท
แต่ bitcoin ทำงานต่างจากระบบข้างต้น
คุณดาวน์โหลดโปรแกรมชื่อ bitcoin wallet ซึ่งโปรแกรมจะสร้าง address หรือเรียกง่ายว่า สร้างเลขที่บัญชีของคุณ โดยเป็นของคุณโดยเฉพาะ และเวลาคุณขายของได้ ผู้ซื้อจ่าย bitcoin มาให้สู่ bitcoin address ของคุณ
ถ้าจะเทียบเคียง bitcoin wallet คือ สมุดบัญชี
– Address คือ เลขที่บัญชีธนาคาร
– Block chain คือ ไฟล์ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลการฝากถอนเงินของทุกๆคน
– Bitcoin คือ ธนบัตร
ซึ่งหากเป็นธนาคาร ธนาคารจะบันทึกข้อมูลคุณไว้ในระบบของธนาคาร แต่ของ bitcoin จะถูกบันทึกไว้โดยใช้เทคโนโลยีที่ชื่อว่า “Block Chain” ซึ่ง Block Chain จะมีข้อมูลของทุกรายการธุรกรรม ที่เคยเกิดขึ้นทั้งหมด
ธนบัตรโดยปกติ จะถูกกำหนดโดยรัฐบาล และแจกจ่ายโดยธนาคาร
Bitcoin เกิดจากการคำนวณ และ แจกจ่ายให้กับ “miners”
ซื่ง “miners” คือ บุคคลที่ run Bitcoin mining software บนคอมพิวเตอร์ของ miners
โดย mining software จะทำงานและนำรายการธุรกรรมที่เกิดขึ้นผ่าน network และใส่เข้าไปใน block chain โดยบุคคลที่ run Bitcoin mining software จะทำให้คุณได้รับ Bitcoin
เพียง run mining software บนคอมพิวเตอร์คุณตลอดเวลา คุณก็สามารถได้รับ bitcoin ตอบแทน แต่ว่าจำนวนของ miners ก็มีมากขึ้นตามลำดับ ทำให้โอกาสในการได้รับ bitcoin ก็ยากขึ้น หรือ ขุดยากขึ้นนั่นเอง
ค่าธรรมเนียม Bitcoin
ปกติเวลาคุณโอนเงินไปยังธนาคารต่างๆ หรือชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ธนาคารจะทำการเก็บค่า ธรรมเนียมจากผู้ที่ได้รับเงินนั้น
ดังนั้น เมื่อคุณตกลงว่าคุณจะให้ค่าธรรมเนียม แก่ miners ที่ทำรายการธุรกรรมให้คุณเท่าไหร่แล้ว หรือคุณเลือกที่จะไม่ให้ค่าธรรมเนียมเลยก็ได้ แต่ ค่าธรรมเนียมนี้จะถูกจ่ายให้กับ miner ที่ทำ รายการธุรกรรมให้คุณ
ดังนั้น ถ้าคุณกำหนดค่าธรรมเนียม ที่จะให้แก่ miner มากเท่าไหร่ การธุรกรรมของคุณก็จะยิ่งเกิดเร็วขึ้นเท่านั้น และ ทุกรายการการทำธุรกรรม ก็จะถูกบันทึกไว้ใน block chain นั่นเอง
Bitcoin คืออะไร
Bitcoin อ่านว่าบิทคอยน์ คือสกุลเงินในรูปแบบของดิจิทัล ถูกสร้างขึ้นมาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Bitcoin ไม่มีรูปร่างและไม่สามารถจับต้องได้เหมือนธนบัตรหรือเหรียญเงินบาท Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาด้วยกลุ่มนักพัฒนาเล็กๆกลุ่มหนึ่งตลอดจนบริษัทใหญ่ๆทั่วโลก โดยระบบของ Bitcoin ถูกรันโดยคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่วโลก โดยใช้ระบบซอฟต์แวร์ในการถอดสมการคณิตศาสตร์
Bitcoin ถือเป็นสกุลเงินแรกของโลกที่ถูกเรียกว่าคริปโตเคอเรนซี (cryptocurrency)
อะไรทำให้ Bitcoin แตกต่างจากสกุลเงินทั่วๆไป
Bitcoin สามารถใช้แทนเงินสดซื้อสินค้าออนไลน์ อาจคล้ายกับระบบซื้อขายผ่านอินเทอร์เนตทั่วๆไปที่ใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต
อย่างไรก็ตาม ความพิเศษของ Bitcoin ที่เป็นตัวช่วยให้มันเป็นที่นิยมคือมันถูกควบคุมแบบกระจาย (decentralize) กล่าวคือไม่มีสถาบันการเงินไหนสามารถควบคุมบิมคอยได้ ซึ่งนั่นทำให้ผู้คนที่เลือกใช้ Bitcoin ส่วนใหญ่สบายใจเนื่องจากแม้แต่ธนาคารก็ไม่สามารถควบคุม Bitcoin ได้
ใครเป็นคนสร้าง Bitcoin
นักพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ผู้ใช้นามแฝงว่าซาโตชิ นาคาโมโตะเป็นผู้พัฒนา Bitcoin ขึ้นมาซึ่งเป็นระบบจ่ายเงินที่อ้างอิงอยู่บนการถอดสมการคณิตศาสตร์ โดยจุดประสงค์ของเขาคือการสร้างสกุลเงินที่เป็นอิสระจากรัฐบาลและธนาคาร, สามารถส่งหากันผ่านระบบอินเทอร์เนตและมีค่าธรรมเนียมที่ถูกมากๆ
ใครพิมพ์ Bitcoin
ไม่มีใครสามารถพิมพ์ Bitcoin ได้ เพราะมันเป็นสกุลเงินที่ไม่สามารถจับต้องได้เหมือนกับธนบัตรที่ถูกพิมพ์โดยรัฐบาล, ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้สอดคล้องกับจำนวนประชากร และมันมีกฏเกณฑ์ในตัวของมันเอง ในขณะที่ธนาคารกลางบางประเทศสามารถที่จะพิมพ์เงินได้เองเพื่อกู้วิกฤติหนี้แห่งชาติ หรือประกาศอ่อนค่าเงินของตัวเอง
แต่ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นโดยเป็นเหมือนกับไฟล์คอมพิวเตอร์ โดยกลุ่มนักพัฒนาอิสระที่ใครๆก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ การจะผลิต Bitcoin ขึ้นมาได้นั้นต้องใช้วิธีการ “ขุด” โดยการใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่บนเครือข่ายที่จัดวางไว้ให้เท่านั้น
โดยเครือข่ายนี้ยังสามารถที่จะใช้เพื่อช่วยในการจัดการการโอนส่ง Bitcoin ให้กันได้ ซึ่งหากจะเรียกแล้ว มันก็คือเครือข่ายส่วนตัวของ Bitcoin นั่นเอง
ถ้างั้น Bitcoin ก็สามารถถูกสร้างขึ้นมาแบบมีจำกัดใช่หรือไม่
ใช่แล้ว ด้วยการมีอยู่ของระบบ Bitcoin โพรโตคอล ซึ่งเปรียบเสมือนกับผู้คุมกฏแห่งเครือข่าย Bitcoin ได้กล่าวไว้ว่า Bitcoin จะสามารถที่จะถูกผลิตขึ้นมาได้เพียงแค่ 21 ล้าน Bitcoin เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เจ้า Bitcoin พวกนี้สามารถที่จะถูกแบ่งออกเป็นจำนวนย่อยๆได้ (โดยหน่วยที่เล็กที่สุดของ Bitcoin คิดเป็นหนึ่งร้อยล้านต่อ 1 Bitcoin โดยหน่วยนี้ถูกเรียกว่า “ซาโตชิ” เพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้สร้าง Bitcoin )
ราคา Bitcoin ถูกอ้างอิงจากอะไร
หน่วยเงินที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นมักจะถูกนำมาผูกติดกับราคาของทองหรือเงิน โดนทฤษฎีแล้ว ถ้าคุณเดินไปซื้อทองที่ร้านทองด้วยเงินบาท คุณก็จะได้ทองกลับบ้าน แต่ในขณะเดียวกัน Bitcoin นั้นไม่ได้ถูกอ้างอิงกับทอง แต่ถูกอ้างอิงด้วยสมการทางคณิตศาสตร์
ผู้คนทั่วโลกกำลังใช้ซอต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการถอดสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อผลิต Bitcoin โดยสูตรทางคณิตศาสตร์เหล่านี้มีอยู่ให้หาได้แบบไม่คิดเงิน ทำให้แม้แต่คุณก็สามารถเข้าไปตรวจเช็คได้แบบฟรีๆ
โดยซฟอต์แวร์ที่ว่านั้นเป็นระบบ open source แปลว่าทุกคนสามารถที่จะตรวจสอบความโปร่งใสได้
หากนึกถึง Bitcoin ควรจะนึกถึงอะไร
Bitcoin มีความพิเศษในตัวมันเองที่ทำให้แม้แต่ค่าเงินของรัฐบาลก็ไม่อาจเลียนแบบได้
- มันใช้เทคโนโลยีการกระจาย เครือข่ายของ Bitcoin ไม่ได้ถูกควบคุมโดยศูนย์กลางที่ไหนหรือใครคนใดคนหนึ่ง เครื่องขุด Bitcoin ทุกๆเครื่องมีส่วนช่วยในการทำธุรกรรมในการจ่ายเงินของ Bitcoin และเครื่องขุดเหล่านี้ทำงานด้วยกันทั่วโลก ซึ่งแปลว่าในทางทฏษฎีแล้ว ทางรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจไม่สามารถที่จะเข้ามายึดหรือสั่งทำลายเครื่องขุด Bitcoin เพียงแค่เครื่องใดเครื่องหนึ่งเพื่อหวังให้ระบบเครือข่ายของ Bitcoin ล่มสลายได้ หรือแม้แต่พยายามที่จะยึดเอา Bitcoin มาเป็นของตัวเองแบบที่ธนาคารกลางแห่งยุโรปเคยพยายามลองทำมาแล้วที่ Cyprus ในปี 2013 แต่ก็ล้มเหลว ประเด็นคือถ้าอยากจะทำลาย Bitcoin ให้หมดไปจากโลกนี้ ทางรัฐบาลอาจต้องไล่ทำลายเครื่องขุด Bitcoin ที่มีกระจายไปอยู่ทั่วโลกนั่นเอง
- มันง่ายต่อการติดตั้ง ธนาคารส่วนใหญ่มักจะพยายามหลอกล่อและเชิญให้คุณมาเปิดบัญชีธนาคารที่มีขั้นตอนการเปิดที่ยุ่งยาก ลืมเรื่องการเปิดบัญชีธนาคารเพื่อการค้าขายแบบง่ายๆไปได้เลย ในขณะเดียวกันการเปิดใช้งานกระเป๋า Bitcoin สามารถที่จะทำได้ให้เสร็จได้ง่ายในระดับวินาที ไม่มีคำถามมาถามให้กวนใจ และไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
- มันไร้ตัวตน ซึ่งก็ใช่ เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถที่จะถือบัญชี Bitcoin ได้ทีละหลายๆบัญชี และบัญชีเหล่านั้นก็ไม่ได้มีชื่อหรือข้อมูลส่วนตัวของคุณมาเชื่อมกับมัน แต่ทว่า…
- มันโปร่งใสแบบ 100% รายละเอียดการเก็บ Bitcoin นั้นละเอียดในระดับถึงขั้นที่สามารถตรวจจับไปจนถึงการโอนครั้งแรกตั้งแต่มี Bitcoin มาเลยทีเดียว โดยสมุดบัญชีการโอนของ Bitcoin นั้นเราจะเรียกมันว่าบล็อกเชน (Blockchain) โดยบล็อกเชนที่ว่านี้จะเปรียบเสมือนสมุดบัญชีธนาคารกลางที่สามารถบอกการเคลื่อนไหวของบัญชี Bitcoin ทั่วโลกถ้าหากคุณมีบัญชี Bitcoin ที่เคยใช้ส่งหรือรับ Bitcoin ละก็ ทุกคนสามารถที่จะเข้ามาตรวจได้ว่าแต่ละบัญชีเคยมีการเคลื่อนไหวของจำนวน Bitcoin เข้าออกมาแล้วกี่ Bitcoin แต่พวกเขาไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าอันไหนเป็นของคุณมีเทคนิคที่ผู้ใช้ Bitcoin บางคนนำมาแนะเพื่อเพิ่มความไร้ตัวตนให้คุณด้วยการไม่ใช้กระเป๋าเงิน Bitcoin ใบเดียวตลอดหลายๆครั้ง และการโอน Bitcoin ไปทีละเยอะๆกระจายๆไปทีละหลายๆกระเป๋า
- ค่าธรรมเนียมที่ต่ำติดดิน ธนาคารอาจจะคิดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินกับคุณประมาณ 35-500 บาท แต่ Bitcoin ไม่
- การโอนที่รวดเร็วมาก คุณสามารถที่จะส่ง Bitcoin ไปหาใครก็ได้บนโลกนี้โดย Bitcoin ที่คุณส่งข้ามโลกไปหาอีกคนนั้น จะไปปรากฏที่กระเป๋าเงินของเขาในระดับนาที
- เรียกคืนไม่ได้ เมื่อ Bitcoin ของคุณถูกส่งออกไปนั้น มันจะไม่มีวันกลับมาหาคุณอีก หรือนอกจากผู้ได้รับจะส่งมันกลับคืนมาหาคุณ
สรุปคือ Bitcoin นั้นมีข้อดีที่มากอยู่พอสมควรในทางทฤษฎี แต่มันทำงานอย่างไรล่ะ ลองอ่านบทความนี้ดูเกี่ยวกับวิธีการที่ Bitcoin ถูกสร้างขึ้น และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการส่ง Bitcoin กันเกิดขึ้นรวมไปถึงวิธีที่เครือข่าย Bitcoin ทำงาน
สถานที่ๆคุณสามารถซื้อ Bitcoin ได้ในไทย
ผู้ให้บริการ | ข้อมูล | มาจากประเทศ | |
---|---|---|---|
Bx.in.th หรือ Bitcoin Thailand สามารถให้คุณเลือกที่จะซื้อหรือขายกันเองได้ผ่านกระดานซื้อขาย | ไทย | ซื้อ Bitcoin | |
Localbitcoins จะช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายที่มีความต้องการตรงกัน | ฟินแลน | ซื้อ Bitcoin | |
coins.co.th เป็นผู้ให้บริการกระเป๋าเงิน Bitcoin ที่จะให้คุณสามารถซื้อและขาย Bitcoin แบบง่ายๆ | ฟิลิปปินส์ | ซื้อ Bitcoin |
Bitcoin เป็นเงินตราสกุลใหม่ ที่สร้างขึ้นโดยคอมมูนิตี้ของผู้ใช้ครับ
โดยที่เงินตราสกุลนี้ ไม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐหรือธนาคารแห่งใด
Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิตอล ที่ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อใช้ในการจ่ายเงินแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการชนิดใหม่ แทนที่เงินตราสกุลดั้งเดิมต่างๆที่เราเคยใช้กันมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น USD, JPY, EUR, หรือ THB
ซึ่งปกติแล้ว หน้าที่หลักของ “เงิน” คือการเป็นสื่อกลางสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ ซึ่งเงินตราในรูปแบบใหม่ในสกุล Bitcoin นี้ ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกันกับสิ่งที่เงินตราสกุลต่างๆเคยทำหน้าที่มา เพียงแต่จะมีความแตกต่างบางอย่างที่แตกต่างไปจากระบบเดิมอย่างชัดเจน
ใครที่เข้าใจหลักการพื้นฐานของเงิน จะทราบว่าในโลกนี้ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่สามารถทำหน้าที่เป็นเงินได้ เช่น แร่ธาตุบางชนิด หรือว่าสิ่งของที่หายาก โดยที่สิ่งเหล่านั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1) เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับในมูลค่า
2) ยากในการปลอมแปลง
3) สามารถส่งต่อได้ เปลี่ยนมือได้
4) คงทน ไม่เสียดายง่ายเกินไป
ซึ่ง Bitcoin ได้ถูกออกแบบมา เพื่อที่จะให้เป็นระบบการเงินในโลกออนไลน์ โดยที่จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญดังต่อไปนี้ครบถ้วนเช่นเดียวกับระบบเงินตราในรูปแบบดั้งเดิม แต่อีกหนึ่งคุณสมบัติที่ทำให้ Bitcoin ต่างไปจาก ระบบเงินตราอื่นๆคือ Bitcoin เป็นระบบที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลโดยธนาคารและรัฐบาลใดๆ แต่อยู่ได้ด้วยข้อตกลงของผู้ใช้และความซับซ้อนของคณิตศาสตร์เพียงเท่านั้น
ซึ่งเนื่องจากคุณสมบัติของ Bitcoin ที่ไม่ได้บังคับตัวเองให้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรธนาคารขนาดใหญ่หรือรัฐ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารปริมาณเงินนี้ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมลดน้อยลงจากการใช้เงินตราสกุลดั้งเดิมเป็นอย่างมาก จะว่าไปแล้ว Bitcoin นี้ก็เปรียบเสมือนกับ สกุลเงินตราในฝันสำหรับพ่อค้าออนไลน์เลยทีเดียว
แล้ว Bitcoin คืออะไร กันแน่ ?
Bitcoin คือข้อตกลงของคนที่จะใช้ ข้อมูลที่เข้ารหัสทางคณิตศาสตร์ 21 ล้านชุด ว่าจะเป็นสิ่งที่เราใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการแทนเงินสกุลแบบดั้งเดิม โดยที่แต่ละ Bitcoin นี้ จะต้อง ไม่สามารถถูกปลอมแปลงได้, สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยได้, และสามารถโอนข้ามทันทีผ่านทางอินเตอร์เน๊ต
โดยที่แต่ละ Bitcoin จะถูกสร้างเข้าสู่ระบบโดยซอฟท์แวร์ที่เรียกว่า Bitcoin Mining ที่ใช้คำนวนสูตรคณิตศาสตร์ขั้นซับซ้อน ทำให้ขณะนี้ มีการค้นพบ Bitcoin ใหม่ๆเข้าสู่ระบบจากทั่วโลก ในอัตรา 6 บล้อกต่อชั่วโมง เท่านั้น (โดยที่แต่ละบล้อก = 25 Bitcoins)
ในท้ายที่สุดแล้ว จำนวน Bitcoin ที่จะมีในระบบจะมีได้แค่ 21 ล้านชุดเท่านั้น โดยที่บล้อกแรกของ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นจาก บุคคลลึกลับที่ใช้ชื่อว่า Satoshi Nakamoto ในวันที่ 3 มกราคม 2009 จึงได้มีการตั้งชื่อหน่วยที่เล็กที่สุดของสกุลเงิน Bitcoin (1 ใน ร้อยล้าน) ว่า 1 ซาโตชิ
ตอนนี้มีใครใช้ Bitcoin อยู่บ้าง
ในช่วงเดือนกันยายน ปี 2011 มีสถิติผู้ใช้งานที่เชื่อมต่อกับระบบนี้อยู่ที่ประมาณ 60,000 คน
คุณสามารถจะค้นหาสินค้าและบริการที่สามารถใช้จ่ายด้วย Bitcoin ได้ดังต่อไปนี้
เช็คเว้บไซต์ Bitcoin Travel และ Bitcoin Navigator สำหรับร้านค้าและบริการ
รวมไปถึงฟอรั่ม Bitcoin Marketplace forum
SpendBitcoins.com Bitcoincodes.com และ CoinDL!
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ยังทำให้ Bitcoin เป็นเงินตราสกุลที่เหมาะสมที่สุดที่จะใช้สำหรับการพนันออนไลน์อีกด้วย
Bitcoin Mining ทำยังไง http://nobelcode.com/blog/bitcoin-mining-คืออะไร/
เริ่มต้นใช้งาน Bitcoin http://nobelcode.com/blog/เริ่มต้นยังไงกับ-bitcoin-2/
Bitcoin
ราคาของ Bitcoin ต่อ $US ได้สูงขึ้นเป็นอย่างมาก น่าสนใจ ในแง่ของ Concept การเป็น สกุลเงินดิจิตอล ที่ไม่มีการควบคุมจากธนาคารกลาง (Decentralized Online Digital Currency) Bitcoin http://www.youtube.com/watch?v=Um63OQz3bjo
Bitcoin(BTC) คืออะไร ?
BTC เป็นสกุลเงินออน์ไลน์ ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.2009 จาก นักพัฒนานิรนาม ชื่อว่า Satoshi Nakamoto ซึ่งตัวตนจริงๆของเค้าก็ยังเป็นความลับ และอาจจะเป็นกลุ่ม หรือเป็นบุคคลคนเดียวก็ได้ จุดเด่นของสกุลเงิน BTC ก็คือเป็นสกุลเงินที่ เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะว่า ไม่มีการควบคุมโดยธนาคารกลางหรือภาครัฐ (Decentralized) โปรแกรม และระบบควบคุมสกุลเงิน BTC เป็น แบบ Peer-to-Peer และเป็น Open-sourced platform ซึ่งกล่าวได้ว่ามีความปลอดภัยสูงมาก (ในขณะนี้) ซึ่งจำนวนเงินของ BTC ถูกตั้งค่าไว้ในจำนวนจำกัด และไม่มีใครสามารถพิมพ์เงินออกมาตามใจชอบได้ ทุกอย่างมีระบบควบคุมไว้หมดตามการออกแบบระบบของ Satoshi Nakamoto ซึ่งต่างจากสกุลเงินต่างในปัจจุบัน ที่ธนาคารกลางสามารถพิมพ์เพิ่มได้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(QE) ในระยะยาว ซึ่งจำนวนเงินทั้งหมดของ BTC จะถูกจำกัดไว้ที่ 21 ล้านหน่วย BTC แต่การใช้งานจะสามารถย่อยเป็นทศนิยม ได้ถึง 8ตำแหน่ง หมายถึงเราสามารถรับหรือจ่าย เป็น 0.00000001 BTC ก็ได้
Bitcoin Mining
เนื่องจากระบบของ BTC เป็น Peer-to-peer ซึ่งระบบโดยรวมจะ สร้างเงินBTC ขึ้นมาใหม่ จนกว่าจำนวน BTC ทั้งหมดจะขึ้นถึง 21 ล้านหน่วย ในปี ค.ศ.2140 ในอัตราขณะนี้ จะเกิด BTC ใหม่จำนวน 25 หน่วยทุกๆ 10 นาที และอัตราเกิดใหม่จะน้อยลงไปเรื่อยๆจนถึง 0 ในปี ค.ศ.2140 ซึ่งผู้ที่ได้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของของ BTC ใหม่ ก็คือผู้ที่นำเอาทรัพยกร Computer ของตัวเองมา เป็น Server Nodes สำหรับระบบของ BTC นั้นเอง ซึ่งเรียกอีกอย่าง Bitcoin Mining ซึ่ง “ความยาก” (Diffculty) ของ การ Mining นั้น ก็ขึ้นอยู่กับ จำนวนของคนที่Run Mining Server ด้วย ซึ่งในปัจจุบันที่มูลค่า BTC พุ่งขึ้นมหาศาล เท่าให้มีคนแห่กันมาเปิด Server มากมาย ซึ่งข้อดี คือทำให้ระบบของ BTC นั้นแข็งแกร่งขึ้น เพราะมี Server รองรับเยอะ แต่ทำให้การ Mining นั้นยากขึ้นเป็นเงา ตามตัว (พูดกันว่า Run Server ไว้เป็นเดือน ยังไม่ได้ BTC ซักหน่วยเลยก็มี) ขึ้นตอนการ Mining ก็คือการ ตรวจสอบว่า BTC ที่ถูกนำมาใช้งานไม่ถูกใช้ซ้ำ และไม่ถูกปลอมขึ้นมา รวมทั้งการ Generate เลขฐาน 256 ใหม่เพื่อทำให้ Transaction การเปลี่ยนมือ ของ BTC สมบูรณ์แบบด้วย ตรงนี้เป็นเรื่องทาง Technical ซึ่งเข้าใจค่อนข้างยาก (ผมก็ยังเข้าใจไม่หมด) แนะนำให้ผู้สนใจลอง หาในเว็บต่างประเทศอ่านเพิ่มเติม แต่สรุปสั้นๆว่าขั้นตอนการ Mining ทำให้ ผู้ใช้ BTC ได้ประโยชน์ ดังนั้น โปรแกรมจึงให้รางวัลโดยการออก BTC ใหม่ ให้ผู้ทำ Mining Server ด้วย
จุดเด่นของ Bitcoin
จุดประสงค์ของผู้พัฒนาระบบ BTC นั้นก็คือต้องการ สกุลเงิน (Currency) ที่เป็นอิสระจริงๆ ไม่ใช่เป็นของรัฐใดรัฐนึง หรือธนาคาร ผู้ถือครองสกุลเงินนั้นๆ ต้องมีความอิสระ ในการนำเงินนั้นไปแลกเปลี่ยนกับอะไรก็ได้ โดยที่ไม่เกี่ยวกับ เชื้อชาติ ศาสนา หรือภูมิลำเนา และผู้ถือ BTC ก็ไม่จำเป็นต้องแสดงตัวว่าตัวเองเป็นใคร (Anonymity) ในการแลกเปลี่ยนแต่ละครั้ง และที่สำคัญต้องไม่มีใครมีสิทธิ์จะ”พิมพ์เงิน” มาตามใจชอบได้ มวลชนคือเจ้าของที่แท้จริงของสกุลเงิน ซึ่งต่างจากสกุลเงินปัจจุบันที่เป็นแบบ Fiat Currency คือมีค่าเพราะว่า รัฐหรือธนาคารรับรอง
สิ่งที่ สังคมของผู้ใช้ BTC พยายามก็คือ ต้องการให้การใช้ BTC ในวงกว้าง ตอนนี้ก็มีร้านค้าหลายๆร้าน ทาง Online ก็รับเงิน BTC เพราะมีข้อดีคือ ค่าธรรมเนียมในการรับจ่าย BTC ต่ำมากๆ นอกจากนั้นสินค้าหลายๆอย่างที่สินค้าใต้ดิน เช่นพวกยาเสพติด ก็สามารถซื้อขายผ่าน BTC ได้ (ตรงนี้ดีหรือไม่ดี ไม่ขอสรุป)
จุดแข็งอีกอย่างของ BTC ก็คือ เป็น Peer-to-Peer มี Server ที่คอยควยคุมหลายๆตัวมากๆ ดังนั้นการที่จู่ๆ จะถูก อเมริกาสั่งปิด และระบบเงินตรานี้จะพังเลย จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะ Server ถ้าถูกปิดก็เปิดใหม่ ใต้ดินได้ เว็บไซต์อย่าง Wikileak ก็โดยหลายๆ ประเทศพยายามจะปิด แต่สุดท้ายก็ไม่โดนอยู่ดี
ปิดท้าย
ตอนนี้คนพูดถึง BTC กันมาก โดยเฉพาะในประเทศโซนยุโรป ที่ตอนนี้ค่าเงิน Euro มีความอ่อนไหวสูง อย่างกรณีไซปรัส ประชาชนฝากเงินอยู่ในธนาคาร อยู่ๆวันดีคืนดี ก็โดยห้ามถอนเงินเกินกำหนด แถมสุดท้ายเงินฝากก็โดยธนาคารตัดเพื่อไปใช้หนี้ ทำให้การที่กระแส Bitcoin เกิดในช่วงนี้ก็ไม่น่าแปลกอะไร เพราะ Fiat Currency นั้นตามประวัติศาสตร์ พอรัฐพัง สกุลเงินแบบนี้ก็พังตาม แต่ผมคิดว่ากระแสตื่น BTC ในช่วงนี้ เกิดเพราะความต้องการเก็งกำไร ไม่ได้เกิดจากความต้องการใช้ BTC เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนอย่างแท้จริง ซึ่งตามการออกแบบของผู้สร้าง BTC แน่นอนว่า ในระยะยาว BTC ต้องมีมูลค่ามากขึ้น เพราะระบบได้รองรับการรับจ่าย BTC ที่ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 8 แต่่ว่าการที่มูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะสั้นๆ อาจจะทำให้สุดท้ายมีคนเจ็บตัว และเข็ดขยาดไม่กล้าใช้ BTC กันไปเลยก็ได้ ร้านค้าOnline ที่จะรับ BTC เป็นค่าสินค้าและบริการ ก็จะคำนวนมูลค่าขายไม่ถูกเพราะค่าเงินผันผวนมาก เรามาลองดูกันครับ ว่าBTC จะเป็นอย่างไรต่อไป แต่โดยส่วนตัวผมชอบ แนวคิดของ ระบบBTC มาก (ล่าสุด ราคาไปทำ High ที่ $266 และหล่นลงมา $70 ภายใน 2 วัน และขณะนี้ อยู่ที่ $115 วันเสาร์ที่ 13 เมษายน 2556 )
แหล่งข้อมูลอื่นๆ Bitcoin
–Bitcoin.org
–Bitcoin.it – Bitcoin Wiki
–Bitcoinity.org/market – กราฟ BTC แบบ Real-time
–evoorhees.blogspot.nl/2012/04/bitcoin-libertarian-introduction.html – อธิบาย Bitcoin แบบละเอียด
BitCoin เมื่อโลกเทคโนโลยีปลดแอกการเงินจากธนาคาร
โลกการเงินทุกวันนี้ถูกควบคุมด้วยธนาคารชาติต่างๆ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารชาติต่างๆ มีอำนาจในการกำหนดค่าเงินของตัวเองด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น การกำหนดระดับดอกเบี้ย, เงินสำรองของธนาคาร, หรือการพิมพ์เงินออกมาสู่ตลาด นอกจากการกำหนดค่าเงินแล้ว หน่วยงานเหล่านี้ยังมีอำนาจในการตามรอยการเงินของผู้ใช้ผ่านทางการควบคุมธนาคาร รัฐบาลประเทศต่างๆ มีอำนาจในการหยุดธุรกรรมทางการเงินของบุคคลได้ หรือการกระทำอย่างสุดโต่งเช่นในปี 1987 ที่รัฐบาลพม่าประกาศยกเลิกธนบัตร 25, 35, และ 75 จ๊าด โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้าทำให้เงินหายไปจากระบบถึง 75%
แนวคิดการสร้างระบบการเงินที่ควบคุมด้วยเทคโนโลยีแทนที่นโยบายการเงินจากธนาคารจึงมีขึ้นในหมู่แฮกเกอร์มานานแล้ว แต่สุดท้ายในวันนี้ระบบที่ได้รับการยอมรับสูงสุด คือ BitCoin คำถามของตัวผมเองกับระบบนี้คือ ทำไมระบบนี้จึงปลอดภัย หลังจากนั่งอ่านอยู่พักใหญ่ๆ วันนี้เราจะลองมาดูกันว่าระบบของ BitCoin คืออะไรและมันเข้ามาเป็นระบบการเงินใหม่ได้อย่างไร
BitCoin สร้างขึ้นโดย Satoshi Nakamoto บุคคลลึกลับที่อ้างว่าตัวเองมาจากประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่มีข้อมูลอื่นใดเดี่ยวกับตัวเขา เขาใช้อีเมลจากบริการฟรีเพื่อพูดคุยในเมลลิ่งลิสด้านการเข้ารหัส เขาเริ่มพัฒนา BitCoin ในปี 2007 และเปิดเผยมันออกมาในปี 2009 (เอกสารการออกแบบ (PDF)) จากนั้นจึงค่อยๆ ลดบทบาทตัวเองลงไป จนกระทั่งหายตัวไปในที่สุด เชื่อกันว่าชื่อ Satoshi ถูกสร้างขึ้นโดยเฉพาะเพื่อโครงการนี้ เมื่อพิจารณาจากความเชี่ยวชาญด้านการเข้ารหัสที่สูงมาก แต่กลับไม่มีชื่อนี้ในวงการวิชาการการเข้ารหัส เช่น บทความในวารสารวิชาการหรืองานประชุมวิชาการใดๆ ที่เป็นที่รู้จัก โดเมนหลักของโครงการคือ BitCoin.org นั้นถูกจดทะเบียนกับบริษัทรับจดทะเบียนแบบปกปิดตัวตนก่อนจะโอนให้กับ Martti Malmi หนึ่งในนักพัฒนาหลักของโครงการชาวฟินแลนด์ สิ่งที่ระบุตัวตนของ Satoshi เข้าได้จริงๆ มีเพียงกุญแจ PGP ที่ใช้ติดต่ออีเมลกับเขาเท่านั้น
BitCoin เป็นหน่วยเงินใช้ชื่อย่อสกุลเงินว่า BTC ใช้สัญลักษณ์ B⃦ แทนหน่วยเงินแต่เนื่องจากเป็นอักขระที่ไม่ได้รับความนิยม หลายครั้งเราจึงเห็นเว็บที่รับเงิน BitCoin ใช้สัญลักษณ์เงินบาท (฿) แทน โดยตัวเงินจะสามารถแบ่งย่อยไปได้ถึงทศนิยมแปดหลัก เรียกหน่วยย่อยที่สุดว่า satoshi ตามชื่อผู้ให้กำเนิดมัน
การออกแบบของ BitCoin อาศัยการเชื่อมต่อ P2P ของโลกอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก โดยหลักการแล้ว การโอนเงินทุกครั้งจะต้องประกาศออกไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกที่รันโปรแกรม BitCoin อยู่ ทำให้ทุกคนรับรู้ว่ามีการโอนเงินก้อนใดไปยังใครบ้าง เงินแต่ละก้อนสามารถแตกออกเป็นเงินย่อยๆ ได้ ทุกครั้งที่คนๆ หนึ่งจะโอนเงินไปให้กับคนอื่นจะเป็นการแตกเงินออกเป็นสองก้อน นั่นคือการโอนให้ยังปลายทาง และที่เหลือโอนกลับเข้าตัวเอง
เว็บ Mt.Gox ผู้ให้บริการแลกเงินรายใหญ่ของ BitCoin ที่ดำเนินธุรกรรมถึง 80% ในการนำเงินเข้าและออกจาก BitCoin ตัวเว็บเคยถูกแฮกทำให้เงินหลุดออกสู่ตลาดจำนวนมาก ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนที่ยุ่งเหยิงไปช่วงหนึ่ง
การถือเงินใน BitCoin จะอาศัยการสร้างกระเป๋าเงินดิจิตอลที่มีสิ่งอ้างอิงคือ BitCoin address ที่เป็นตัวเลขผสมตัวอักษรยาว 34 ตัวอักษร เช่น 19kgqNAaq983PXpaxeZSvLTcuieiVojmrN
โดยกระเป๋าเงินดิจิตอลแต่ละใบจะมีกุญแจลับเป็นของตัวเอง หากกุญแจนี้หายไป เงินทั้งหมดในกระเป๋านั้นจะหายไปตลอดกาล และเนื่องจากระบบของ BitCoin เป็น P2P ทำให้เราสามารถเข้าไปดูกระเป๋าเงินของใครก็ได้ เช่นกระเป๋าเงิน 19kgqNA… ตัวอย่างข้างต้น สามารถดูได้ที่ Block Explorer ว่ามีการโอนจากกระเป๋าเงินใบอื่นเมื่อไรเป็นจำนวนเงินเท่าใด เมื่อสองเดือนก่อน นิตยสาร Forbes สามารถจัดอันดับเศรษฐี BitCoin ได้ว่าบัญชีใดมีเงินเท่าใด และใช้จ่ายไปกี่ครั้ง เช่น บัญชีอันดับหนึ่ง 1DkyBEKt5S2GDtv7aQw6rQepAvnsRyHoYM มีเงินกว่า 500,000 BTC คิดเป็นมูลค่ากว่าหกล้านดอลลาร์ หรือประมาณสองร้อยล้านบาท แม้จะตรวจสอบการโอนทั้งหมดได้ ใครๆ ก็สามารถสร้างกระเป๋าเงิน BitCoin ขึ้นใช้งานเองได้ และมีคนจำนวนมากที่ถือหลายกระเป๋าเพื่อปกปิดตัวตน หรืออาจจะมีคนกระจายเงินไปยังกระเป๋าเงินหลายใบเพื่อไม่ให้ตัวเองตกเป็นเป้าการตรวจสอบ
กระบวนการที่สำคัญของ BitCoin คือการยืนยันว่ามีการโอนเงินแล้วจริง โดยปกติแล้วในระบบเงินทั่วไป เราเชื่อใจระบบธนาคารว่าจะดูแลให้การโอนเงินของเราเป็นไปอย่างถูกต้อง แต่ BitCoin ถูกออกแบบให้ทุกคนช่วยการยืนยันการโอนเงินซึ่งกันและกัน เมื่อผู้ใช้ในเครือข่ายประกาศการโอนเงินจะ ข้อความประกาศเหล่านั้นจะถูกรวบเข้าด้วยกันเป็นชุด แล้วคำนวณหาค่าแฮช (hash) แบบ SHA256 เรียกว่า บล็อค (Block) ตัวอย่าง เช่น บล็อคหมายเลข 194462 มีการโอนที่ถูกรวบรวมเข้ามา 209 รายการ รวมเป็นมูลค่า 8979.63213863 BTC
การยืนยันการโอนแต่ละบล็อคเป็นงานที่ออกแบบให้ยากในระดับที่สร้างบล็อคใหม่ได้ในเวลาประมาณสิบนาที หลักการคือผู้ที่จะคำนวณค่ายืนยันบล็อคแต่ละอัน จะต้องปรับค่า nonce ที่ใช้เติมในแต่ละบล็อคเพื่อให้แฮชค่าของทั้งบล็อคแล้วได้คุณสมบัติตามที่กำหนด ค่าความยาก (difficulty) นี่คือการกำหนด “ค่าเป้าหมาย” (target) ที่ยอมรับได้ของแฮชของบล็อคนั้นๆ แต่ใน SHA256 กำหนดค่า nonce เพื่อให้ได้ค่าแฮชที่น้อยตามที่ต้องการเป็นงานที่ยังไม่มีทางทำได้ตามทฤษฎี ทางที่เป็นไปได้คือการไล่ค่า nonce ไปเรื่อยๆ ทีละค่าแล้วคำนวณแฮชใหม่จนกว่าจะได้ค่าตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยโพรโทคอลของ BitCoin จะกำหนดให้ค่าความยากนี้ใหม่ทุกๆ 2016 บล็อค โดยคำนวณจากความยากปัจจุบันและระยะเวลาเฉลี่ยที่คำนวณแต่ละบล็อคในช่วงเวลาสองสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถปรับค่าความยากให้ยากขึ้นเกินกว่า 4 เท่าตัวได้ในการปรับแต่ละครั้ง ทุกวันนี้ค่าแฮชที่ยอมรับได้จะมีเลขศูนย์นำหน้าถึง 13 ตัว เช่น 00000000000006b6470a28d420c957609e22f56c5f3a58dfe9ad4d498f63e3fa
การหาค่า nonce ที่ทำให้ค่าแฮชเป็นไปตามเงื่อนไขนี้จะต้องอาศัยการลองผิดลองถูกนับล้านล้านครั้ง หลังจากนั้นเมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายสามารถคำนวณค่า nonce และแฮชที่ถูกต้องของบล็อคปัจจุบันได้ ก็จะประกาศไปทั่วเครือข่าย การตรวจสอบความถูกต้องนั้นทำได้ง่ายเพราะเป็นเพียงการดูไฟล์บล็อคที่มักมีขนาด 50-200KiB แล้วคำนวณแฮช SHA256 ว่าตรงกับที่ประกาศออกมาหรือไม่ และซอฟต์แวร์จะถูกกำหนดให้รับฟังการประกาศบล็อคล่าสุดเสมอ
การปรับค่าความยากให้ระยะเวลาสร้างบล็ิอคใหม่ได้ในสิบนาที เป็นความพยายามที่จะสมดุลกันระหว่างความปลอดภัย โดยคนโจมตีจะสร้างห่วงโซ่บล็อคปลอมๆ ได้ยากมาก ขณะที่การใช้จ่ายเงินจะได้รับการยืนยันว่าอยู่ในห่วงโซ่สายหลักแน่นอน (มีบล็อคต่อท้ายไปอีก 6 บล็อค) ภายในเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ซึ่งไม่นานเกินไปสำหรับการใช้งานซื้อขายที่ไม่ต้องการความเร็วสูงๆ เช่น การซื้อหุ้น
แต่ละบล็อคของ BitCoin จะอ้างถึงบล็อคก่อนหน้าหนึ่งบล็อคเสมอ ทำให้แต่ละบล็อคอ้างถึงกันเป็นลูกโซ่ไปข้างหน้าทางเดียว การคำนวณค่าบล็อคปัจจุบันจึงเป็นการยืนยันความถูกต้องของบล็อคก่อนหน้า โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์กระเป๋าเงิน BitCoin จะแจ้งผู้ใช้ว่าการโอนเงินได้รับการยืนยันต่อเมื่อบล็อคที่บันทึกการโอนเงินถูกอ้างถึงไปอีก 6 บล็อคข้างหน้า
การคำนวณค่า nonce และแฮชของแต่ละบล็อคนั้นเป็นงานที่มีต้นทุนสูงเพราะต้องใช้ไฟฟ้าและเครื่องที่แรงจึงคำนวณได้รวดเร็ว หลายค่ายสร้างชิปเฉพาะสำหรับการคำนวณค่าบล็อค กระบวนการนี้มีแรงจูงใจระบุให้ผู้ที่สามารถคำนวณ ค่า nonce และแฮชได้สำเร็จ สามารถประกาศนำเงินเข้ากระเป๋าตัวเองได้ 50 BTC (มูลค่าปัจจุบ้นคือ 600 ดอลลาร์หรือเกือบสองหมื่นบาท) เงินจำนวนนี้จะลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง ทุกๆ 210,000 บล็อคที่คำนวณได้ กระบวนการนี้เป็นแนวคิดที่จะจำกัดจำนวน BitCoin ไม่ให้เกิน 21,000,000 BTC
ระบบโซ่ของบล็อคที่สร้างฐานข้อมูลของ BitCoin แต่ละบล็อคจะบันทึกการโอนเงินไว้นับร้อยรายการ โดยเครื่องทั่วโลกจะเชื่อถือเพียงสายที่ยาวที่สุด (สีดำ) แม้บางครั้งจะมีการคำนวณบล็อคได้พร้อมกันทำให้เกิดการแตกสาย แต่เมื่อสายใดแข่งขันแล้วแพ้ สายนั้นก็จะถูกทิ้ง (สีเทา) ทุกสายจะชี้กลับไปยังบล็อคเริ่มต้นที่เรียกว่า Genesis Block ให้เงิน 50BTC แก่ Satoshi ผู้สร้าง BitCoin แม้เขาจะหยุดการพัฒนาซอฟต์แวร์และไม่ได้พูดคุยในเว็บบอร์ดแล้ว แต่บัญชีของเขาก็ยังมีรายการอยู่เรื่อยๆ
เนื่องจากไม่มีศูนย์กลางควบคุม จึงเป็นไปได้ที่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในโลก คำนวณบล็อคใหม่ออกมาได้พร้อมกัน โดยมีจำนวนข้อมูลการโอนไม่เท่ากันและค่า nonce และแฮชที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการ “แตกสาย” ของฐานข้อมูล BitCoin อาศัยแนวคิดว่าเครื่องส่วนใหญ่ในโลกนั้นเป็นเครื่องที่ดีและคำนวณอย่างซื่อสัตย์ เมื่อเกิดการแตกสายของฐานข้อมูลเครื่องทุกเครื่องจะเลือกสายที่ยาวที่สุด นั่นคือ เมื่อมีการคำนวณบล็อคลำดับเดียวกันได้พร้อมๆ กัน ทั้งสองสายจะต้องแข่งกันคำนวณบล็อคต่อไปให้เร็วที่สุด หากบล็อคใดแพ้ สายนั้นจะถือเป็นสายกำพร้า (Orphaned Block) และคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะไม่สนใจต่อสายนั้นอีกต่อไป ทำให้ผู้ที่คำนวณบล็อคได้สำเร็จและได้รับเงิน 50BTC ถูกยกเลิกเงินของตัวเอง เพราะเงินที่ได้รับจะถูกบันทึกในสายหลักเท่านั้น การคำนวณโซ่ของบล็อค (Block Chain) ใหม่จะใช้ทรัพยากรมหาศาล เช่นทุกวันนี้ที่มีจำนวนบล็อคในโลกเกือบสองแสนบล็อค ในภาพรวมแล้วทั้งโลกจึงมีฐานข้อมูลการโอนเงินเพียงฐานข้อมูลเดียวที่มองเห็นเหมือนกันทั่วโลก
ทุกวันนี้การคำนวณบล็อคใหม่จะใช้เวลา 5-10 นาที ในช่วงแรกโปรแกรมกระเป๋าเงิน BitCoin จะเปิดให้ทุกเครื่องช่วยกันคำนวณบล็อคนี้ไปพร้อมๆ กัน แต่เนื่องจากการคำนวณยากขึ้นเรื่อยๆ จนคอมพิวเตอร์ธรรมดาไม่สามารถคำนวณได้ทันและจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวในระบบที่ได้รับเงิน 50BTC ไปในแต่ละบล็อค ช่วงหลังจึงมีการรวมกลุ่มแบบต่างๆ เพื่อเร่งคำนวณค่า nonce และแฮชให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นการแข่งขันคำนวณค่า SHA256 ขนานใหญ่ทั่วโลก หลายกลุ่มอาศัยชิปกราฟิกเพื่อจะคำนวณค่าให้เร็วขึ้น บางกลุ่มใช้ชิป FPGA ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อช่วยเร่งการคำนวณ บางกลุ่มเปิดรับสมาชิกจากภายนอกโดยมีสัญญากันว่าจะแบ่งเงินให้ตามสัดส่วนที่คำนวณได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้คำนวณบล็อคได้สำเร็จหรือไม่ เรียกว่า mining pool
ระบบของ BitCoin ยังเปิดให้ผู้โอนเงินสามารถโอนค่าธรรมเนียมเข้าไปยังผู้ที่คำนวณบล็อคได้สำเร็จ แนวทางนี้ทำให้การโอนเงินแต่ละครั้งถูกบันทึกไม่พร้อมกัน เพราะผู้ที่คำนวณบล็อคจะพยายามดึงรายการโอนเงินที่มีค่าธรรมเนียมเข้าสู่บล็อคที่ตัวเองกำลังคำนวณก่อนเสมอ ระบบสุดท้ายแล้วเมื่อเงินฟรีที่ได้รับจากคำนวณบล็อคหมดไป ทุกคนจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อให้การโอนเงินของตัวเองได้รับการบันทึก ระบบการโอนเงินและค่าธรรมเนียมจะเป็นระบบเสรี คือ ถ้าเราประกาศค่าธรรมเนียมการโอนน้อยเกินไป ผู้คำนวณบล็อคจะไม่สนใจรวมรายการโอนเงินของเราเข้าสู่บล็อคของตัวเองที่กำลังคำนวณ ในอนาคตเราจะรู้ได้ว่าเราต้องประกาศค่าธรรมเนียม “ประมาณเท่าใด” จึงได้รับการบันทึกลงในฐานข้อมูล นั่นคือคนที่คำนวณบล็อคที่คำนวณได้เร็วที่สุด ยอมรับรายการโอนของเราเข้าไปคำนวณในบล็อคให้
ทั้งหมดคือมุมมองในเชิงเทคโนโลยีของ BitCoin ความน่าทึ่งของมันไม่ได้หยุดอยู่ที่การเป็นระบบการเงินที่เปิดเผยทุกอย่าง มันยังสร้างมุมมองใหม่ๆ ในเชิงเศรษฐกิจที่น่าสนใจ เพราะระบบการเงินทั่วไปในโลกนั้นเงินในระบบมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านการพิมพ์เงินของธนาคารกลาง แต่ในระบบ BitCoin ไม่สามารถเพิ่มเงินในระบบได้ เราจะกลับมามาสำรวจมุมมองทางการเงินต่อ BitCoin อีกครั้งในบทความตอนต่อไป
เราก็ทำ key (กระเป๋าตังค์) ขึ้นมาเยอะๆไงครับ จะโอนโยกไปมาสับขาหลอก ส่งผ่านคนกลาง ยังไงก็ได้
เราไม่มีทางรู้เลยว่าเจ้าของกระเป๋าใบไหน จริงๆแล้วเป็นใคร ใครมีกระเป๋าไหนบ้าง
ประเด็นความ anonymous ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในวงวิชาการ
BitCoin ไม่ได้ออกแบบให้ปกปิดตัวตน มันแค่ออกแบบให้ไม่มีธนาคารกลาง
เช่นถ้า CIA ไปรื้อฐานข้อมูลของ Mt.Gox ได้ก็จะรู้ว่าคนที่ซื้อเงิน BitCoin เป็นใคร แล้วตามรอยเงินก้อนนั้นได้ตลอดเส้นทางเพราะทั้งหมดเป็นข้อมูลเปิดเผย
การใช้ BitCoin เองถ้าไม่ broadcast ผ่าน TOR ก็จะเปิดเผยหมายเลขไอพีทันทีเหมือนกัน ตำรวจสามารถตามจับผ่านการหมายเลขไอพีได้
การได้เงินมาลอยๆ มีทางเดียวคือแอบๆ ไปคำนวณ Block ใหม่เพื่อให้ได้ 50BTC โดยไม่คุยกับใคร ไม่ทำ Pool กับคนอื่น ปัญหาคือจะคำนวณเร็วขนาดนั้นได้ เครื่องต้องแรงเทพ จน CIA หรือตำรวจสากลอาจจะตามได้จากการสั่งการ์ดจอล็อตใหญ่ๆๆๆๆ อยู่ดี
ที่แลกเงินมีนับสิบบริษัท (ใครก็ๆ ก็เปิดรับแลกเงินได้) Mt.Gox เป็นเพียงบริษัทหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงเท่านั้น
แต่ถ้าถึงวันหนึ่งแล้วทุกคนเลิกรับแลกด้วยเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงไม่รับจ่ายค่าบริการ เงินนั้นก็จะด้อยค่าไปเอง เหมือนเงินจริงๆ ที่บางสกุลเงินไม่ได้รับความเชื่อถือ ไม่มีใครรับแลก ไม่มีใครรับจ่าย ก็ด้อยค่าไป
เงินที่รัฐบาลรับรองก็มีโอกาสด้อยค่าได้ และเกิดขึ้นไปแล้วกับหลายประเทศ
แม้แต่แร่โลหะมีค่าสูงเช่นทองคำหรือเงินในระบบการเงินล้วนไม่ใช่ “ของจริง” ทั้งสิ้น ตัวทองคำเองไม่มีค่าในตัวมันเอง (กินไม่ได้ ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน) แต่อาศัยว่ามันเกิดขึ้นใหม่ได้น้อย
โอกาสที่โลหะจะด้อยค่าก็มีอยู่ เช่น หากใครสักคนคิดกระบวนการสังเคราะห์ทองขึ้นมาได้ ระบบทองคำก็จะล่มสลาย ทองด้อยค่าและต้องหาอย่างอื่นมาแทน แนวคิดนี้ถูกสร้างเป็นหนังเรื่อง Hudson Hawk เหตุการณ์ในโลกความเป็นจริงคือก่อนหน้านี้หลายชาตินิยมมาตรฐานเงินมาก่อนที่จะใช้ทองคำ แต่เยอรมันปล่อยแร่เงินสำรองออกมาทำให้เงินเกิดการด้อยค่า และชาติต่างๆ ก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นทองในการทำสำรองในที่สุด
จริงๆ แล้วโซ่ที่ถูกทิ้ง จะถือว่าไม่มีเงินนั้นเคยเกิดขึ้นครับ (ไม่มีใครจำโซ่สายรอง ไม่มีใครสนใจว่าใครเป็นคนคำนวณได้)
เงินที่หายไปจะเกิดจากกุญแจลับของกระเป๋าเงินหาย เช่น คนทำ mining ได้เงินน้อยๆ แล้วลบกระเป๋าเงินทิ้ง เงินนั้นก็จะหายไปตลอดกาล
ตัว block จะประกาศตัวว่าผู้คำนวณได้รับเงินค่าจ้างเท่าใดครับ เป็นค่ารวมของธรรมเนียมที่แต่ละ transaction ประกาศออกมาในเครือข่าย
ณ ตอนที่ผู้ที่คำนวณ block ได้ประกาศ block ที่ตัวเองคำนวณได้ออกมาก็จะประกาศโอนเงินนี้เข้าตัวเองเลย
แต่ถ้ามีคนอื่นคำนวณ block ลำดับเดียวกันได้แล้วชนะ block ที่แพ้ทุกคนก็จะลืม และไม่มีใครรับรู้ว่าคนแพ้ได้รับเงินค่าธรรมเนียม
อ่านแล้วงงๆครับ
เลยไปอ่านเอง แล้วพบว่า ถ้าเกิดเขียนเป็นแบบนี้อาจจะอ่านง่ายขึ้น? มีผิดนิดหน่อยด้วยครับ เลยเรียบเรียงใหม่และแก้ไขให้ครับการยืนยันการโอนแต่ละบล็อคเป็นงานที่ออกแบบให้ยากและยากขึ้นเรื่อยๆ ตามกาลเวลา หลักการคือผู้ที่จะคำนวณค่ายืนยันบล็อคแต่ละอัน จะต้องปรับค่า nonce ที่ใช้เติมในแต่ละบล็อคเพื่อให้แฮชค่าของทั้งบล็อคแล้วได้คุณสมบัติตามที่กำหนด ค่าความยากนี่คือการกำหนด “ค่าสูงสุด” ที่ยอมรับได้ของแฮชของบล็อคนั้นๆ แต่ใน SHA256 นั้นการคาดเดาผลของฟังก์ชั่น และการทำให้ผลลัพธ์ของฟังชั่น มากน้อยตามที่ต้องการเป็นงานที่ยากมาก ทางที่เป็นไปได้คือการไล่ค่า nonce ไปเรื่อยๆ ทีละค่าแล้วคำนวณแฮชใหม่จนกว่าจะได้ค่าตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยโพรโทคอลของ BitCoin จะกำหนดให้ค่าความยากนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกๆ 2016 บล็อค เมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายสามารถคำนวณค่า nonce และแฮชที่ถูกต้องของบล็อคปัจจุบันได้ ก็จะประกาศไปทั่วเครือข่าย การตรวจสอบความถูกต้องนั้นทำได้ง่ายเพราะเป็นเพียงการดูไฟล์บล็อคที่มักมีขนาด 50-200KiB แล้วคำนวณแฮช SHA256 ว่าตรงกับที่ประกาศออกมาหรือไม่ และซอฟต์แวร์จะถูกกำหนดให้รับฟังการประกาศบล็อคล่าสุดเสมอ
ผมเรียบเรียงใหม่เป็น
การยืนยันการโอนเงินของแต่ละบล็อคนั้นเป็นงานที่ออกแบบให้ยากมากขึ้นเรื่อยๆตามกาลเวลา มีหลักการคือจะมีค่าเป้าหมายอยู่ค่าหนึ่ง (อาจถูกเรียกว่าค่าความยาก ปัจจุบันคือ 0x00000000000007A85E0000000000000000000000000000000000000000000000 http://blockexplorer.com/q/hextarget ) ระบบจะทำการรับบล็อคการโอนเงินทันทีที่เราสามารถนำข้อมูลการโอนเงินมาต่อกับค่า nonce แล้วทำการแฮช SHA256 ได้ค่าที่น้อยกว่าค่าเป้าหมาย
เนื่องจากการแฮชนั้นเปรียบเสมือนกับการสับข้อมูลที่มีอยู่ เราไม่สามารถคิดกลับได้ ดังนั้น หากเราอยากได้แฮชที่น้อยกว่าค่าเป้าหมาย เราก็ทำได้โดยเปลี่ยนค่า ค่า nonce ไปเรื่อยๆ และทำการแฮชอีกครั้ง (ค่า nonce คือตัวเลขธรรมดาๆนั่นแหละ ที่ถูกนำไปแฮชพร้อมๆกันมันถูกใส่ไปเพื่อ ทำให้ผลของการแฮชเปลี่ยนไป) เป็นเรื่องของโอกาส เราอาจจะแฮชครั้งเดียวแล้วตรงเลยก็ได้ หรือว่าอาจจะต้องแฮชมันเป็นหลายล้านครั้งก็ได้
ความยากนั้นจะถูกปรับทุกๆ 2016 บล็อค โดยอาจปรับให้ยากขึ้น หรือว่าง่ายลงก็ได้แล้วแต่ตามสมควร (พิจารณาจากข้อกำหนดว่า ควรมีการคิดบล็อคสำเร็จประมาณสิบนาที ดังนั้นถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดจะเปลี่ยนค่าเป้าหมายทุกๆสองสัปดาห์ และปรับแต่ละครั้งไม่มากเกินไป https://en.bitcoin.it/wiki/Target ) ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ว่าการหาค่า nonce และคิดค่าแฮชจะทำได้ยาก แต่ว่าการยืนยันความถูกต้องนั้นง่ายมาก ทำได้โดยการนำค่าบล็อกที่มักมีขนาด 0-200KiB มาแฮชพร้อมกันกับ nonce เพียงครั้งเดียว ก็สามารถยืนยันได้แล้ว
ทฤษฎีว่าถ้ามีใคร (คน กลุ่มคน หรือแม้แต่ mining pool) ที่คุม processing power เกิน 50% ของระบบจะสามารถครอบงำระบบได้ครับ (คิดว่าคงประมาณว่าออก transaction มาเองแล้ว confirm เอาเองได้เพราะสามารถ confirm ได้ไวกว่าระบบที่เหลือ)
จริงๆ ก็มีคนแก้ไขปัญหานี้อยู่นะครับโดยแยกไปเป็นเครือข่าย litecoin ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับ bitcoin เลย (คือ ค่าเงินคนละค่า mining กันคนละแบบ และไม่ได้ใช้สายแฮชโยงกัน) โดย litecoin ใช้ scrypt (คล้ายๆ bcrypt) โดยคุณสมบัติสำคัญของ scrypt คือมันจะกินทั้ง CPU และ Memory ทำให้การสร้างเครื่องเฉพาะทางความเร็วสูงใช้เงินมากขึ้น ขณะที่ bitcoin ใช้ GPU cluster ก็ได้ หรือ FPGA ต่างๆ
ลองใช้ lightweight client ดูครับ ผมใช้ MultiBit อยู่
ตัว lightweight มันมีสองแบบครับ แบบนึงคือฝากชีวิตไว้กับ cloud คือเกาะกับตัวที่มันมี bitcoin chain เต็มๆ จะทำอะไรก็ต้องฝากตัวนั้นทำหมด แต่ถ้าไอ้ตัว chain มันต้มเราก็เปื่อยเลยครับ อีกแบบคือประเภทโหลดไม่สมบูรณ์อย่าง MultiBit มันจะโหลด chain มาเฉพาะของใหม่ๆ และอันไหนไม่เกี่ยวกับเรา มันจะเก็บแค่ header ฉะนั้นจะประหยัดที่มาก
(บน home server ผมมี bitcoin chain อยู่ มันกินที่ 3.4GB ขณะที่ในเครื่องส่วนตัวผมมี MultiBit Blockchain อยู่ มันกินที่ 20MB ผมเปิด MultiBit หลังไม่ได้ sync มาหลายวัน มันโหลดแค่ 895 blocks ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหา)
ทั้งนี้ทั้งนั้นบางคนก็เรียกพวก MultiBit ว่า client เห็นแก่ตัวนะครับตามลักษณะของมัน คือระบบจะอยู่ได้ก็เพราะทุกคนช่วยกันตรวจสอบ ตัว bitcoin แบบปกติก็ยังเป็นที่จำเป็นอยู่ แต่ในอนาคตมันอาจจะมีคนรันลดลงเพราะ blockchain โตขึ้นเรื่อยๆ
จริงๆ มี cloud wallet ด้วยเลยนะครับ คือฝากไว้กับ cloud หมด เกิดมันโกงหรือเจ๊งขึ้นมาเราก็เจ๊งเหมือนกัน
ตัว BitCoin เองมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วน
- การโอน BitCoin ที่น่าเชื่อถือ
- การขุด BitCoin ด้วยการสร้าง Block
ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ทำให้ BitCoin สามารถนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้ คล้าย ๆ กับทองคำ ที่ทุกคนรู้ว่ามันหามาได้ยากและก็นับวันก็จะหาได้น้อยลงเรื่อย ๆ เปรียบเสมือนกับ BitCoin ที่ความยากในการขุดจะมากขึ้น ๆ เป็นแบบ exponential เช่นเดียวกัน และคุณสมบัติอีกเรื่องก็คือการทำรายการโอนที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้
แต่ยังสงสัยนิดหน่อยว่า BitCoin นี้ คนที่รับแลกเป็นเงินสกุลจริง ๆ นั้นจะได้อะไร หรือว่าแค่คน ๆ นั้นเชื่อถือว่าสิ่งที่เรากำลังแลกกับเงินจริงมีความน่าเชื่อถือก็เลยยอมแลกให้แล้วเท่านั้นเอง?
คนรับแลกได้ส่วนต่างครับ
เวลาซื้อ BitCoin แล้วจ่ายดอลลาร์ จะจ่ายถูกกว่าตอนตัวเองขายนิดหน่อย เหมือนบริการรับแลกเงินทั่วโลก ถ้ารับแลกมากพอ คนแลกเข้าๆ ออกๆ เงินก็จะมหาศาล เป็นกำไร
Concept มันคือ เอา BitCoin มาเป็นเงินตรา การที่มันเป็นเงินตรามันต้องหายาก การถ่ายโอนเงินนั้นจำเป็นต้องมีคนคำนวณให้ แต่BitCoin ไม่มี Server แต่ให้ใครก็ได้คำนวณ ซึ่งคนที่คำนวณได้ก็จะได้ BitCoin มา แต่ว่ามันก็ไม่ได้คำนวณได้ง่ายๆ ทำให้ BitCoin กลายเป็นของหายาก
มันเป็นระบบที่ใช้ระบบการเงินที่เป็นลับ ๆ ครับโดยการตรวจสุ่มไม่มีอะไรตายตัวมันจะรันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงมือผู้รับ ถามว่ามันผิดศีลธรรมไหมอันนี้แล้วแต่มุมมองครับ มันมีประโยชน์กับการเงินบางประเภท แต่มันเสียหายถ้าไปพูดถึงเกี่ยวกับการเงินบางประเภทครับ 🙂
ตัวผมเองไม่มี BitCoin นะครับ และยังไม่ได้สำรวจ BitCoin ในเชิงลงทุน (อย่างที่คุณเห็น ตลาดมันเล็ก ก็ผันผวน)
แต่ในเรื่องฟาร์มขุด ผมยังเห็นคนลงฟาร์มใหม่กัน้เรื่อยๆ นะครับ แค่อาจจะไม่เหมาะกับคนทั่วไปแล้ว
ความสามารถของฟาร์มมันดูได้จากค่า Difficulty ที่ยากขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่ามีคนแข่งกันขุดหนักขึ้นเรื่อยๆ
2011 MBP 15″ Top / ATI Radeon HD 6750M (#1) (6 CU, local work size of 256) / DiabloMiner
ผมวัดไฟด้วย OS มันพบว่าการนั่งเล่นเน็ตอ่านเว็บใช้ไฟ ~16 วัตต์ การขุด bitcoin ใช้ไฟ ~46 วัตต์ (เปิดจอขณะขุดด้วย) ฉะนั้นแล้วมันกินไฟขึ้น 30 วัตต์ เดือนนึงก็ 21.6 หน่วย ไฟหน่วยละ 2.7628 บาท (อัตราปกติสำหรับใช้เกิน 150 หน่วย) ก็จะตกที่เดือนนึงเสียค่าไฟเพิ่ม 59.68 บาท
p2pool บอกผมว่าอัตรา 1 share คาดว่าใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง (อาจจะผิดเพราะผมยังไม่เคยได้แชร์จาก p2pool) หนึ่งวันสมมุติว่าได้ 2 share ขณะที่เขียนคอมเมนต์นี้แชร์ต่ำสุดใน p2pool รอบปัจจุบันมีค่า 0.00493259 BTC * 2 = 0.00986518 * 30 = 0.29595540 BTC (ในความจริงการที่เราได้แชร์มากขึ้นไม่ได้แปลว่าเงินที่ได้จะคูณสองเพราะตัวแบ่งก็ย่อมมากขึ้น และคนอื่นก็ขุดไปพร้อมกับเรา ได้แชร์พร้อมกับเราด้วยนะครับ) ราคา MtGox ตอนนี้ $9.17 เท่ากับว่าจะได้เดือนละ 2.71 บาท (ซื้อไฟยังไม่ได้หน่วยเลย ._.)
ระบบทุกวันนี้ถ้าจะเอาจริงจัง อาจจะต้อง “ย้ายบ้าน” เพื่อไปอยู่ในโซนที่ค่าไฟถูก
CPU มันคือคนฉลาดมากๆ รวมกัน 4-8 คนครับ การ์ดจอคือคนโง่ๆ รวมกันเป็นพันคน
bitcoin ใช้การหาแฮช (ผมจำไม่ได้ รู้สึกจะเป็น SHA256) ซึ่งการหาแฮช CPU บางตัวมีคำสั่งพิเศษให้รันได้เร็ว แต่แค่ 4 คนสู้กับพันๆ คนไม่ได้หรอกครับ
ผมใช้ Pentium 4 mine บน p2pool ใช้เวลา 30 นาทีได้ 1 accepted hash ผมใช้ Radeon mine 20 นาทีได้เกือบ 10 share
(มันมีด้วยนะครับว่า ATi แรงกว่า NVIDIA เพราะ NVIDIA ออกแบบมาคิดทศนิยม แต่ ATi รันจำนวนเต็มได้เร็วกว่า และการคิดแฮชนี้ไม่ได้ใช้เลขทศนิยม)
การขุดเกิดขึ้นได้อย่างไร
ผู้คนทั่วโลกกำลังส่งบิทคอยน์หากันผ่านระบบเครือข่ายบล็อกเชนของบิทคอยน์ ถ้าหากไม่มีผู้ที่คอยทำการบันทึกประวัติการส่งบิทคอยน์หากันนั้น ก็จะไม่มีสามารถมีใครรู้ได้ว่าใครเป็นคนส่งใครเป็นคนรับ ระบบเครือข่ายของบิทคอยน์ช่วยจัดการทำสิ่งเหล่านี้โดยการเก็บข้อมูลธุรกรรมการส่งบิทคอยน์ที่ส่งหากันในช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาเหนึ่ง โดยข้อมูลนี้จะถูกว่า “บล็อก” มันเป็นหน้าที่ของเครื่องขุดในการช่วยคอนเฟิร์มการทำธุรกรรมบิทคอยน์ (confirm transaction) และทำการบันทึกลงไปในสมุดบัญชีกลางหรือ general ledger
ปลอดภัยหายห่วงด้วย Hash
สมุดบัญชีกลางนั้นมีหน้าที่คอยเก็บบล็อกที่ยาวเป็นหางว่าว โดยทั้งสองอย่างนี้เมื่อมารวมกันจะเรียกว่า “บล็อกเชน” (blockchain) ซึ่งแปลเป็นไทยก็คือโซ่ของบล็อกที่ต่อยาวเรียงกันไปเรื่อยๆ มันสามารถใช้เก็บบันทึกการส่งบิทคอยน์หากันทุกๆธุรกรรม จาก address หนึ่งสู่อีก address เมื่อไรก็ตามที่บล็อกใหม่ที่ใช้เก็บข้อมูลนั้นถูกสร้างขึ้นมา มันก็จะถูกนำไปใส่เพิ่มในบล็อกเชนที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการส่งบิทคอยน์หากันในเครือข่าย โดยตัวสำเนาของบล็อกที่ถูกอัพเดตแล้วจะสามารถที่จะถูกนำไปแจกจ่ายให้กับทุกๆคนหรือใครก็ได้ที่สนใจ เพื่อที่พวกเขาจะได้รู้ว่ามีการทำธุรกรรมอะไรบ้างเกิดขึ้น
กระนั้น สมุดบัญชีกลางที่ดีจะต้องมีความน่าเชื่อถือสูง และการเก็บข้อมูลทุกอย่างถูกเก็บในรูปแบบของดิจิตอล คำถามคือเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าบล็อกเชนจะไม่สามารถถูกดัดแปลงหรือโกงได้? คำตอบนั้นอยู่ที่ miner หรือนักขุด
เมื่อบล็อกของธุรกรรมบิทคอยน์ถูกสร้างขึ้นมานั้น เครื่องขุดก็จะนำมันมาประมวลผล เครื่องขุดเหล่านั้นจะนำเอาข้อมูลจากบล็อกมาทำการเข้ารหัสสมการทางคณิตศาสตร์ เปลี่ยนให้มันมีรูปแบบอย่างอื่นที่มีขนาดสั้นกว่า โดยลักษณะของมันจะดูเหมือนกับตัวเลขผสมตัวหนังสือแบบสุ่มมั่วๆ สิ่งนี้คือสิ่งที่เรียกว่า hash โดย hash นั้นจะถูกเก็บเข้าไปในบล็อกเชนพร้อมๆกับบล็อกในเวลาเดียวกัน
Hash นั้นมีรูปแบบที่น่าสนใจไม่น้อย มันเป็นเรื่องง่ายที่จะสร้างรหัส hash ออกมาสัก 1 ชุดจากข้อมูลของบล็อกบิทคอยน์ แต่มันเป็นเรื่องที่ยากมากจนถึงขั้นที่เรียกว่าเป็นไปไมได้เลยถ้าคุณต้องการที่จะอ่านข้อมูลของบล็อกนั้นจาก hash และถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ง่ายที่จะสร้าง hash จากข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ แต่ hash แต่ละ hash นั้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ถ้าหากคุณเปลี่ยนข้อมูลของบิทคอยน์บล็อกเพียงแค่ 1 ตัวอักษรละก็ hash นั้นก็จะเปลี่ยนไปแบบทั้งแถบเลย
เครื่องขุดนั้นไม่เพียงแต่ใช้ธุรกรรมจากโอนบิทคอยน์มาสร้าง hash แต่ข้อมูลบางชนิดนั้นก็ถูกใช้ด้วย โดยหนึ่งในข้อมูลที่ว่าคือ hash ของบล็อกตัวสุดท้ายที่ถูกเก็บอยู่ในบล็อกเชน
เนื่องจากว่า hash ในแต่ละบล็อกนั้นถูกสร้างขึ้นมาโดยใช้ hash ของบล็อกก่อนหน้าของมัน 1 บล็อก มันจึงกลายเป็นเปรียบเสมือนตัวซีลจดหมายแบบดิจิตอลที่สามารถ ‘คอนเฟิร์ม’ ว่าบล็อกนี้และบล็อกก่อนหน้านี้ทุกๆบล็อกคือของจริงต้นฉบับ เพราะถ้าหากว่าคุณโกงหรือแอบเข้าไปปรับเปลี่ยน ทุกๆคนก็จะสามารถรู้ได้
ถ้าหากคุณพยายามลองโกงธุรกรรมโดยการเปลี่ยนข้อมูลในบล็อกที่ได้ถูกเก็บแล้วในบล็อกเชน hash ของบล็อกนั้นก็จะถูกเปลี่ยนแปลง ถ้ามีใครคนอื่นเข้ามาตรวจสอบความถูกต้องของบล็กด้วยการรันระบบ hashing นั้น พวกเขาก็จะพบว่า hash นั้นแตกต่างจากตัวก่อนหน้านี้ที่เคยถูกเก็บไว้ในบล็อกเชน และบล็อกนั้นก็จะเป็นที่รู้กันทันทีว่าเป็นของปลอม
เนื่องด้วยการที่ hash ของแต่ละบล็อกนั้นถูกใช้เพื่อช่วยเหลือในการสร้าง hash ขอบล็อกตัวต่อไปในเชน การเข้าไปยุ่งหรือแก้ไขบล็อกที่ถูกเก็บแล้วนั้นอาจจะทำให้ hash ของบล็อกในตอนสุดท้ายออกมาผิดด้วยเช่นกัน และนั่นก็จะทำให้บล็อกในแต่ละบล็อกอื่นๆที่ต่อแถวมาเรื่อยๆผิดทั้งหมดเป็นหางว่าว
ศึกแห่งการต่อสู้เพื่อบิทคอยน์
และนั่นก็คือวิธีที่เครื่องขุดทำการ ‘ซีลปิดบล็อก’ โดยเครื่องขุดพวกนั้นจะทำการแข่งขันกันเองในเครือข่ายและใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อขุดบล็อกโดยเฉพาะ ทุกๆครั้งที่มีคนสามารถสร้าง hash ขึ้นมาได้โดยสมบูรณ์แบบ เขาจะได้รางวัลเป็นบิทคอยน์ 12.5 บิทคอยน์ บล็อกเชนจะถูกอัพเดต และทุกๆคนในเครือข่ายก็จะเห็นถึงการ
เปลี่ยนแปลง สิ่งนี้เป็นกำลังใจให้นักขุดได้ขุดต่อไป อีกทั้งยังช่วยคอนเฟิร์มธุรกรรมให้คนอื่นๆในเวลาเดียวกันด้วย
ปัญหาก็คือ มันเป็นเรื่องที่ง่ายมากที่จะสร้าง hash ขึ้นมาจากข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง เพราะคอมพิวเตอร์นั้นเก่งมากในการทำเรื่องแบบนี้ ดังนั้นระบบเครือข่ายของบิทคอยน์จึงต้องทำให้มันยากมากขึ้น มิฉะนั้นทุกๆคนก็สามารถที่จะทำการ hashing ธุรกรรมเป็นร้อยๆบล็อกภายในเพียงแค่ไม่กี่วินาที และบิทคอยน์ทั้งหมด 21 ล้านบิทคอยน์ก็อาจจะถูกขุดหมดภายในเวลาไม่กี่นาที ดังนั้นกลุ่มนักพัฒนาบิทคอยน์สาธารณะจึงได้ตั้งกฎระเบียบเอาไว้ว่า.ของบิทคอยน์จึงต้องทำให้ระดับความยากมีมากแบบพอสมควร จึงเกิดออกมาเป็นระบบที่เรียกว่า ‘proof of work’ หรือการพิสูจน์ด้วยผลงาน
กลุ่มนักพัฒนาบิทคอยน์สาธารณะของบิทคอยน์นั้นจะไม่ยอมรับ hash เก่าที่ถูกเก็บมาแล้ว มันจะเรียกร้อง hash ของบล็อกใหม่ๆที่ยังไม่ถูกขุดให้มีจำนวนเลขศูนย์ตามที่กำหนดไว้ในส่วนแรกสุดของ hash ดังนั้นจึงไม่สามารถมีใครคาดเดาได้ว่า hash จะออกมามีหน้าตาเป็นแบบไหนก่อนที่ขุดมันออกมาได้เลย โดยเมื่อไรก็ตามที่คุณทำการใส่ข้อมูลใหม่เข้าไปนั้น hash ก็จะเปลี่ยนไปทั้งแถวทันที
เครื่องขุดนั้นโดยปกติแล้วจะไม่เข้าไปยุ่งกับข้อมูลธุรกรรมบนบล็อก แต่มันจะทำการเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้เพื่อสร้าง hash โดยมันทำสิ่งนี้ด้วยการใช้ข้อมูลแบบสุ่มอื่นๆที่เรียกว่า ‘nonce’ โดยข้อมูลนี้ปกติจะถูกใช้กับข้อมูลธุรกรรมในการสร้าง hash โดยถ้าหาก hash นั้นไม่ตรงกับ format ที่ถูกตั้งไว้ nonce ก็จะถูกเปลี่ยน และขั้นตอนการ hashing ก็จะถูกทำขึ้นมาใหม่ โดยขั้นตอนที่ว่านี้จะอาจจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้จบจนกว่าจะหา nonce ที่ใช้งานได้จริงๆ โดยเครื่องขุดทุกเครื่องบนเครือข่ายนั้นก็พยายามที่จะทำการประมวลผลธุรกรรมในเวลาเดียวกัน และนั่นก็คือวิธีที่นักขุดหารายได้
ระบบการขุดบิทคอยน์นั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นระบบที่ยังไม่สมบูรณ์แบบมากนัก กระนั้น มันก็ได้พิสูจน์มาให้เห็นจนเกือบจะทศวรรษแล้วว่าแนวคิดการกระจายแบบไม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบเจ้าของนั้นสามารถที่จะนำพามาซึ่งโลกในอุดมคติหรือโลกไร้เงินสดได้ หวังว่าท่านผู้อ่านคงเข้าใจมากขึ้นว่า ‘การขุด’ คืออะไร รวมถึงบทบาทและความสำคัญของมันในการดำรงอยู่ของบิทคอยน์และสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต