• March 23, 2012

    80/20 หลักการพาเรโต – เคล็ดลับแห่งความสำเร็จ

    “หลักการพาเรโต” ตั้งขึ้นในปี 1895 ตามชื่อผู้สร้างกฎ  ” วิลเฟรโด พาเรโต ”

    ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยน

    กฎดังกล่าวอธิบายถึงสิ่งที่สำคัญหรือมีประโยชน์จะมีอยู่เป็นจำนวนที่น้อยกว่าสิ่งที่ไม่สำคัญ

    หรือไม่มีประโยชน์ซึ่งมีจำนวนที่มากกว่า ในอัตราส่วน 20 ต่อ 80 หรือ ที่เรียกกันว่า

    กฎ 80/20 ของพาเรโตนั่นเอง

    1.ความหมายของกฎ 80/20

    สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20 % ของสิ่งที่ไม่สำคัญอีก 80 % เป็นกฎที่แสดงถึงความไม่สมดุล ที่สามารถพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวันและในระดับมหาภาค เช่น … ข้อผิดพลาดในการผลิต หรือของมีตำหนิผิดพลาดจากการผลิต 20 % นั้น เป็นปัญหา 80% ของปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด เสื้อผ้าทั้งหมดของเรา จะมีตัวเก่งที่เราสวมใส่ประจำอยู่เพียงไม่กี่ตัวหรือเพียง 20 % เท่านั้นเอง 

    หากคุณครูให้จับกลุ่มกันทำรายงานจำนวน 10 คน จะมีเพียง 2-3 คนเท่านั้นที่เป็นแกนนำในการทำการบ้านเกือบทั้งหมด ที่เหลือจะช่วยกันทำเล็กๆน้อยๆเท่านั้น

    หากเราจะอ่านหนังสือสอบ จะมีเนื้อหาเพียง 20 % ในเล่มเท่านั้นที่ออกข้อสอบ แต่ประเด็นสำคัญคือ เนื้อหาส่วนนี้อยู่ที่ไหนของเนื้อหาทั้งหมดภายในเล่ม คนทำงานที่เจริญก้าวหน้า ซึ่งเป็น 20 % ของคนทั้งหมด จะมีลักษณะจดจ่ออยู่กับกิจกรรมที่ไปสู่จุดมุ่งหมายหลักของชีวิต ทำในสิ่งที่ต้องการทำหรือทำให้รู้สึกดี อาจจะทำในสิ่งที่ไม่ต้องการบ้าง แต่ทำเพราะว่ามันเป็นหนทางไปสู่เป้าหมายภาพรวมที่หวังไว้ สามารถหาคนทำในสิ่งที่ไม่อยากทำหรือไม่ถนัดที่จะทำได้ และสุดท้ายคือ มีความสุขที่ได้ทำ  ส่วน 80 %ที่เหลือ จะทำงานอยู่กับสิ่งที่คนอื่นต้องการให้ทำ แต่ตัวเองไม่ได้มีส่วนลงทุนอะไรตรงนั้น

    ทำงานในงานที่ต้องการอย่างเร่งด่วนบ่อยๆ ใช้เวลาไปกับงานที่ไม่ถนัดเสียมากการทำงานใช้เวลามากกว่าที่คิด และรวมไปถึงการที่พบว่า ตัวเองบ่นเรื่องงานอยู่ตลอดเวลาสังเกตหรือไม่ว่าในร้าน 7-11 มีสินค้าเป็นจำนวนมากหลายพันรายการ รายได้กว่า 80 % มาจากรายการสินค้าเพียง 20 % จากรายการสินค้าทั้งหมดที่วางขายอยู่ในร้านคงสงสัยว่าทำไม  ไม่ขายเฉพาะสินค้าที่ขายดีเท่านั้น คำตอบก็คือ ร้านค้าจำเป็นที่จะต้องมีสินค้าที่หลากหลายเพราะว่าผู้บริโภคนั้นมีความต้องการที่มีความแตกต่างกันนั่นเอง

     2.การนำกฎ 80/20ไปใช้ในการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    หากเราพบว่า สิ่งไหนให้ประโยชน์สูง ก็ควรเน้นส่งเสริมสิ่งนั้น หรือในทางตรงกันข้ามกันให้เพิ่มประสิทธิผล ของสิ่งจำนวนมากที่เหลือให้ขยายรากฐานกว้างขึ้น เช่นการมุ่งเน้นส่งเสริมเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เข้มแข็ง

    3.การนำกฎ 80/20ไปใช้อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม

    คนรวยจำนวน 20 %ของคนทั้งประเทศและมีทรัพย์สินหรือก่อให้เกิด GDP รวมกันคิดเป็น  80 % ของทรัพย์สินหรือรายได้มวลรวมประชาชาติของคนทั้งประเทศ …แต่ ถ้าเรายึดหลักเศรษฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว(ไม่มีคุณธรรม,จริยธรรม) ไปให้ความ

    สำคัญและสนับสนุนธุรกิจของคนรวยเพียงอย่างเดียว ผลลัพธ์ จะออกมาเป็นตัวอย่างและบทเรียนอย่างที่เราเคยเห็นในวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ความเสียหายมากกว่า 80 % จึงมีสาเหตุมาจากสาเหตุจากกลุ่ม 20 % เท่านั้น

    รายได้ส่วนใหญ่ 80 %มาจากลูกค้าประจำ และอีก 20 % มาจากลูกค้าใหม่ ซึ่งเราจะให้ความสนใจกับลูกค้าเก่า หรือลูกค้าใหม่เพียงอย่างเดียวไม่ได้

    ดังนั้นเราต้องรักษาลูกค้าประจำ และทำให้ลูกค้าใหม่กลายเป็นลูกค้าประจำให้ได้ ลูกค้าเพียง 20 %จะสร้างรายได้ให้กับบริษัทถึง 80 % ของรายได้รวมทั้งหมด 80 %ของยอดขายมาจาก 20 %ของพนักงานขายที่มีประสิทธิภาพ หรือในทางกลับกัน พนักงาน 80 % สร้างผลผลิตให้บริษัทได้เพียง 20 %

    4.การนำกฎ 80/20ไปใช้ในการบริหารชีวิตและเวลา

    หากทำบัญชีรายจ่ายส่วนตัวของเรา จะพบว่ารายจ่ายส่วนใหญ่ 80 % จะอยู่ในกลุ่มรายการ ข้อรายจ่ายเพียง 20 % ของรายการทั้งหมด กลุ่มรายการเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นรายการ ที่รับประทานไม่ได้ หากรับประทานไปก็จะเป็นโทษต่อร่างกาย เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, บุหรี่,ค่ามือถือคุยไร้สาระ ค่าเสื้อผ้า คนส่วนใหญ่หลงคิดไปว่าใช้เงินสำหรับซื้อความสุข ซึ่งความสุขที่ได้ซื้อมานั้น จะสุขแบบชั่วครั้งชั่วคราว สุกๆดิบๆ ไม่สุขจริง และเมื่อหมดสุข ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อซื้อหาความสุขใหม่เปรียบได้กับการเป็นทาสของกิเลสตัณหามีความสุขจอมปลอมเป็นสารเสพติด บังคับให้ผู้เสพต้องดิ้นรนไขว่คว้าเงินตราไปซื้อหา อย่างไม่สิ้นสุดดังนั้นหากควบคุมรายการรายจ่ายจำนวน 20 % นี้ได้ ด้วยการชนะใจตนเอง จะทำให้ลดรายจ่ายส่วนมากที่มีปริมาณถึง 80 % เราควรให้ความสำคัญของการใช้เวลาในการทำงานประจำวันของเราว่า เวลา 80 % ที่คุณใช้ไป ให้คุณค่าหรือผลงาน 20 %ที่มีคุณภาพที่สุดออกมาหรือยังงานแต่ละอย่างอาจใช้เวลาเท่ากันในการทำให้สำเร็จ แต่จะมีอยู่ 1 – 2 งาน เท่านั้น ที่จะให้คุณค่ามากเป็น 5 เท่า หรือ 10 เท่าของงานอื่น หากคุณเป็นคนผลัดวันประกันพรุ่งในงาน1-2 ชิ้นนั้น คุณก็จะกลายเป็นคนที่ยุ่งตลอดวัน โดยทำงานได้สำเร็จน้อยมาก คุณกำลังทำงานที่มีคุณค่าต่ำ และผัดวันประกันพรุ่งในงานสำคัญอยู่หรือเปล่า ใช่แล้ว…..งานสำคัญของคุณคือ การสะสมทรัพย์ภายใน หาใช่ทรัพย์ภายนอกไม่

    5.กฎ 80/20 เศรษฐจริยธรรม
    ทุกคนก็รู้อยู่แก่ใจว่า ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย ทรัพย์สินเงินทองทั้งหลาย ตายไปก็เอาไปไม่ได้ แต่เรากลับใช้เวลาทั้งชีวิตของเรามากกว่า 80 %ไปทุ่มเทให้กับสมบัตินอกตัว โลภในสิ่งที่ว่างเปล่า และวัตถุนิยมเข้าครอบงำจิตใจ สังคมเราบ้านเมืองเราจึงเข้าขั้นวิกฤติอย่างที่เห็น

    5.1 หลักการของเศรษฐจริยธรรม

    80 % ของกำไรทั้งหมด จะถูกนำไปใช้เพื่อสังคมและส่วนรวม 20 % ของกำไรที่เหลือจึงค่อยเป็นรางวัลให้กับตนเอง
    80 % จะแบ่งเป็น 40+40
    40 แรก เพื่อการลงทุนเพิ่มในกิจการหรือธุรกิจ
    40 ที่เหลือ หากเป็นธุรกิจ SME 15 % จะเป็นภาษีที่ต้องจ่าย ที่เหลืออีก 25 % จะเป็นเงินบริจาคเพื่อการกุศลและสาธารณะประโยชน์
    80 = 40+(25+15) [ลงทุนในกิจการ+(ตอบแทนสังคม+เสียภาษี)]
    20 = ส่วนตัว (เข้ากับหลักการเศรษฐกิจพอเพียง)

    ส่วนของ 40 % ที่เป็นการลงทุนในกิจการหรือองค์กร เปรียบเสมือนการทำเพื่อสังคมและส่วนรวมทางอ้อมอย่างหนึ่งหากภายใน 1เดือน ธุรกิจของเรามีกำไร 1 แสนบาท เราก็จะได้ใช้เพื่อส่วนตัว 2 หมื่นบาทและเพื่อการลงทุนเพิ่ม หรือปรับปรุงพัฒนากิจการ 4หมื่นบาท ส่วน 4 หมื่นบาทที่เหลือจะเป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย และตอบแทนกลับคืนสู่สังคม

    5.2 การประยุกต์ใช้เศรษฐจริยธรรม กับหลักเศรษฐกิจพอเพียง

    เศรษฐกิจพอเพียง คือการนำหลักธรรมะข้อ เดินสายกลาง มาประยุกต์ใช้กับชีวิตพอเพียง พอดี คือหลักธรรมข้อ เดินสายกลาง เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วด้วยปัญญาผสมผสาน พัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของตน ใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิต ไม่ตกเป็นเหยื่อโฆษณา ไม่เป็นทาสทางวัตถุ ไม่ตามกระแส ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยไม่ประมาท ไม่สร้างหนี้สิน สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ เป็นการพัฒนาแล้วที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

    หากทุกธุรกิจใช้กฎ 80/20 แม้จำนวนเพียงไม่ถึง 20 % ต่างมีจิตสำนึกที่จะใช้หลักเศรษฐจริยธรรมนี้ ประเทศชาติจะเจริญรุ่งเรืองแบบก้าวกระโดดมากกว่า 80 % แน่นอนชาติไทย จะกลายเป็นประเทศที่มี GHP(Gross Happiness Product)และ GNP(Gross National Happiness) ความสุขมวลรวมประชาชาติสูงที่สุดและเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งด้านจิตใจและวัตถุที่แท้จริง

    6.ตัวอย่างของเศรษฐจริยธรรม

    คนที่รวยที่สุดในโลกอย่างบิลเกต Bill Gate แห่งไมโครซอฟท์ นอกจากเงินทุกเหรียญจะได้มาอย่างบริสุทธิ์ และเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ในแต่ละปีเขายังบริจาคช่วยสังคม อย่างไม่ขาดสาย ล่าสุดยังประกาศว่าจะเพิ่มเงินบริจาคผ่านมูลนิธิตัวเองจากเดิมปีละ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 900 ล้านเหรียญ หรือเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 3 เท่าตัว ที่สำคัญ เขายังออกมาประกาศไว้ว่า หากเขาเสียชีวิต ทรัพย์สินเกือบทั้งหมดของเขาจะถูกนำไปบริจาค เพื่อมูลนิธิและการกุศล เหลือเงินเพียงนิดหน่อยพอสมฐานะเท่านั้นที่ให้กับทายาท นี่คือเศรษฐจริยธรรมที่แท้จริง….

    แนวคิดในเรื่องของ 80/20 นั้น ดูเหมือนจะเป็นหลักสากลที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมากแต่ก็ยังเจอที่เข้าใจผิดกันบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลข 80 และ 20 ที่พอนำมาตั้งเป็นกฎแล้ว มักจะไปยึดติดกับตัวเลขสองตัวเลขนี้ ทำให้ในสถานการณ์ต่างๆ พยายามหาเจ้าตัว 80 % และะ 20 % ให้ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในสถานการณ์ต่างๆ
    ตัวเลขไม่จำเป็นต้องเป็น 80 และ 20 ก็ได้ เช่น 80 % ของผลสำเร็จที่เกิดขึ้น มาจาก 10 % ของความพยายาม (ซึ่งก็จะกลายเป็นกฎ 80/10 ไป) หรืออาจจะเป็น 90/10  ก็ได้ ดังนั้น เวลานำกฎนี้ไปใช้ ไม่ต้องการให้ไปยึดติดที่ตัวเลขทั้งสองตัว และไม่จำเป็นที่จะต้องรวมกันแล้วเท่ากับร้อย เพียงแต่กฎนี้เป็นแนวทางหรือกรอบให้คิดได้มากกว่า

     วิลเฟรโด พาเรโต

    เราสามารถใช้กฎ 80/20 อธิบายได้ในแทบจะทุกสิ่ง

    20 สิ่งที่ทำให้เวลาสูญเปล่า

    1. บริหารงานตามวิกฤต
    2. การโทรศัพท์
    3. วางแผนน้อยเกินไป
    4. ไม่จัดระเบียบเรื่องส่วนตัว
    5. หน้าที่ซ้ำซ้อน
    6. ไม่กล้าพูดคำว่า “ ไม่ ”
    7. การประชุม
    8. ผลจากงานที่ยังไม่สำเร็จ
    9. การเข้าสังคม
    10. การสื่อสารที่ไม่ดี
    11. ใช้ความพยายามมากเกินไป
    12. มีผู้มาพบโดยไม่ได้นัดหมาย
    13. มอบหมายงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
    14. ขาดวินัย
    15. ผัดวันประกันพรุ่ง
    16. งานเอกสาร
    17. ทรัพยากรไม่เพียงพอ
    18. สับสนในความรับผิดชอบ
    19. ขาดการควบคุม

    20. ข้อมูลไม่สมบูรณ์

    หลัก 80/20 หรือที่รู้โดยทั่วๆไปคือ กฎ 80/20 หรือกฎของพาเรโต สามารถนำไปใช้ได้ในหลายๆเหตุการณ์ “ผลลัพท์ 80% โดยประมาณ มาจากเหตุ 20%”

    หลักการของ พาเรโต้ หรือ Pareto Principle นั้น ถูกค้นพบโดยนาย Pareto นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียน  เขาค้นพบกฎนี้โดยบังเอิญจากการสำรวจรายได้ของประชากรซึ่งเขาพบว่า คนที่ทำรายได้สูงสุดจำนวนเพียง 20% สามารถสร้างรายได้ถึง 80% ในขณะที่คนที่เหลือ 80% มีรายได้รวมกันเพียง 20% ของระบบเศรษฐกิจทั้งหมด  หลังจากนั้น  เขาก็พบว่า  ปรากฏการณ์ 20/80 นี้ เกิดขึ้นในเรื่องอื่น ๆ  อีกมากมายจนกลายเป็นกฎที่สามารถนำไปพยากรณ์เหตุการณ์อื่น ๆ  ได้มากมาย  แต่กฎนี้เพิ่งจะโด่งดังจริง ๆ ก็ตอนมีการนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการผลิตทางอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นซึ่งชี้ ให้เห็นว่า  ถ้าปรับปรุงงานสำคัญที่สุดเพียงไม่กี่อย่างหรือ 10-20% ก็จะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมหาศาลหรืออาจจะได้ถึง 80-90%  เพราะฉะนั้น  การเลือกปรับปรุงงานสำคัญ ๆ  จะให้ผลตอบแทนที่สูงมาก

    ผมชอบใช้หลักนี้ครับ โดยเฉพาะเวลาที่ผมคิดอะไรเพลินๆแล้วต้องหาความสัมพันธ์ของสิ่งสองสิ่ง แต่เราไม่มีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงประกอบในระหว่างกระบานการคิดนั้นๆ ผมก็จะประเมินเอาหรือคาดคะเนจากหลัก 80/20 นี่ล่ะ มันช่วยให้กรอบการคิดสมบูรณ์มากขึ้น ไม่จำเป็นต้อง 80/20 เสมอไป อาจจะเป็น 80/10 หรือ 90/10 ก็ได้โดยไม่ต้องรวมกันได้ 100 ครับ

    เช่นล่าสุดผมนำไปใช้ประกอบกับการคิดสถานะการณ์เรื่องการเมืองในปัจจุบัน หลักๆตอนนี้ก็มีสองกลุ่มสีหลักที่มีความคิดต่าง ขอไม่เขียนมากครับ แค่อยากบอกให้ทราบว่าอย่างน้อยปริมาณผู้สนับสนุนหรือผู้มีแนวคิดโน้มเอียง เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ต้องเข้าข่ายกฎ 80/20 นี่แหละ สิ่งที่น่าสนใจที่ทำให้คิดต่อคือ ส่วนใหญ่นั้นคือสีไหน แล้วสิ่งกระทบตามมานั้นจะเป็นอย่างไร (น่ากลัวครับ)

    ท้ายสุด สองสามปีมาแล้วเห็นจะได้ ผมได้อ่านบทความหนึ่งในอินเทอร์เน็ทนี่แหละ (ไม่สามารถกลับไปหามาอ้างอิงได้) ว่ากฎ 80/20 ไม่สามารถนำไปใช้กับการขายของใน E-bay ได้

    ทฤษฎี The Long Tail เป็นทฤษฎีที่สนับสนุนการประสบความสำเร็จในธุรกิจ E-Commerce โดยคริส แอนเดอร์สัน เป็นกฎตรงข้ามกับกฎของพาเรโต หรือ กฎ 80/20 และด้วยการท้าทายว่า “ยอดขายของบรรดา สินค้าที่ขายไม่ดี เมื่อรวมกันแล้วอาจจะสูงกว่ายอดขายของ สินค้าขายดี ก็ได้” กฎลองเทลตั้งข้อสังเกตว่าการให้ความสำคัญกับลูกค้าชั้นดี 20% ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด แต่ว่าทำไมต้องตัดลูกค้าธรรมดาจำนวน 80% ทิ้งออกไปด้วย กลยุทธ์หลักของการตลาดลองเทล คือ การไม่เจาะจงกลุ่มลูกค้า นั่นคือต้องการได้ลูกค้าทั้ง 100% โดยใช้ระบบเป็นผู้รับเรื่อง ทำให้สามารถตอบสนองได้ทุกเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่ตลาดเฉพาะ (Niche Market) ที่เล็กที่สุดที่อยู่ในส่วนหางที่ยาวออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดได้อย่างมี ประสิทธิภาพและครอบคลุมทั้งหมด

    กล่าวคือเพียงเรามีสินค้าที่คนส่วนใหญ่ไม่ต้องการ แต่เราก็ยังสามารถที่อาจจะขายได้ เช่นผมมีกางเกงมวยไทยขายในอีเบย์เป็นต้น



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized