• August 19, 2017

    17 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ Hard Disk

    มีความเชื่อ ต่างๆ นานาเกี่ยวกับ HDD.และการใช้งาน HDD.ซึ่งเป็นความเชื่อบางอย่างที่มันเป็นความเชื่อ
    ที่ผิดๆ และทำให้เราไม่สามารถใช้งาน HDD. ได้อย่างเต็มที่ เรามาดูกันว่าความเชี่อเหล่านั้นมีอะไรบ้าง และข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

    ความ เชื่อที่ 1 :
    การฟอร์แมต HDD.บ่อยๆ อาจทำให้อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง

    ข้อ เท็จจริง : การฟอร์แมต HDD.ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของ HDD.แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่หลายๆ คนจะคิดว่ามีส่วนทำให้อายุการใช้งานสั้นลง แต่จริงๆ แล้ว เป็นความเชื่อที่ผิดๆ เท่านั้น
    การฟอร์แมต HDD. ไม่ถือเป็นการทำงานที่จะทำให้ HDD.ต้องแบกรับภาะหนัก หัวอ่านของ HDD.จะไม่มีการสัมผัสกับแผ่นจานข้อมูลแต่อย่างใด (Platter) ระหว่างการฟอร์แมต
    สรุปแล้วก็คือ เราสามารถฟอร์แมต HDD. 30 ครั้งต่อวัน ทุกวันเลยก็ได้ อายุการใช้งานมันก็จะไม่ต่างจากจาก HDD. อื่นๆ เลย

    ความ เชื่อที่ 2 :
    การฟอร์แมต HDD.จะทำให้มีข้อมูล หรือปฎิกรณ์ ;อะไรสักอย่าง
    วางซ้อนเพิ่มบนแผ่นดิสก์ ซึ่งมีผลทำให้เกิด;bad sector ได้

    ข้อ เท็จจริง : การฟอร์แมตจะไม่ทำให้เกิดข้อมูล หรืออะไรทั้งนั้นที่แผ่น HDD. เนื่องจาก HDD.เป็นระบบปิด ดั้งนั้นฝุ่นหรือปฏิกรณ์จะ ยากที่จะเข้าไปยังดิสก์ได้ และแม้จะมีฝุ่นก็ตามแต่ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ฝุ่นจะต้องมากับการฟอร์แมต

    ความ เชื่อที่ 3 :
    การฟอร์แมต HDD. จะมีความเค้นต่อเข็มหัวอ่าน (head actuator) สูง

    ข้อ เท็จจริง : การฟอร์แมตมีการอ่านในแต่ละเซ็กเตอร์อย่างต่อเนื่อง และเป็นลำดับชั้น เช่น เซ็กเตอร์ที่ 500 เซ็กเตอร์ที่ 501 เซ็กเตอร์ที่ 502 และต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ทำให้มีการเคลื่อนตัวของเข็มหัวอ่านน้อยมาก ดังนั้น ข้อเท็จจริงของความเชื่อนี้ก็คือ การฟอร์แมตจะไม่มีความเค้นสูงต่อเข็มหัวอ่าน HDD.

    ความเชื่อที่ 4 :
    การดีแฟรกเมนต์ (defragmenting) HDD.จะมีความเค้นที่หัวอ่านสูง

    ข้อ เท็จจริง : ข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องจริง เพราะการดีแฟรกเมนต์ต้องอาศัยการควานหาตำแหน่งของเซ็กเตอร์อย่างสูง เนื่องจากการดีแฟรกเมนต์ก็คือการจัดระเบียบเซ็กเตอร์ต่างๆ เพื่อไม่ให้หัวอ่านต้องทำงานหนักเวลาที่ใช้หาข้อมูลในการใช้งานจริง
    ดัง นั้น แม้ในกระบวนการดีแฟร็กเมนต์ จะทำให้เข็มหัวอ่านมีความเค้นสูงก็ตาม แต่หลังจากที่ได้ทำการดีแฟรกเมนต์แล้ว เข็มหัวอ่านก็ไม่ต้องทำงานหนัก เหมือนก่อนที่จะทำการดีแฟรกเมนต์ เพราะจะหาเซ็กเตอร์ได้เร็วขึ้น สะดวกขึ้น

    ความ เชื่อที่ 5 :
    ถ้า HDD.ของคุณมี bad sector อยู่แล้ว การฟอร์แมต HDD.จะยิ่งทำให้
    เกิดเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้น

    ข้อเท็จจริง : ถ้า HDD. ของคุณมีเซ็กเตอร์เสียอยู่แล้ว แน่นอนว่าเมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ จะต้องพบเซ็กเอตอร์เสียเพื่มขึ้นเรื่อยๆ
    การ ฟอร์แมตแล้วเห็นเซ็กเตอร์ เสียเพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุไม่ได้เป็นเพราะการฟอร์แมต เพียงแต่ว่าการฟอร์แมตจะทำให้เราได้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นนั่นเอง เพราะยูทิลิตี้สำหรับทำการฟอร์แมตนั้น จะสแกนและตรวจสอบ HDD.ด้วย ทำให้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา

    ความเชื่อที่ 6 :
    การ ดาวน์โหลดโปรแกรมและไฟล์ต่างๆ จากอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก จะทำให้
    อายุการ ใช้งานของ HDD.สั้นลง

    ข้อ เท็จจริง : การดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตไม่ทำให้อายุการใช้งานของ HDD.ลดน้อยลงไป HDD.จะมีการหมุนอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะมีการดาวน์โหลดไฟล์ หรือว่าไม่ได้ทำอะไรเลยก็ตาม ดังนี้โอกาสที่จะเสียขณะทำการดาวน์โหลด กับขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์ไว้เฉยๆ ก็มีเท่ากัน อายุการใช้งานท่าเดิม

    ความ เชื่อที่ 7 :
    พลังงาน (กระแสไฟ) ที่ไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย

    ข้อ เท็จจริง : กระแสไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ กับกระแสไฟฟ้าถูกตัดทันทีทันใด จะไม่ก่อให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย เพราะในช่วงที่กระแสไฟไม่เพียงพอ หรือมีการตัดกระแสไฟนั้น เข็มหัวอ่านจะพักตัวโดยอัตโนมัติเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อแผ่นดิสก์ ดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะมีการสร้างเซ็กเตอร์เสียได้ ที่เสียหายก็อาจเป็นความเสียหายของ OS.มากกว่า

    ความเชื่อที่ 8 :
    ระบบ กำลังไฟ หรือระบบสำรองไฟที่มีราคาถูก และไม่มีคุณภาพ อาจจะบั่นทอน
    อายุ การใช้งานของ HDD.เรื่อย ๆ และทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้า ๆ

    ข้อ เท็จ จริง : ระบบกำลังไฟหรือระบบสำรองไฟที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน จะไม่ทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้าๆ แต่หากระบบไม่สามารถควบคุมกระแสไฟได้ จนทำให้กระแสไฟฟ้าปริมาณมากไหลทะลักสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
    อาจทำให้ HDD.ตายในทันที ไม่ใช่ตายลงอย่างช้า ๆ
    แต่ ถ้าไม่สามารถให้กระแสไฟเพียง พอแก่การทำงานได้ ดิสก์ก็แค่มาสามารถทำงานได้เต็มที่ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ หรืออาจไม่ทำงานเลย แต่ HDD.จะไม่ ตาย แต่ OS อาจตายหรือ พิการ

    ความเชื่อที่ 9 :
    ถ้า HDD. มีการหมุนความเร็วของดิสก์แบบขึ้นๆ ลงๆ นั่นเป็นเพราะว่า
    ระบบสำรองไฟใน บางครั้งสามารถส่งกระแสไปที่พอสำหรับการทำงานได้
    มันจึงหมุนเร็วขึ้น แต่เมื่อมันไม่สามารถให้กระแสไฟที่เพียงพอได้ มันจึง
    หมุนช้าลง

    ข้อ เท็จจริง : ในกรณีที่กำลังไฟตกฮวบ มันจะทำให้ระบบทั้งหมดถูกตัดไฟ ชะงักการทำงาน และจะทำให้เครื่องแฮงก์ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่มีการหมุนของ HDD.ให้เห็นอย่างแน่นอน
    หมุนเร็วขึ้นหมุนลดลงนั้น เป็นการการปกติของ HDD. ที่จะทำการวัดขนาดของดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเตรียมความพร้อมในการใช้งานแต่ละครั้ง

    ความ เชื่อที่ 10 :
    เสียงคลิกที่ได้ยินจาก HDD. เกิดจากการพักการทำงานของหัวอ่าน

    ข้อ เท็จจริง : เสียงคลิกที่ได้ยินจากการทำงานของ HDD. อาจเป็นได้ทั้งเสียงการเตรียมพร้อมที่จะเขียนข้อมูล (เหมือนอย่างในความเชื่อที่ 9) หรืออาจเป็นเสียงการสะดุดของหัวอ่านบนแผ่น HDD.

    ความเชื่อที่ 11 :
    เข็มหัวอ่านใช้มอเตอร์ในการทำงาน ซึ่งการทำงานของมอเตอร์นี้
    อาจล้มได้หากมีการใช้งานมากเกินไป

    ข้อ เท็จจริง : เข็มหัวอ่านในปัจจุบัน ไม่มีการใช้มอเตอร์ในการทำงานแต่อย่างใด ดังนั้น ก็ไม่มีมอเตอร์ที่จะล้มเหลวเมื่อมีการใช้งานมากเกินไป
    สมัยก่อน นั้น เข็มหัวอ่านเคยใช้มอเตอร์เดินไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แต่ปัจจุบัน เข็มหัวอ่านใช้ระบบ Voice Call Mechanism ซึ่งก็คือการใช้แรงแม่เหล็กไฟฟ้าในการเคลื่อนหัวอ่านไปตามตำแหน่งที่ต้องการ

    ความเชื่อที่ 12 :
    การจอดพักของหัวอ่าน ทำให้มอเตอร์เข็มหัวอ่านเสื่อมเร็ว

    ข้อ เท็จจริง : ก็เหมือนกับความเชื่อข้อที่ 11 นั่นคือไม่มีมอเตอร์ นอกจากนี้การจอดพักการทำงานของหัวอ่าน HDD. นั้นจะมีขึ้นโดยอัตโนมัติในกรณีที่กระแสไฟถูกตัด หรือ HDD. หยุดการทำงาน ดังนั้นการจอดพักนี้ ไม่ใช่กระบวนการที่มีการทำงานบ่อย หรือที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง
    เข็มหัวอ่านจะมีสปริงคอยควบคุมตำแหน่ง ของมัน เมื่อมีกระแสไฟเข็มหัวอ่านก็จะอยู่ในตำแหน่งที่มีการต้านแรงของสปริง และเมื่อไม่มีกระแสไฟ เข็มหัวอ่านก็จะถูกดันให้อยู่ในตำแหน่งจอดพัก ดังนั้น แม้ว่าเข็มหัวอ่านจะมีมอเตอร์ลี้ลับนี้จริง การจอดพักของเข็มหัวอ่านก็จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้มอเตอร์ดังว่ามี การ
    เสื่อมแต่อย่างใด

    ความเชื่อที่ 13 :
    ดิสก์จะมีการหมุน เร็วขึ้นเวลาที่มีการอ่านหรือเขียนข้อมูลเท่านั้น
    แต่จะหมุนลดลงเมื่อ HDD .ไม่มีกิจกรรม (idle)

    ข้อ เท็จจริง : แผ่นดิสก์ภายใน HDD. หรือที่เรียกว่า platter นั้นมีการหมุนในความเร็วระดับเดียวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการ อ่าน เขียน หรือ พัก (idle) ยกเว้นแต่เจ้าของเครื่องใช้คำสั่งให้มีการหมุนลดลงในช่วง idle เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน

    ความเชื่อที่ 14 :
    การหมุนลดลงจะทำ ให้ลดความเค้นที่มอเตอร์ขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ได้

    ข้อ เท็จจริง : โดยปกติแล้วแผ่นดิสก์จะเริ่มหมุนตอนเครื่อง startup และจะหมุนอยู่อย่างนั้นจน shutdown ในช่วงที่มีการหมุนอยู่นั้น ถือเป็นช่วงที่มีความเค้นสูงสุดต่อตัวมอเตอร์แล้ว ส่วนการรักษาความเร็วของการหมุนให้คงที่นั้น จะใช้กำลังน้อยลงมา
    หากมี การใช้คำสั่งให้แผ่นดิสก์หมุนลดลงในช่วง idle นั้น ทุกครั้งที่มีการเขียน หรืออ่านไฟล์ใด ๆ ก็จะต้องมีการหมุนเพื่อให้เร็วขึ้นเพื่อให้ได้ความเร็วปกติ ก่อนที่จะอ่านหรือเขียนได้ ดังนั้น ควรที่จะให้ดิสก์มีการหมุนที่ความเร็วคงที่ตลอด เพื่อลดความเค้นที่ตัวมอเตอร์

    ความเชื่อที่ 15 :
    การตัดกระแสไฟ อย่างทันทีทันใดอาจทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย

    ข้อ เท็จจริง : เซ็กเตอร์เสีย หรือ bad sector นั้น ไม่ได้เกิดจากการปิดหรือการดับเครื่องอย่างทันทีทันใด แต่เมื่อสมัยก่อนนานมาแล้ว ก่อนปิดเครื่องทุกครั้ง ผู้ใช้จะต้องพักจอดหัวอ่าน HDD.ก่อนที่จะสามารถปิดเครื่องได้ แต่ปัจจุบัน ระบบหัวอ่านแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะทำการจอดพักตัวเองโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่กระแสไฟฟ้าถูกตัดจากระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เกิดความเสี่ยงว่าจะเกิด bad sector จากกรณีการตัดกระแสไฟ

    ความเชื่อที่ 16 :
    เซ็กเตอร์เสียบางอัน เป็นเซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ (คือเป็นที่ซอฟต์แวร์ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์)
    และ สามารถแก้ไขได้โดยการทำฟอร์แมต HDD.

    ข้อ เท็จจริง : เซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ไม่มีอยู่จริง เซ็กเตอร์ที่เสียนั้น คือเซ็กเตอร์(หรือช่องอันเป็นส่วนหนึ่งของดิสก์สำหรับการเก็บข้อมูล) ที่ไม่สามารถทำการอ่านหรือเขียนได้ เนื่องจากมีการเสียหารทางกายภาพ เช่น ถูกทำลาย หรือทีการเสื่อมลง ดังนั้น จึงไม่สามารถซ่อมแซมด้วยกระบวนการทางด้านซอฟต์แวร์ได้

    ความเชื่อที่ 17 :
    เซ็กเตอร์เสีย สามารถถูกลบได้โดยการฟอร์แมต HDD.

    ข้อ เท็จ จริง : การฟอร์แมตในระดับต่ำ จะสามารถทดแทนเช็กเตอร์เสียด้วยเซ็กเตอร์ดีได้ โดยอาศัยพพื้นที่ว่างสำรองบน HDD. อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของ HDD. ก็จะลดลงเนื่องจากหัวอ่านจะต้องทำการค้นหาพื้นที่สำรองบน HDD.ด้วย อีกทั้งพื้นที่สำรองบน HDD.นั้นมีจำนวนจำกัด ?
    สรุปแล้ว bad sector ก็คือ สัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องบางอย่างของ HDD. แม้ bad sector นั้นจะเกิดจากการชนของหัวอ่าน (crash) เพียงครั้งเดียว แต่ซากที่เหลือจากการชนครั้งนั้น รวมทั้งหัวอ่านที่อาจได้รับความเสียหาย อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อไปในอนาคตได้ เช่น อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นดิสก์เพิ่มมากขึ้น หรืออาจทำให้ความเร็วในการหมุน หรือการอ่านลดลง

    ดังนั้น ถ้ามีข้อมูลที่สำคัญที่ต้องการเก็บรักษาไว้อย่างมั่นคง ควรหัดทำการแบ็คอัพข้อมูล และเปลี่ยน HDD.เมื่อพบว่ามีปัญหาบางอย่าง เช่น การค้นพบ bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่า HDD.จะสามารถทำงานได้ต่อไป และนานๆครั้งจะพบว่าเกิด bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือสัญญาณบอกว่า HDD. ของคุณมันใกล้ตายแล้วครับ



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories