การไล่คนดีมีฝีมือให้ตีตัวออกห่าง เป็นการขัดขวางไม่ให้คนมีความสามารถได้แสดงฝีมือ เมื่อไม่สามารถรักษาคนดีมีฝีมือเอาไว้ได้ย่อมทำให้อาณาจักรตกต่ำ “ผู้นำ” จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะรักษาบุคคลที่มีศักยภาพเหล่านี้ไว้
ขงเบ้งได้เขียนถึงเรื่อง ความทุกข์ของผู้มีสติปัญญา เอาไว้ในคัมภีร์เจี้ยงย่วน อธิบายถึงลักษณะนิสัยผู้นำที่ดี ต้องมีความเข้มแข็งทั้งห้า และหลีกเลี่ยงความเลวร้ายทั้งแปด จึงจะรักษาคนดี มีฝีมือเอาไว้ได้ โดยมีใจความว่า
อันแม่ทัพจะมีความเข้มแข็งห้า และ ความเลวร้ายแปด
เข้มแข็งห้า(ประการแห่งแม่ทัพ)
- มีเกียรติอันสูงส่งจะสามารถเป็น “แบบอย่าง”
- มีความกตัญญูรักพี่น้องจะมี “กิตติศัพท์”
- มีสัจจะคุณธรรมจะมี “มิตรสหาย”
- มีการไตร่ตรองสุขุมจะเป็นที่ “ยอมรับของมหาชน”
- มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติจะมี “ผลงาน”
ความเลวร้ายแปด(ประการของแม่ทัพ)
- มีการวางแผนแต่ “มิอาจรู้ข้อดีเสีย”
- มีจริยาแต่ “มิอาจใช้ปราชญ์เมธา”
- ทำการปกครองแต่ “มิอาจใช้อาญาอย่างเที่ยงธรรม”
- มีความร่ำรวยแต่ “มิยอมช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก”
- มีปัญญาแต่ “มิอาจป้องกันเหตุ”
- มีความคิดไตร่ตรองแต่ “มิคิดไตรตรองให้ถ้วนถี่”
- มียศฐาแต่ “มิยอมใช้คนที่ดีที่รู้จัก”
- ยามพ่ายแพ้แต่ “มิอาจระงับการตัดพ้อ”
ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่ต่างจากปัจจุบัน แค่บริบทที่เปลี่ยนไป