• May 6, 2022

    ความเชื่อทางวงการแพทย์ที่ผิด
    แพทย์ Stephen Sinatra , Julian Whitaker , Mark Hyman , Mehmet Oz ฯลฯ ที่ได้เป็นเถวหน้าออกมาช่วยกันเผยแพร่ความเป็นจริงที่สั่นสะเทือนวงการแพทย์กระแสหลัก Main stream Medicine ล้มความเชื่อผิดๆตลอดมากว่า 60 ปี

    นายแพทย์ Dr. Dwight Lundell อดีตเป็นหัวหน้าทีมแพทย์ผ่าตัดที่ Banner Heart Hospital , Mesa , AZ.สหรัฐอเมริกา เป็นศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด มากว่า 25 ปี เคยผ่าตัดหัวใจมามากกว่า 5,000 ราย ผ่าตัดหลอดเลือดเลี่ยงหัวใจ (bypass) มาหลายหมื่นเส้น

    “แต่ในวันนี้ผม (Dr. Dwight Lundell) ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และขออภัยอย่างที่สุดเพื่อออกมาสารภาพผิดกับท่านทั้งหลายว่า ความเชื่อของผมและเหล่าบรรดาแพทย์ร่วมทีมของผมเกี่ยวกับสาเหตุตลอดจนการจัดการการรักษาโรคหัวใจที่กระทำตลอดมานั้นไม่ถูกต้อง วันนี้ผมจำเป็นต้องออกมาแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดให้ถูกต้องเสียที ผมต้องยอมรับว่ากระบวนการเรียนการสอน งานวิจัย สัมมนาวิชาการ วิทยานิพนธ์สารพัดที่ผมได้ใช้เป็นแนวทางการวินิจฉัยสาเหตุโรคหัวใจและหลอดเลือด และการรักษาที่ผ่าน ๆ มานั้นไม่ถูกต้อง ”

    “ครับเป็นเวลากว่า 60 ปีที่วงการแพทย์ต่างหลงเชื่อว่าสาเหตุการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นเกิดจาก คลอเลสโตรอลและไขมันอิ่มตัว ดังนั้นหมอโรคหัวใจอย่างพวกผมจึงเพ่งเล็งการรักษาไปที่การทานยาลดคลอเลสโตรอลร่วมกับลดหรืองดการบริโภคไขมันอิ่มตัว แต่จากหลักฐานที่ปรากฏชัดมากขึ้นไมกี่ปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าความเชื่อข้างต้นไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นความจริง และไม่ควรเชื่ออีกต่อไป”

    “ชัดเจนมากว่าการอักเสบภายในผนังหลอดเลือดต่างหากที่เป็นตัวการที่แท้จริงทำให้หลอดเลือดตีบตัน โรคหัวใจ โรคร้ายแรงเรื้อรังอีกสารพัด”

    Dr. Dwight Lundell เรียบเรียงไว้

    1. จากการที่วงการแพทย์มีความเชื่ออย่างผิดๆ ดังกล่าว มีผลให้วงการโภชนาการตลอดระยะ 60 ปีที่ผ่านมาเดินผิดทางไปหมด อุตสาหกรรมอาหารและโภชนาการที่เดินผิดทางได้สร้างประชากรโลกที่เต็มไปด้วยโรคอ้วน เบาหวาน และโรคเซลล์เสื่อมอีกสารพัดโรค สร้างความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเศรษฐกิจอย่างไม่สามารถประเมินได้ทีเดียว นับเป็นเรื่องน่าเศร้าของมนุษยชาติ

    2. ทั้งๆ ที่มีประชากร (โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา) ประมาณ 25% ที่ทานยาลดไขมันกลุ่ม statin ราคาแพงๆ และมีสารพัดอาหาร Low fat , Fat free มีการลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวกันอย่างมากมาย แต่ผลลัพธ์กลับเป็นว่า มีประชากรเสียชีวิตอันเนื่องจากโรคหัวใจภายในรอบเวลา 60 ปีนี้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้อมูลของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา รายงานว่า มีผู้ป่วยโรคหัวใจกว่า 75 ล้านคน มีผู้ป่วยเบาหวานกว่า 20 ล้านคน มีผู้ป่วยใกล้จะเป็นเบาหวาน (pre-diabetes) กว่า 57 ล้านคน ในขณะที่มีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า อายุเฉลี่ยของผู้ที่เริ่มป่วยด้วยโรคเหล่านี้ล้วนมีอายุน้อยลงๆ (เป็นโรคกันตั้งแต่เด็ก) มีคำถามตัวโตๆ ว่าทำไม??

    3. คำตอบที่ง่ายๆ สั้นๆ ที่สุดก็คือ หากไม่มีการอักเสบในร่างกาย ก็ไม่มีทางที่คลอเลสโตรอลจะจับเป็นตะกรันอุดตันในหลอดเลือดได้ หากไม่มีการอักเสบคลอเลสโตรอลก็จะไหลลื่นไปตามหลอดเลือดได้อย่างเสรี การอักเสบนี่แหละที่ทำให้คลอเลสโตรอลต้องกลายพันธุ์เป็นตะกรันจับยึดติดภายในหลอดเลือด !!!

    4. การอักเสบไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไร มันคือขบวนการปกติของร่างกายเพื่อต่อสู้รับมือกับสิ่งแปลกปลอมที่รุกรานเข้ามาในร่างกาย เช่นเชื้อโรค ไวรัส พิษต่างๆ แต่เมื่อใดก็ตามขบวนการอักเสบควบคุมผู้รุกรานไม่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้รุกรานที่เกิดจากพิษ ร้ายในอาหารการกินที่เซลล์ของร่างกายไม่คุ้นเคย กำจัดไม่ได้ จนกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง (ซ้ำแล้วซ้ำเล่า) การอักเสบเรื้อรังนี่แหละคืออันตรายอย่างแท้จริง

    5. พิษร้ายในอาหารการกินที่ก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังมากที่สุดก็คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fats) ที่อยู่ในน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน ฯลฯ และน้ำตาลสูงๆ ในแป้งขัดขาวและอาหารคาร์โบไฮเดรตทั้งหลายนั่นเอง ต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม ขนม ได้นำน้ำมันพืชและน้ำตาลไปปรุง เจือปน เป็นส่วนประกอบกันอย่างมโหฬาร ตลอดเวลา 60 ปีที่ผ่านมา

    6. ท่านอาจไม่เคยเห็นสภาพผนังหลอดเลือดที่อักเสบเหมือนที่ผมเห็นและทำการผ่าตัดมาหลายหมื่นเส้นตลอด 25 ปีที่ผ่านมา แต่ผมพอจะเทียบเคียงง่ายๆ โดยให้ท่านหาแปรงสีฟันขนแข็งๆ อันหนึ่งแล้วก็ถูไปมาบนผิวนุ่มๆ บริเวณท้องแขน ถูไปมาจนค่อยๆ แดง เลือดซิบๆ นั่นแหละสภาพผนังหลอดเลือดที่อักเสบก็คล้ายกันคือ ช้ำๆ เลือดซิบๆ นานๆ เข้า หากยังคงอักเสบต่อเนื่องเลือดก็จะมาคั่งมากขึ้นจนบวม จนเลือดอาจทะลักมาตามแผลที่แตก

    7. ผนังหลอดเลือดที่อักเสบนั้นไม่ได้ถูกแปรงใดๆ ไปขัดถู แต่เนื่องจากร่างกายเรามีระบบควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ภายในระดับที่คงที่ ไม่เกินโควต้า (ในเลือดของคนปกติไม่เป็นเบาหวานจะมีน้ำตาลลอยปนในกระแสเลือดไม่เกิน 6-7 กรัมแล้วแต่ขนาดตัวและปริมาณเลือดในร่างกาย) ทันทีที่เราทานอาหารที่อุดมด้วยน้ำตาลปริมาณที่มากเกินโควต้า ฮอร์โมนอินซูลินจะรีบทำการขนน้ำตาลที่ทะลักเข้าสู่กระแสเลือดไปเก็บไว้ในเซลล์ก่อนที่จะแปลงสภาพเก็บในรูปของไขมัน แต่หากน้ำตาลภายในเซลล์มีพอเพียงอยู่แล้ว อินซูลินก็ต้องหาทางรีบขับหรือกำจัดออกจากร่างกายต่อไป น้ำตาลที่เป็นส่วนเกินในกระแสเลือดจะเข้าไปจับตัวกับโปรตีนหลายๆ ชนิดในเลือด กลายสภาพเป็นตัวทำร้ายผนังหลอดเลือดให้อักเสบ การทานน้ำตาลมากวันละหลายๆ มื้อจึงเสมือนกับการเอาแปรงไปขัดถูผนังหลอดเลือดจนถลอกครั้งแล้วครั้งเล่า จนอักเสบเรื้อรังวันแล้ววันเล่า ผมอยากจะย้ำๆ กับท่านว่าผมซึ่งผ่าตัดหัวใจมากว่า 5,000 คน ผ่าตัดเส้นเลือดมาหลายหมื่นเส้น ภาพการอักเสบเรื้อรังในหลอดเลือดมันติดตาผมว่าไม่ได้แตกต่างจากภาพที่ท่านเห็นหลังจากเอาแปรงขนแข็งขัดถูผิวหนังนุ่มบอบบางจนช้ำ จนเลือดไหลซิบๆ จนบวมปูด เลือดไหลแต่อย่างใด ต่างกันเพียงว่าน้ำตาลที่ทานเข้าไปวันละหลายๆ มื้อ หลายๆปีนี่แหละเสมือนกับแปรงที่ค่อยๆ ขัดถูผนังหลอดเลือดจนถลอกปอกเปิก อักเสบเรื้อรัง

    8. นอกจากน้ำตาลแล้วกลับมาพูดถึงน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน ฯลฯ โดยธรรมชาติผนังหุ้มเซลล์ต่างๆ ของร่างกายนั้นมีส่วนประกอบหลักทำด้วยไขมันหลากหลายชนิดผสมผสานกันเพื่อให้คงความนุ่ม ยืดหยุ่น แต่คงรูป เกลือแร่สารอาหารซึมผ่านเข้าไปในเซลล์ได้เหมาะสม ขยะของเสียซึมผ่านออกจากเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสัดส่วนระหว่างไขมันโอเมก้า-6 และไขมันโอเมก้า-3 ที่ดีคือ ไม่เกิน 3:1 แต่ผลจาการที่วงการแพทย์หลงผิดและเผยแพร่ความเชื่อว่าสาเหตุการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นเกิดจาก คลอเลสโตรอลและไขมันอิ่มตัว จนทำให้อุตสาหกรรมอาหารเกาะกระแสโปรโมทน้ำมันพืชว่าเป็นไขมันไม่อิ่มตัว อุดมด้วยไขมันโอเมก้า-6 บางชนิดก็โหมกระแสว่ามีไขมันโอเมก้า-3 อีกต่างหาก เลยกลายเป็นว่าทุกครัวเรือนต่างเลิกทานน้ำมันปรุงอาหารแต่ดั้งเดิมกลับมาฝากสุขภาพกับไขมันไม่อิ่มตัวทั้งหลายโดยเฉพาะน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี ทั้งยังแทรกซึมลงไปในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทุกแขนง เราจึงมักพบขนมขบเคี้ยวทั้งหลาย ฟาสต์ฟู๊ดทั้งหลายล้วนกระหน่ำการใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเป็นส่วนผสมและปรุง เช่นมันฝรั่งทอด กรอบที่ผ่านการทอดและชุ่มด้วยน้ำมันพืช (โดยไม่มีใครเฉียวใจเลยว่าน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเหล่านี้เปิดฝาขวดทิ้งไว้เป็นปีก็ยังไม่เหม็นหืน ? ทั้งๆ ที่โดยหลักการแล้วไขมันไม่อิ่มตัวทั้งโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 นั้นจะถูกออกซิไดส์โดยออกซิเจนในอากาศได้อย่างง่ายดาย แต่ไม่เคยมีใครเฉลียวใจกับคำศัพท์ที่ว่า” “ผ่านกรรมวิธี” เลยว่าผ่านอะไรมาทำไมจึงไม่เหม็นหืน ????

    9. ผลจากการที่วงการแพทย์เดินผิดทาง ภาวะโภชนาการของประชากรโลกก็เลยเดินเป๋จนพิกลพิการ ในอเมริกาพบว่าอาหารการกินของประชากรขาดความสมดุลอย่างรุนแรง สัดส่วนระหว่างไขมันโอเมก้า-6 และไขมันโอเมก้า-3 กลายเป็น 15:1 จนถึงระดับวิกฤติ คือ 30:1 ผลก็คือผนังหุ้มเซลล์เสียหายอย่างรุนแรงและปลดปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า cytokines ออกมาทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและรุนแรง

    10. เมื่อมีภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน ทานไขมันเหล่านี้ปริมาณมากเกินไป ทานน้ำตาลมาก ก็ยิ่งทำให้ปริมาณ cytokines และสารเร่งการอักเสบนานาชนิด หลั่งออกมามากเป็นทวีคูณ ตกเข้าสู่วัฏจักรเลวร้ายเต็มขั้นจน กลายไปเป็นโรคเบาหวาน ความดันสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดตีบตัน เส้นเลือดเลี้ยงสมองตีบตัน อัมพฤกษ์ อัลไซเมอร์ ฯลฯ ผมขอย้ำว่าร่างกายมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างมาให้ทนทานต่อปริมาณน้ำตาลท่วมเลือด หรือ ไขมันโอเมก้า-6 ปริมาณสูงๆ จากน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา ท่านทราบไหมว่าน้ำมันข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า-6 สูงถึง 7,280 mg น้ำมันถั่วเหลือง 1 ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า-6 สูงถึง 6,940 mg ตรงกันข้ามกับไขมันในเนื้อสัตว์ธรรมชาติซึ่งมีไขมันโอเมก้า-6 ไม่เกิน 20%

    11. ทางรอด คือกลับไปสู่เมนูอาหารที่ปรุงสด ผ่านกรรมวิธีผ่านการแปรรูป ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตัดน้ำตาลและความหวานทั้งหลาย ตัดน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี ออกจากวงจรอาหารในชีวิตประจำวัน

    สรุป สาเหตุโรคหัวใจและหลอดเลือด และการรักษา เดิมวงการแพทย์เชื่อว่า
    คลอเลสโตรอลและไขมันอิ่มตัว เป็น สาเหตุการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (ซึ่งผิด)
    จึงมุ่งรักษาไปที่การทานยาลดคลอเลสโตรอลร่วมกับลดหรืองดการบริโภคไขมันอิ่มตัว (ซึ่งผิด)
    สาเหตุที่แท้จริง คือ การอักเสบภายในผนังหลอดเลือด ที่เป็นตัวการทำให้หลอดเลือดตีบตัน โรคหัวใจ โรคร้ายแรงเรื้อรังอีกสารพัด

    สรุป 11 ข้อ

    หากไม่มีการอักเสบในร่างกาย ก็ไม่มีทางที่คลอเลสโตรอลจะจับเป็นตะกรันอุดตันในหลอดเลือดได้ หากไม่มีการอักเสบคลอเลสโตรอลก็จะไหลลื่นไปตามหลอดเลือดได้อย่างเสรี การอักเสบนี้ทำให้คลอเลสโตรอลต้องกลายพันธุ์เป็นตะกรันจับยึดติดภายในหลอดเลือด
    พิษร้ายในอาหารการกินที่ก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังมากที่สุดก็คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fats) ที่อยู่ในน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน ฯลฯ และน้ำตาลสูงๆ ในแป้งขัดขาวและอาหารคาร์โบไฮเดรต เครื่องดื่ม ขนม น้ำตาล+น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี
    น้ำตาล
    – น้ำตาลเกิน ฮอร์โมนอินซูลินจะขนไว้ในเซลล์ก่อนที่จะแปลงเป็นไขมัน
    – น้ำตาลถ้าเกินในกระแสเลือด จะจับตัวกับโปรตีนหลายชนิดในเลือด ทำร้ายผนังหลอดเลือดให้อักเสบ
    น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี (เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน ฯลฯ )
    ผนังหุ้มเซลล์ สัดส่วน Omega-6 : Omega-3 ที่ดี ไม่เกิน 3:1 แต่ผลจากการเชื่อว่าสาเหตุการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเกิดจาก คลอเลสโตรอลและไขมันอิ่มตัว ทำให้โปรโมทน้ำมันพืชว่าเป็นไขมันไม่อิ่มตัว อุดมด้วยไขมันโอเมก้า-6 / มีไขมันโอเมก้า-3 ทุกคนเลิกทานน้ำมันดั้งเดิม
    น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี เปิดฝาขวดทิ้งไว้เป็นปีก็ยังไม่เหม็นหืน ทั้งๆ ที่โดยหลักการแล้วไขมันไม่อิ่มตัวทั้งโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 นั้นจะถูกออกซิไดส์โดยออกซิเจนในอากาศได้อย่างง่ายดาย

    น้ำมันข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า-6 = 7,280 mg
    น้ำมันถั่วเหลือง 1 ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า-6 = 6,940 mg
    ตรงกันข้ามกับไขมันในเนื้อสัตว์ธรรมชาติซึ่งมีไขมันโอเมก้า-6 ไม่เกิน 20%

    ทางรอด
    – ให้กินอาหารผ่านกรรมวิธีผ่านการแปรรูป ให้น้อยที่สุด
    – ตัดน้ำตาลและความหวานทั้งหลาย
    – ตัดน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี เสียจากวงจรอาหารในชีวิตประจำวัน

    ที่ถูกควรกิน ไขมันอิ่มตัว!?

    ชนิดของไขมัน แบ่งออกเป็น

    1.คอเลสเตอรอล อยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์ของสัตว์ เช่น นม เนย
    2.ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันหลักที่เรารับประทานจากอาหาร แบ่งเป็น
    2.1ไขมันอิ่มตัว ไขมันจากสัตว์ ไขมันจากนม เนย ชีส และจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ เนื้อหมู เนื้อวัว ไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย ไข่แดง 
    2.2ไขมันไม่อิ่มตัว
    – ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว คือไขมันที่ภายในโมเลกุลมีพันธะคู่อยู่ตำแหน่งเดียว พบได้ในน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันงา น้ำมันดอกคำฝอย อะโวคาโด ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ถั่ว เมล็ดธัญพืชต่างๆ
    – ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน คือไขมันที่ภายในโมเลกุลมีพันธะคู่อยู่หลายตำแหน่ง พบได้ในน้ำมันพืชทั่วไป เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา น้ำมันข้าวโพด น้ำมันทานตะวัน ถั่ว และเมล็ดธัญพืชต่างๆ
    โดยทั่วไปในน้ำมันหนึ่งชนิด จะประกอบไปด้วยกรดไขมันหลายชนิดรวมกันแต่เรามักเรียกชนิดของไขมันตามองค์ประกอบหลักของไขมันนั้น
    ประโยชน์ของไขมัน
    – ให้พลังงานกับร่างกาย
    – ช่วยในการดูดซึมวิตามิน A D E K
    – ช่วยในการสร้างฮอร์โมนบางชนิด

    คืนสู่สามัญเรื่องของการบริโภคน้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว

    นพ.วีระชัย สิทธิปิยะสกุล
    ผมคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ในยุคนั้นคงเหมือนกับครอบครัวของผมที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง และเชื่อตามโฆษณาที่มีการยิงโฆษณาถี่มากในสมัยนั้น เพื่อพยายามชักจูงให้ผู้คนหันมารับประทานนํ้ามันพืชแทนนํ้ามันหมู โดยการโฆษณาในสมัยนั้นจะใช้นํ้ามันพืชและนํ้ามันหมูแช่ใส่ตู้เย็นเปรียบเทียบกัน ทำให้เห็นว่านํ้ามันพืชไม่เป็นไข ส่วนนํ้ามันหมูจะเป็นไข แล้วก็จะชักจูงต่อเนื่องด้วยวารสารทางการแพทย์ บทวิจัยทางการแพทย์ การออกสื่อต่าง ๆ โดยแพทย์และนักวิชาการที่น่าเชื่อถือ ทั้งที่ความจริงแล้วคนเหล่านั้นน่าจะไม่ได้วิจัยหรือทราบอะไรจริง แค่ทราบมาจากในสถาบันการเรียน จากตำราฝรั่ง จากการวิจัยหลอกลวงของฝรั่ง คือวงการแพทย์ของสหรัฐอเมริกาใช้การล่อลวงนี้เพื่อจะทำให้อุตสาหกรรมถั่วเหลืองของสหรัฐอเมริกาเติบโตขึ้น ซึ่งเรื่องนี้วงการแพทย์สหรัฐอเมริกาเพิ่งออกมายอมรับ โดยออกบทความว่า “ขอโทษที่หลอกลวงพลโลกให้หลงเชื่อเปลี่ยนมารับประทานนํ้ามันถั่วเหลืองมากว่า 60 ปี”
    “ที่บ้านผมจึงเปลี่ยนกลับมาซื้อมันหมูมาเจียวเป็นนํ้ามันหมูเพื่อทำอาหารเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ก็สังเกตว่าคนในบ้านไม่เห็นมีใครเป็นอะไรมากมาย อาการโรคผิดปกติทางกายที่หลายคนเคยเป็นก็ดูดีขึ้น จากการตรวจร่างกายเป็นระยะ การเจ็บป่วยที่มีเป็นบ้าง นาน ๆ ครั้งก็สามารถหายได้อย่างรวดเร็ว” ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผลออกมาเป็นเช่นนี้ เนื่องจาก “น้ำมันหมู” เหมาะที่จะใช้กับมนุษย์ เนื่องจากอวัยวะในร่างกายหลาย ๆ อย่างมีส่วนคล้ายคลึงกัน และในวงการแพทย์ยังมีความพยายามที่จะเปลี่ยนถ่ายอวัยวะภายในของหมูกับคนอีกด้วย
    “การเจียวนํ้ามันหมูก็ใช้วิธีแบบบ้าน ๆ ไม่ต้องใช้สารเคมี ไม่ต้องผ่านกระบวนการอุตสาหกรรม คืออีกเหตุผลหนึ่งที่ผมหันมาใช้นํ้ามันหมู และก็รวมถึงรับประทานของทอดน้อยลงด้วย เพราะเมื่อใช้น้ำมันหมูแล้วทำให้ใช้น้ำมันพืชน้อยลง แต่หากจะใช้น้ำมันพืช จะใช้น้ำมันพืชประเภท “สกัดเย็น” เท่านั้น เช่น น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น สลับกับน้ำมันหมูในบางครั้ง
    นิตยสาร ‘เกษตรกรรมธรรมชาติ’ ฉบับ 2/2548 บทความพิเศษ
    “น้ำมันมะพร้าวและกะทิเป็นอันตรายหรือเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ”
    โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา กล่าวไว้ว่า
    “น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันพืชที่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียและแปซิฟิกใช้เป็นแหล่งพลังงาน และการหุงหาอาหารมาช้านานโดยไม่ปรากฏอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน จากรายงานขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2521 ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันมะพร้าวมากที่สุดประเทศหนึ่ง มีอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพียง 1 ในแสนคน เปรียบเทียบกับ 187 ในแสนคนในประเทศที่ไม่ได้ใช้น้ำมันมะพร้าว” ดร.ณรงค์ ยังกล่าวด้วยว่า “น้ำมันมะพร้าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เนื้อมะพร้าวกับน้ำมะพร้าวลดระดับคอเลสเตอรอลอย่างมีนัยสำคัญ น้ำมันมะพร้าวเพิ่มปริมาณของ High density lipoprotein (HDL) ได้มากกว่าน้ำมันถั่วลิสง น้ำมันมะพร้าวไม่เพิ่มอัตราส่วนของ LDL ต่อ HDL ในขณะที่ไปลดระดับของไตรกลีเซอไรด์”

    เกือบ 30 ปีมาแล้วที่เราถูกเขาหลอกให้บริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว ได้ทำลายอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าวและกะทิ
    รณรงค์ให้คนไทยหันกลับมาบริโภคกะทิ
    จงกินและจงอยู่บนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตัวเราเอง


เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized