1.แบตเตอรี่น้ำ
2.แบตเตอรี่กึ่งแห้ง (maintenance free)
มีน้ำกรดข้างใน ยังมีรูให้เติมน้ำได้ (ลอกสติ๊กเกอร์ด้านบนออกจะเห็น)
เกิน 15,000km /ปี ถ้าเป็นเมืองไทยเมืองร้อน ให้เปิดมาดูว่าน้ำกรดแห้งไหม เติมน้ำกลั่นจบ
ราคาประมาณ 2,000
3.แบตเตอรี่แห้ง
มีน้ำกรดข้างใน ซีลปิด ต้องเเงะฝาออกจึงเห็นข้างใน
4.แบตเตอรี่เจล
5.แบตเตอรี่ลิเทียม
Ahrมีอยู่จริง เช่น แบต100Ahr โดยปกติแบตรถยนต์จะใช้25hr หรือจะใช้20hr ก็ได้ ขึ้นอยู่กับทางผู้ผลิต ถ้าเขียนให้ชัดๆก็จะเป็น แบต100Ahr 20hr หมายถึงจ่ายกระแสได้ 10Aใน20ชั่วโมง(200Ahrหาด้วย20hr=10A) ค่านี้ยิ่งเยอะทำให้ใช้แบตได้นานโดยไม่ชาร์จ สรุปคือ ถ้าจ่ายกระแส10A ก็ใช้ได้20ชั่วโมงประมาณนี้ ใครติดเครื่องเสียงเยอะๆ อยากเปิดเพลงมันๆ(ที่ไม่ดังมาก)สักพักตอนตั้งวงโดยไม่ต้องสตาร์ทเครื่องก็ให้เลือกที่Ahrเยอะๆ ส่วนCCAก็เหมือนกำลัง/กระแสที่จ่ายได้สูงสุดในระยะเวลาสั่นๆช่วงหนึ่ง ถ้ากำลังน้อยก็ลากรอบเครื่องยนต์ให้ติดไม่ได้ เพราะกำลังไม่ถึง เพราะฉะนั้นค่า2ค่านี้ต้องสัมพันธ์กัน CCAเยอะเกินไปใช่จะดีเสมอไป ถ้าCCAเยอะ แต่Ahrน้อย ก็สตาร์ตได้ไม่กี่ทีแบตหมด ในบางกรณีที่เป็นรถเก่าหรือเครื่่องยนต์ไม่ค่อยดีต้องสตาร์ตหลายรอบ เช่น ติดแก๊สมาใชัสักปีสองปี หม้อต้มรั่วทำให้แก๊สซึมเข้าไปในห้องเผาไหม(ตอนสตาร์ทใช้น้ำมัน เมื่อมีแก๊สทำให้อากาศน้อยลง) หรือ ปั้มติ๊กมีปัญหาทำให้สตาร์ทยาก เป็นต้น ดังนั้นไม่แปลกที่บริษัทผู้ผลิตไม่ระบุCCAมา ก็เพราะเขาออกแบบCCAในแบตมาให้เหมาะกับรถในแต่ละประเภทแล้ว เช่น แบต40Ahrใช้กับรถเก๋ง 80Ahrใช้กับรถกระบะ ส่วนรถ6ล้อก็แบต80Ahr 2ลูก เป็นต้น ซึ่งค่าCCAที่ออกแบบมามันก็เพียงพออยู่แล้วถ้าเป็นแบตใหม่ ส่วนถ้าใครจะเอาแบตเก่ามาฟื้นฟูน ต้องให้ความสำคัญกับCCA เพราะค่าCCAมันดร๊อปลงไปเยอะ ส่วนฟื้นฟูแล้วค่าCCAกับAhrนั้นจะกลับมาได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสภาพแบต ถ้าใครใช้รถน้อยแต่2ปีแบตเสื่อมแล้ว แล้วรู้สึกเสียดายใช้ไม่คุ้ม ซึ่งแบตก็น่าจะยังไม่โทรมมาก มันก็คุ้มที่จะฟื้นฟูเมื่อเทียบกับราคาแบตใหม่