เครื่องมือช่วยตรวจสอบระบบ hosting
เครื่องมือเหล่านี้จะถูกนำเอามาใช้บ่อยเมื่อเวลาที่เว็บมีปัญหา โดยเครื่องมือบางตัวก็ติดมากับ window ของเราอยู่แล้ว แต่ว่าบางตัวก็ไม่ใช่ ต้องอาศัยเว็บที่เค้ามีบริการอยู่
บทความนี้จะพูดถึงเครื่องมือพื้นฐานทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องและใช้ในงานตรวจสอบส่วน hosting
1.ping
โดยคำสั่งนี้มีอยู่ใน command เครื่องเราครับ การเปิด command ก็คือกด start > run พิมพ์ cmd กด enter
เมื่อเราเปิด command จอดำๆได้แล้ว เราก็พิมพ์คำสั่งว่า
1. ping โดเมน หรือ ip
ping www.google.com หรือเราจะเปลี่ยน www.google.com ให้เป็นหมายเลข ip ของเครื่องปลายทางที่เราจะตรวจสอบก็ได้
ผลของการ ping ถ้า server ยังเปิดเครื่องและอยู่ในอินเตอร์เน็ต ก็จะมีการ response กลับมาเช่น
>ping 127.0.0.1
Pinging 127.0.0.1 with 32 bytes of data:
Reply from 127.0.0.1: bytes=32 time<1ms TTL=128
Reply from 127.0.0.1: bytes=32 time<1ms TTL=128
Reply from 127.0.0.1: bytes=32 time<1ms TTL=128
Reply from 127.0.0.1: bytes=32 time<1ms TTL=128
Ping statistics for 127.0.0.1:
Packets: Sent = 4, Received = 4, Lost = 0 (0% loss),
Approximate round trip times in milli-seconds:
Minimum = 0ms, Maximum = 0ms, Average = 0ms
เราจะเห็นว่ามีบรรทัด reply ตอบกลับมาอยู่เรื่อยๆ โดยค่าของ time ยิ่งน้อยท่าไรยิ่งดี
เพราะว่าหมายความว่าในการส่งข้อมูลไปติดต่อจนมีการตอบกลับมานั้นใช้เวลาน้อย มาก ส่วนช่วงล่างเป็นการสรุปผลการ ping เท่านั้น
สำหรับคำสั่งนี้คือแบบเดิมๆ ที่ในความเป็นจริงเราสามารถเติม option ให้คำสั่งเพื่อเพิ่มรูปแบบการทำงานให้มากขึ้นได้อีก
เช่น ping domain -t หรือเติม -t ต่อท้ายจากคำสั่งปกติ จะเป็นการ ping อย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ถ้าเราจะให้หยุดเมื่อไรก็กด ctrl+c
ping บอกอะไรเราได้บ้าง
ในการตรวจสอบเบื้องต้นเราก็มักจะทดสอบด้วยการ ping ก่อนเสมอ
ถ้าผลการ Ping ไม่มี reply กลับมาเลย แปลว่าเครื่องเราติดต่อเครื่องปลายทางไม่ได้ ให้ลองปิงหลายๆเว็บหลายๆที่ทั้งเว็บไทยและต่างประเทศว่าเว็บอื่นปกติดีทุกที่หรือเปล่า หรือลอง ping ip เครื่องข้างๆก็ได้
ถ้าผลที่ได้คือบาง เว็บที่เคยเข้าก็ Ping ได้บ้างไม่ได้บ้างตามแต่ละเว็บ แบบนี้เราน่าจะเข้าใจได้ว่า Internet ที่เราใช้มีปัญหาอยู่
แต่ ถ้า ผล ping มีการ reply ปกติ คือไม่มี Packet ไหนตกหล่นเลยก็แปลว่าเครื่องปลายทางยังเปิดเครื่องอยู่ และเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเอาไว้ด้วยตามปกติ เราสรุปได้แค่นี้
การปิงยังไม่สามารถสรุปได้ว่า web service จะทำงานปกติหรือเปล่า เรารู้แต่ว่าเครื่องปลายทางยังอยู่ดีไหมและอินเตอร์เน็ตเรายังเชื่อมต่อโลก ภายนอกอย่างปกติหรือเปล่าเท่านั้น
บางที่ hostingสามารถตั้งค่าให้ปิด ping ได้ อันนี้คือตัว hosting ทำงานปกติทุกอย่าง เครื่องเปิดและ Online แต่ว่าเรา ping ไม่เจออันนี้ก็มี เพราะว่าสามารถตั้งค่าไม่ให้ตอบสนองต่อการ Ping ได้
2.traceroute
มีใน command เช่นกันแต่ใน windows จะใช้ tracert รูปแบบคำสั่งคือ
1. tracert domainปลายทาง หรือ ip ปลายทาง
การ trace จะเป็นการตรจสอบเส้นทางอินเตอร์เน็ตที่เราใช้งาน ว่าจากเครื่องเราไปจนถึงปลายทาง ผ่าน gateway หรือส่วนเชื่อมต่อใหญ่ๆไปกี่จุด ที่ไหนบ้างกว่าจะไปถึงปลายทาง ซึ่งการ traceroute นี้จะไล่เรียงมาทีละบรรทัดเริ่มจากครื่องเราออกไปisp ของเราออกไป gateway ต่างๆ ไล่ไปจนถึงปลายทาง โดยบรรทัดสุดท้ายจะต้องเป็นปลายทาง
หากการ traceroute ไปตกหายหลางทาง คือช่วงที่เริ่มมี * จากการ traceroute ยาวต่อไปเรื่อยๆจนไม่มีทีท่าว่าจะจบ นั่นแสดงได้ว่าส่วนการเชื่อมต่อช่วงนั้นน่าจะเกิดปัญหาแล้ว เพราะว่าไม่สามารถเชื่อมต่อไปยังส่วนต่อๆไปได้ ทำให้การรับส่งข้อมูลกันไม่สำเร็จ อาจจะเป็นที่มาของเว็บเปิดไม่ได้
อย่างไรก็ดีผลที่ได้จากการ traceroute ถ้ามีบางช่วงที่แสดงเป็น * แต่ว่าสรุปสุดท้ายยังไปถึงปลายทางได้ นั่นก็แปลได้ว่ายังปกตินะครับเพราะว่าบางส่วนของ network สามารถปิดบังตัวเองไม่แสดงข้อมูลได้ แต่ว่ายังทำงานทุกอย่างตามปกติครับ
ผลที่ได้จากการ traceroute จะบอกได้ชัดขึ้นอีกว่าการเชื่อมต่อตั้งแต่เครื่องของเรายาวไปจนถึงปลายทาง นั้นมีการติดขัดหรือว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ส่วนไหนหรือเปล่า
เพราะว่าถ้าบางส่วนของเครือข่ายมีปัญหาก็อาจจะทำให้การเปิดเว็บติดขัดเปิดติดบ้างไม่ติดบ้างได้ครับ
3.proxy
อันนี้จะเอาไว้ confirm ผลอีกรอบครับ จริงๆ Proxy มีสองแบบ ก็คือ proxy gateway หรือ webbase proxy
proxy gateway คือการที่เราชี้ให้เครื่องเราเอา proxyตัวนั้นๆเป็นช่องทางแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเรากับ internet ครับ เช่น ปลายทาง block เครื่องเราเอาไว้ เราก็ใช้ Proxy gateway ของที่อื่น เวลาเปิดเว็บ ปลายทางจะมองเครื่องเราไม่เห็น เห็นแต่ proxy ที่เราใช้เท่านั้น
webbase proxy คือproxy ที่มีหน้าเว็บให้เราเข้าใช้ เราเพียงแต่เปิดเว็บขึ้นมาแล้วพิมพ์ url ที่เราต้องการเปิดลงไปเท่านี้ เราก็จะเปิดหน้าเว็บไหนก็ได้ โดยปลายทางก็จะมองเห็นแต่เครื่อง proxy เช่นกัน
หลายครั้งเว็บจะเปิด จากเครื่องเราไม่ได้ แต่ถ้าเปิดจาก Proxyได้ ก็มั่นใจได้เลยว่า ไม่เครื่องเราก็อินเตอร์เน็ตของเรานั่นแหล่ะ ที่มีปัญหาแล้ว การแก้ไขคงได้แค่รออีกวันสองวันหรืออาจจะน้อยกว่านั้น ถ้ายังไม่ปกติคงถึงคราวแจ้งผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตของเราแล้ว (ไม่ใช่ผู้ให้บริการ hosting)
เหล่านี้คือเครื่องมือ หลักๆที่ user ทั่วไปสามารถใช้ตรวจสอบได้ ซึ่งปกติจะไม่ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อหาสาเหตุและสรุปผล แต่ว่ามักจะใช้ผสมกันทั้งหมด เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดที่สุดก่อนการสรุปผลในครั้งนั้นและปกติจะไม่ใช้ จากเครื่องเราอย่างเดียว จะต้องใช้เครื่องมือเหล่านี้จาก internet ด้วย เพราะว่าหลายเว็บเค้าก็ใจดีทำเครื่องมือเหล่านี้ให้เราใช้ผ่านหน้าเว็บเลย
เราควรใช้งานหลายครื่องมือจากหลายเครือข่ายอินเตอร์เน็ตร่วมกันครับ แล้วผลการตรวจสอบที่ได้จะแม่นยำมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ดีบ้างครั้งผลการตรวจสอบจากแต่ละเครื่องมืออาจจะขัดแย้งกันเองก็ เป็นได้ ซึ่งถ้าเจอเราจะต้องตจวจสอบส่วนของโดเมนกันต่อไปด้วยครับเพราะว่าอย่าลืมว่า hosting domain ระบบทำงานแยกกัน แต่ถ้าส่วนนึงมีปัญหามันก็จะกระทบต่อตัวเว็บได้เหมือนกัน