อัตราการดูดซึมเฉพาะ (SAR)เป็นวัดอัตราที่พลังงานคือหมกมุ่นโดยจะเปิดเมื่อความถี่วิทยุ (RF) สนามแม่เหล็กมันถูกกำหนดให้เป็นที่ศรัทธาต่อไปป อำนาจแห่งเนื้อเยื่อและหน่วยวัตส์ (w/กิโลกรัม) ต่อกิโลกรัมได้[1] sar ปกติเฉลี่ยทั่วทั้งสรรพางค์ หรือเป็นตัวอย่างเล็ก ๆ จำนวนมาก (ปกติ 1 g หรือ 10 ของจียอง) อ้างจากระดับสูงสุดคือค่าที่ได้จากการศึกษาที่กำหนดปริมาณ หรือจำนวนเต็ม
ใช้มือถือแล้วคลื่นมือถือทำอันตรายต่อสุขภาพ?
จากการทดลองในต่างประเทศพบว่า กลุ่มคนที่ใช้มือถือเยอะๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ใช้มือถือในบางครั้งและในยามจำเป็น พบว่าคนที่ใช้มือถือเยอะๆ ในแต่ละวัน มีอัตราการเป็นมะเร็งสมอง หรือมีผลกระทบอื่นๆสูงกว่าผู้ที่ใช้มือถือในปริมาณที่น้อย ซึ่งก็เป็นผลมาจากคลื่นของมือถือนั่นเอง มันทำให้เกิดหลายสิ่งตามมา
เช่น จะเป็นกับระบบประสาทต่างๆ รวมทั้งมีผลต่อการค่าสเปริม ของผู้ชายด้วยซึ่งเป็นผลการวิจัยของ Cleveland Clinic Center for Reproductive Medicine and Medical College of Wisconsin, และการวิจัยของประเทศอื่นๆ (Australia, Japan, and Europe) ว่ามีผลทำให้จำนวนของ สเปริมผู้ชายลดลงด้วย แต่ไม่ใช่ว่าใช้ปีสอง ปีแล้วจะเห็นผล มันเป็นผลระยะยาว เป็นสิบปี
ในอเมริกาโทรศัพท์ก่อนออกขายจะต้องมีการผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เรียกชื่อย่อว่า FCC ซึ่งหากไปอเมริกาจะเห็นว่าสินค้าบางอย่างจะเขียนว่า FCC Approve ซึ่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา การทดสอบโทรศัพท์ของค่ายต่างๆก่อนออกขายนั้นตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา การที่โทรศัพท์จะออกจำหน่ายได้นั้นต้องผ่านการตรวจสอบเรื่องของ SAR Rating ด้วย
SAR ย่อมาจาก “specific absorption rate “ เป็นการวัดปริมาณ พลังคลื่นความถี่จากอุปกรณ์มือถือ หรือ radiofrequency (RF) energy ซึ่งจะถูกดูดซับโดยร่างการของเราขณะใช้งาน ก็คงจะคล้ายๆกับการวัดปริมาณคลื่นหรือรังสีที่เราอาบเข้าไปขณะใช้งาน สำหรับโทรศัพท์ในอเมริกานั้น FCC จะอนุญาติให้โทรศัพท์ที่มีค่า SAR Rating ต่ำกว่า 2.0 W/KG ออกจำหน่ายได้ โดยวัดจากการใช้งานขณะที่เอามาแนบหูตัวผู้ใช้ เหมือนกับการใช้งานจริง หากค่า SAR Rating มากกว่า 2.0 ก็ถือว่าสอบตก ต้องให้ผู้ผลิตรายนั้นๆไปหาหนทางปรับค่าใหม่ก่อนส่งมาทดสอบต่อไป
อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่จะสรุปว่าคลื่น RF นั้นมันมีผลต่อสุขภาพเราจริงๆ แต่ในการวิจัยและการทดสอบจากบางแห่งก็มีการให้ข้อมูลว่าพวกคลื่น RF จากมือถือนี่แหละมันมีสิทธิ์ที่จะเป็นตัวเร่งให้เซลในร่างการเกิดความผิดปกติไปซึ่งจะทำให้เกิดเป็นโรคต่างๆ โดยจากการทดลองกับสัตว์ปรากฎว่ามันมีผลลัพธฺที่ทำให้เกิดความผิดปกติจริงๆ แต่ในมนุษย์ยังไม่มีการฟันธงว่าจะเกิดขึ้นจริงๆเพราะมันเป็นผลระยะยาวสำหรับใครที่ใช้โทรศัพท์เป็นระยะเวลานานๆ
การใช้หูฟัง Bluetooth จะช่วยลดอันตรายได้จริงหรือ?
จากข้อมูล American Cancer Society 2008; BfS 2005; Martinez-Burdalo 2009; Swiss Federal Office of Public Health 2009a ก็เป็นที่ยืนแล้วครับว่าการใช้ หูฟัง Bluetooth นั้นสามารถช่วยลดค่า SAR ได้จริง แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัด ว่า ค่า SAR ที่ออกมาจากมือถือนั้นมันทำอันตรายต่อคนใช้ได้มากน้อยแค่ไหนเพราะมันเป็นผลระยะยาว
เทคโนโลยี Bluetooth นั้นเริ่มฮิตใช้กันเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมานี้เองเป็นการติดต่อสื่อสารระยะใกล้ๆสำหรับอุปกรณ์สองชนิดที่ต่างกันหรือเหมือนกันโดยใช้คลื่นความถี่เป็นการส่งข้อมูลสื่อสารซึ่งจะมีระยะการติดต่อในวงแคบๆไม่ไกลมากนัก ซึ่งเรื่องนี้ผมเชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้จักกับเรื่อง Bluetooth เป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งจากากรทดสอบของ Swiss Federal Office of Public Health (FOPH) เค้าได้วัดค่า SAR จากอุปกรณ์ หูฟัง Bluetooth จากรุ่นทั่วๆไปซึ่งก็ได้ค่าประมาณ 0.001 and 0.003 W/kg ซึ่งน้อยกว่า จากค่า SAR ที่ออกจากมือถือรุ่นที่ปล่อยคลื่นน้อยสุดถึง 12 เท่า
แม้ว่าหูฟัง Bluetooth มันจะช่วยลดคลื่นให้เราได้มากก็ตามแต่ก็อย่าลืมว่าคนส่วนใหญ่มักจะเอาโทรศัพท์หรือ PDA Phone ใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อ หรือหนีบไว้ที่ซองใส่ในเอว เพราะว่าขณะที่เรากำลังใช้งานโทรศัพท์ผ่านหูฟัง Bluetooth นั้น กำลังการแผ่คลื่นของมือถือมันไม่ได้ลดลงนะครับ แถมเรายังเอามันวางไว้ในตำแหน่งใกล้ตัว มันก็ยังคงเกิดอันตรายอยู่ดี เพราะร่างกายเรามันก็จะดูดซับคลื่นโทรศัพท์ขณะที่ใช้งานเหมือนเดิม ดังนั้นทาง Swiss FOPH เค้าเลยแนะนำว่าในขณะที่เรากำลังใช้งานโทรศัพท์พูดคุยนั้น เราควรหลีกหลีกเลี่ยงเอามือถือมาวางใกล้ๆตัวหรือใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อและกระเป๋ากางเกง เพราะร่างกายเรามันจะดูดซับคลื่นอยู่ดีแม้จะใช้หูฟัง Bluetooth ที่มีการปล่อยคลื่นในระดับที่ต่ำก็ตาม คนส่วนใหญ่คิดว่าการใช้หูฟัง Bluetooth นั้นปลอดภัย แต่ดันลืมไปว่าเอา PDA Phone หรือมือถือติดตัวเอาไว้เหมือนเดิม สรุปแล้วก็คงได้แต่ความสะดวกในการใช้งานที่ไม่ต้องมีสายวุ่นวายแต่อันตรายก็ยังเท่าเดิม
เท่านั้นยังไม่พอทาง Loughborough University (U.K.) เค้ายังมีข้อมูลเพิ่มเติมมาอีกนะครับว่า ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก หรือโลหะในร่างกายเรา เช่นเหรียญ ในกระเป๋ากางเกง หัวเข็มขัดที่เป็นเหล็กและ ซิบกางเกง เหล่านี้มันยังช่วยเพิ่มค่า SAR ในขณะที่ใช้งานมือถือให้มากขึ้นอีกด้วย แบบนี้สงสัยคงต้องล่อนจ้อนยืนคุยกันแล้วหละมั๊ง
แล้วเราควรจะใช้มือถือหรือ PDA Phone ให้ปลอดภัยอย่างไรดี
1.เลือกมือถือที่มีค่า SAR ในระดับมาตราฐาน ลองอ่านข้อมูลประกอบที่นี่
http://www.ewg.org/cellphoneradiation/Get-a-Safer-Phone
2.ควรใช้หูฟัง Bluetooth หรือ Speaker โดยที่วางเครื่อง มือถือให้ห่างตัวขณะที่กำลังใช้งานพูดคุย
3.คุยเท่าที่จำเป็น พวกโปรเม๊าส์กระจาย คุยแหลก ก็อย่าไปใช้ให้มันคุ้มค่าเงินที่จ่ายไป เดี๋ยวจะเดี๊ยงเสียก่อน
4.ถือมือถือหรือวางเครื่องให้ห่างจากตัวขณะที่ใช้งาน เช่นวางบนโต๊ะแล้วเปิด Speaker ก็ได้ หากไม่มีใครอยู่ใกล้ๆตัวเรา
5.หากธุระไม่สำคัญ SMS ก็น่าจะเพียงพอในการสื่อสารข้อมูลถึงกัน
6.สัญญาณอ่อนไม่ควรใช้โทรศัพท์ ขณะที่ขีดบอระดับสัญญาณบนเครื่องเราอ่อน เราไม่ควรใช้โทรศัพ?เพราะว่ามันจะแผ่คลื่นมากขึ้นเพื่อรับสัญญาณจากเสามือถือที่อยู่ใกล้ๆที่เราอยู่ ยิ่งอันตรายเข้าไปกันใหญ่
7.ไม่ควรให้เด็กใช้มือถือ ปัจจุบันพ่อแม่ต่างก็ห่วงลูกกลัวจะติดต่อกันลำบาก เด็กอนุบาลในเมืองไทยบางคนก็มีมือถือใช้กันแล้ว ส่วนระดับประถมไม่ต้องพูดถึงมีเกลื่อนให้เห็นเยอะ แต่นั่นแหละตัวทำอันตรายลูกน้อยคุณเลยหละ
เล่าเตือนสติ และเตือนการใช้งาน โดยเฉพาะน้องๆวัยรุ่น ที่ใช้มือถือกันแบบเม๊าส์กระจาย จีบหญิง คุยกันเป็นชั่วโมงๆ รวมทั้งถึงเด็กเล็กๆที่ใช้มือถือกันเยอะมากในปัจจุบัน
มือถือรุ่นไหนมีค่าการแผ่เท่าไร ลองดูที่
http://www.ewg.org/cellphoneradiation/Get-a-Safer-Phone?phone_function=PDA
**เลือกให้ถูกใจ หรือ ถูกต้อง**
คำแนะนำในการเลือกซื้อโทรศัพท์ให้ถูกใจคงทำได้ยาก เพราะเป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัว แต่การที่จะเลือกซื้อมือถือให้ถูกต้องปลอดภัย มีหลักสำคัญเพื่อความปลอดภัยหลายอย่างที่ควรทราบ และควรตรวจสอบก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ ทั้งในเรี่องของคุณภาพสินค้า ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน การบริการหลังการขาย รวมถึงเรื่องของค่า SAR ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับบางคน แต่สำหรับบางคนก็เป็นเรื่องที่พูดกันมานานแล้ว แต่ยังไม่มีใครคิดหรือตระหนักถึงอย่างจริงจังจนนำมาเป็นปัจจัยในการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ
**SAR คืออะไร**
SAR หรือ Specific Absorption Rate คือ หน่วยการวัดปริมาณพลังงานที่ร่างกายได้รับขณะที่เราใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งสำหรับโทรศัพท์มือถือนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่จะต้องถูกควบคุมเรื่องนี้อย่างเข้มงวด ถึงแม้ในปัจจุบันจะยังไม่มีงานวิจัยใดๆ ที่ชี้แน่ชัดถึงอันตรายของการใช้โทรศัพท์มือถือว่ามีผลกระทบต่อเซลล์ร่างกาย หรือสมอง เพราะการวิจัยอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการติดตามอย่างน้อยถึง 10 ปี
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะมีโอกาสเกิดขึ้น ประเทศต่างๆ จึงได้มีการกำหนดค่า SAR ในโทรศัพท์มือถือให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งค่า SAR ของแต่ละประเทศอาจจะมีค่าที่แตกต่างกันโดยมีการปรับตามมาตรฐานนานาชาติให้เหมาะสม อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการกำหนดมาตรฐานการปล่อยคลื่นวิทยุจากการสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์มือถือกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 1.6 วัตต์ต่อกิโลกรัม ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปจะกำหนดให้ค่า SAR นี้ไม่เกิน 2 วัตต์ต่อกิโลกรัม และสำหรับในประเทศไทยเองได้มีการกำหนดค่า SAR ไว้ที่ 2 วัตต์ต่อกิโลกรัมเช่นกัน
**ทำอย่างไรถึงรู้ค่า SAR**
สำหรับประเทศไทยนั้น โทรศัพท์มือถือที่วางจำหน่ายจะต้องได้รับการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยด้านต่างๆ รวมถึงค่า SAR จากทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งโดยปกติโทรศัพท์ที่มีการนำเข้า และวางจำหน่ายอย่างถูกต้องจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด และเมื่อได้รับอนุญาตก็จะได้รับเอกสารจากทาง กทช. แสดงค่ามาตรฐานต่างๆ ระบุไว้อย่างชัดเจน อย่างเช่น เครื่องโทรศัพท์โนเกีย N97 mini มีค่า SAR เพียง 0.67 วัตต์ต่อกิโลกรัม ซึ่งได้แสดงอยู่ในคู่มืออย่างชัดเจน และหากต้องการตรวจสอบรุ่นโทรศัพท์มือถือของท่านว่ามีค่า SAR เท่าไหร่ สามารถค้นหาได้จากเว็บของ กทช.เช่นกัน (www.ntc.or.th)
**หลักง่ายๆ ใช้มือถือสบายใจ**
หลักง่ายๆ ในการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ นอกจากจะเลือกโทรศัพท์มือถือที่มีค่า SAR น้อยกว่ามาตรฐานกำหนดแล้ว (ยิ่งน้อยยิ่งดี) ผู้บริโภคควรจะพิจารณาด้านอื่นๆ ประกอบ เช่น เลือกซื้อโทรศัพท์มือถือยี่ห้อที่ได้รับความไว้วางใจ รวมถึงได้รับการตรวจสอบว่าเป็นสินค้าของแท้ โดยเลือกซื้อจากร้านค้า หรือตัวแทนจำหน่ายที่เชื่อถือได้ หรืออาจจะลองเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือง่ายๆ เพื่อลดการรับค่า SAR ที่จะเข้าสู่ร่างกาย
เช่น
คุยโทรศัพท์ให้สั้นลง หรืออาจจะใช้การส่ง SMS แทน
พยายามใชโทรศัพท์ในที่กลางแจ้ง ดีกว่าการใช้โทรศัพท์ภายในอาคาร หรือพยายามใช้โทรศัพท์ใกล้บริเวณหน้าต่าง (เพราะที่กลางแจ้งจะทำให้คลื่นสัญญาณกระจายตัวได้ดีกว่า) ใช้อุปกรณ์เสริม เช่น บลูทูธ หรือการเปิดลำโพงคุย เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการรับคลื่นความถี่โดยตรง
ไม่ควรวางโทรศัพท์มือถือเปิดเครื่องทิ้งไว้ใต้หมอนขณะนอนหลับ
สำหรับลูกค้าโนเกียสามารถตรวจสอบค่า SAR ของโทรศัพท์แต่ละรุ่นได้ที่: http://sar.nokia.com/sar/index.jsp
คิดสักนิดก่อนใช้มือถือ อันตรายจากการใช้มือถือ
“มือถือเป็นมากกว่าเครื่องมือสื่อสาร” และเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต
จนบางครั้งคิดว่า หากขาดเจ้าอุปกรณ์สื่อสารเครื่องเล็กๆ นี้ไป ในวันนั้นจะทำอะไรก็ดูเหมือนจะติดขัดไปเสียหมด
แม้เจ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นี้จะมีประโยชน์สักเพียงใด แต่สิ่งที่ตามมาก็คือโทษจากการใช้งาน ดังมีรายงานเสนอออกมาถึงอันตรายต่อสุขภาพผู้ใช้ ซึ่งจนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชี้ชัดอยู่ดีว่าการใช้โทรศัพท์มือถือจะมีผลต่อสมอง หรือเซลล์ในร่างกายมนุษย์อย่างไร
เนื่องจากการศึกษาผลกระทบจำเป็นต้องใช้เวลาในการติดตามระยะหนึ่งหรืออย่างน้อยก็ 10 ปี ในขณะที่เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
จึงทำให้ไม่มีผลศึกษาที่สะท้อนได้ทันกับกระแสดังกล่าว
-ความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิด
สำหรับอันตรายที่สถาบันการวิจัยพยายามศึกษาที่เป็นไปได้ ไม่พ้นเรื่องของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากเครื่องที่เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อเซลล์ร่างกาย สมอง หรือระบบภูมิคุ้มกันและการเพิ่มอัตราเสี่ยงของมะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนี้ ยังรวมถึงอัตราการดูดซับพลังงานในระดับหนึ่งๆ หรือที่เรียกว่า SAR (high specific energy absorption rate)
ซึ่งใช้วัดการดูดซับพลังงานของสมองในขณะที่ใช้โทรศัพท์มือถือในการสนทนาซึ่งโทรศัพท์ต่างรุ่นกัน ก็จะมีค่า SAR แตกต่างกัน
และค่า SAR ยังขึ้นกับระยะห่างระหว่างผู้พูดกับเสารับสัญญาณของเครื่องและเวลาที่ใช้ในสนทนา
-เลี่ยงอันตรายโดยใช้แต่น้อย
แม้ผลสุดท้ายการวิจัยจะไม่สามารถให้ข้อสรุปได้อย่างแม่นยำ แต่อย่างน้อยเพื่อลดความหวั่นเกรง และอันตรายที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้
ทางด้านผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่ทำการศึกษา ได้แนะนำถึงวิธีการลดความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อการใช้โทรศัพท์มือถือ
โดยวิธีหลีกเลี่ยงขั้นต้นและทำได้ง่ายที่สุดคือ การใช้แต่น้อยทั้งจำนวนครั้งและเวลาที่ใช้ และหากจำเป็นต้องใช้
ควรหันมาใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีช่วย เพื่อลดความเสี่ยงจากปริมาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ SAR ที่จะซึมเข้าสู่สมอง โดยเชื่อกันว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะช่วยลด SAR
ที่เข้าสู่สมองได้มากถึง 50%
นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเครื่องใหม่ ก็ควรเลือกโทรศัพท์ที่มีเสารับสัญญาณอยู่นอกตัวเครื่องเพื่อให้ตัวเสาซึ่งเป็นจุดกำเนิดคลื่นสัญญาณอยู่ห่างจากศีรษะขณะใช้สนทนามากที่สุด และควรเลือกซื้อเครื่องที่มีชั่วโมงการสนทนาต่อเนื่องยาวนาน เพราะนอกจากจะมีประสิทธิภาพดีกว่าแล้ว ยังปล่อยคลื่นสัญญาณออกมาน้อยกว่า
ท้ายที่สุดคือ ควรพิจารณาค่า SAR ของโทรศัพท์แต่ละเครื่อง ซึ่งยิ่งมีค่ามากเท่าไร
โทรศัพท์มือถือรุ่นดังกล่าวมีโอกาสที่จะปลดปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาได้มากเท่านั้น
รู้อย่างนี้แล้ว ก่อนจะซื้อ/จะหยิบขึ้นมาเซย์ฮัลโหล ก็อย่าลืมข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย เพราะป้องกันไว้ก็ย่อมดีกว่ามาแก้ไขทีหลัง
AR stands for Specific Absorption Rate
แม้ว่าจากหลักฐานถึงปัจจุบันพบว่าการใช้โทรศัพท์มือถือไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ แต่ยังมีคำถามถึงความปลอดภัยของการใช้โทรศัพท์มือถือในระยะยาว ซึ่งรัฐบาลของของหลายประเทศได้แนะนำให้มีการวิจัยเพิ่มเติม
SAR คืออะไร
หมายถึง Specific Absorption Rate หมายถึงหน่วยการวัดปริมาณพลังงาน ที่ร่างกายได้รับขณะที่เราใช้โทรศัพท์มือถือ
โทรศัพท์ทุกเครื่องจะต้องผ่านการวัดโดยใช้พลังงานเต็มที่ แต่พลังงานที่เราใช้จริงจะน้อยกว่าค่าที่ได้จากการทดสอบ
เพราะบริษัทเค้าออกแบบให้ใช้พลังงานต่ำที่สุดที่พอจะส่งคลื่นไปยังสถานีที่ใกล้ที่สุด ดังนั้นหากเราอยู่ใกล้สถานี เราจะได้รับพลังงานน้อย
เราจะเลือกเครื่องที่มีระดับ SAR เท่าไร
ในการเลือกซื้อเครื่องโทรมือถือนอกตากจะพิจารณาบริษัทที่ผลิต รุ่น แบบ ขนาด ประเภทการใช้งาน ราคา
เราจะต้องคำนึงถึง ระดับของ SAR โดยค่าปกติจะไม่เกิน 1.6 watt/Kg