1.ตั้งเป้าหมาย (อย่างมีเหตุผล)
ว่าถ้าเกษียณแล้วอยากทำอะไร และต้องการความ “รวย” ในระดับไหนและแบบไหน (ขอย้ำอีกครั้งว่า อย่างมีเหตุผล) เพื่อที่จะอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ
2.เริ่มออม
เก็บออมไปเลย 20-25% ของรายได้แต่ละเดือน ใช้ประโยชน์จากการให้เงินทำงาน หมายความถึงการฝากเงินหรือการลงทุนก่อให้เกิดดอกเบี้ยและเก็บดอกเบี้ยนั้นไปเรื่อยๆ โดยเราไม่ต้องนำไปทำอะไร
3.ควบคุมตนเอง ไม่ให้ใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย
งดอยากได้ของที่ไม่จำเป็นในตอนนี้ โดยคิดถึงการใช้ชีวิตอย่างสบายในวันหน้าเป็นหลัก เช่น อาจจะออกเที่ยวน้อยลง เป็นต้น และนอกจากนี้ควรลดการซื้อของเงินผ่อนและใช้บัตรเครดิตโดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยจำนวมหาศาล (ถึงจะดูน้อยในแต่ละงวดก็ตาม)
4.ดูแลสุขภาพตนเองและคนรอบข้าง
ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และทำจิตใจให้แจ่มใส เพื่อลดโอกาสการเกิดค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาล
5.ใช้ประโยชน์จากสิทธิทางภาษีต่าง ๆ ให้มากที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อกองทุนรวมบางประเภทที่นำไปลดภาษีได้หรือการมีประกันชีวิต ที่สิ่งเหล่านี้ ผลประโยชน์ก็ยังอยู่กับตัวคุณ
6.ใช้ชีวิตอย่างสมดุล
โดยต้องไม่ลืมว่าชีวิตคนเรามีหมวกหลายใบและมีหลายอย่างที่ต้องทำ ทั้งหน้าที่การงานชีวิตส่วนตัว ความรัก และสุขภาพ ไม่ใช่คิดถึงแต่การออมสำหรับวันหน้า แต่วันนี้ไม่มีความสุข หรือคิดถึงแต่การใช้เงินวันนี้พรุ่งนี้ แต่ไม่คิดถึงชีวิตหลังเกษียณ
7.นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึง พวกค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ 5 บาท 10 บาท ที่สิ้นเปลืองไปกับเรื่องไม่จำเป็นด้วย เพราะเงินเหล่านี้หากนำมารวมกันก็จะกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ เช่น ถ้าจะเกษียณในอีก 20 ปีข้างหน้า ความสิ้นเปลืองเล็กน้อยวันละ 10 บาท หมายถึงเงินใช้หลังเกษียณหายไปถึงกว่า 7 หมื่นบาท (ยังไม่รวมดอกเบี้ย) ท้ายที่สุด ขอฝากไว้ด้วยว่า อย่าตั้งความหวังกับการรวยทางลัด ซึ่งมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก ชีวิตหลังเกษียณอันมีคุณภาพจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเรามีวินัยในการออมเท่านั้น