L = Line เป็นสายที่มี่ศักย์ไฟฟ้า 220 V เมื่อเช็คด้วยไขควงลองไฟจะมีไฟสว่าง
N = Neutral เป็นสายไม่มีไฟ มีศักย์ไฟฟ้าเทียบกับพื้นดินเป็น 0 ในสภาวะปกติสามารถสัมผัสตัวนำด้าน N ได้
เมื่อเช็คด้วยไขควงลองไฟจะไม่มีไฟติด
ในทางปฏิบัติ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสียบเต้ารับให้ขั้ว L – N ถูกต้องตามที่ผู้ผลิตกำหนด
จะเสียบให้ L – N ถูกต้อง หรือ สลับกัน เครื่องใช้ไฟฟ้าก็ยังคงทำงานได้ตามปกติ
เพราะไฟฟ้ากระแสสลับ(ที่เราใช้ในบ้าน) ไม่มีขั้วที่ตายตัว ไฟฟ้ากระแสสลับจะสลับกันระหว่างขั้วบวกขั้วลบไปมา
50 ครั้งต่อวินาที แม้สลับขั้วเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ทำงานได้ปกติ
การสลับปลั๊กในกรณีที่เป็นสองขา ไม่มีผลใดๆต่อการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า
เว้นแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโครงเป็นโลหะบางชนิด การเสียบปลั๊กผิดด้าน อาจจะทำให้มีไฟรั่วออกมาที่ตัวถัง
แต่เมื่อกลับปลั๊กส่วนใหญ่ก็จะหาย
แต่ในกรณีที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นแบบที่ใช้เต้าเสียบ 3 ขา การที่ผู้ผลิตกำหนดขั้ว L – N มาบนตัวเต้าเสียบ
อาจมีเหตุผลประกอบเรื่องการป้องกันไฟดูดไฟรั่ว หรือไม่ก็เพื่อให้สวิทช์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัดไฟตรงส่วนสาย L (เพื่อไม่ให้ไฟเข้าไปรอในเครื่อง ในวงจร อาจสร้างความเสียหายให้อุปกรณ์ หรือ เสี่ยงอุบัติเหตุ หรือ เป็นอันตรายต่อผู้ใช้เมื่อไปสัมผัส)
ถึงแม้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับจะทำงานได้แม้สลับ L – N แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าแบบติดตั้งอยู่กับที่บางชนิด ก็ต้องต่อสาย L – N ให้ถูกต้องตามที่ผู้ผลิตกำหนด เนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยหรือเหตุผลทางด้านเทคนิค
ขั่ว N L สำคัญในเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดเช่น เครื่องทำน้ำอุ่นจำเป็นต้องจ่ายไฟให้ถูกขั่ว ไม่เช่นนั้นเวลาเปิดน้ำอาบ จะทำให้กระแสไฟฟ้าครบวงจร ซึ่งสามารถทำให้ผู้ใช้ถูกช็อตตายได้
ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มีสายกราวด์ ก็ควรต่อสายไฟให้ตรงขั่ว สาย N และ L เพราะกระแสไฟฟ้าอาจรั่วที่ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ เพราะจะมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา จะโดนไฟดูดได้ ดีที่สุดคือต่อสายกราวด์ให้เรียบร้อยครับ เช่นเครื่องทำน้ำอุ่นเป็นต้นครับ
เต้ารับสามขาที่ถูกต้อง ของไทย
ถ้า G หันไปทางขวา บนคือ L (มีไฟ) ล่างคือ N (ไม่มีไฟ)
และถ้าสังเกต จะพบว่า L N จะมีช่องเสียบ ที่รองรับหัวแบนกว้างไม่เท่ากัน อันที่เล็กกว่าหรือสั้นกว่าจะมีไฟ นั่นก็คือ ช่อง L