• August 31, 2018

    วิชชา 8 

    1.วิปัสสนาญาณ
    2.มโนมยิทธิ
    3.อิทธิวิธิ
    4.ทิพพโสต
    5.เจโต
    ปริยญาณ
    6 ปุพเพนิวาสานุสติ
    7. ทิพพจักขุ
    8.อาสวักขยญาณ

    วิชชา 8 อย่างนี้เริ่มต้นจาก วิปัสสนาญาณ หรือ ที่เราเรียกว่า วิปัสสนาภูมิก็ได้ “วิปัสสนาญาณ” แปลตรงๆ ว่า ญาณหยั่งรู้ชัดตามความเป็นจริง เราจะสังเกตว่า การที่ให้ลูกหลานได้สำรวม สงบ แล้วสังเกตดูจิตของตนแล้ว รู้ลักษณะจิต 10 อย่าง ที่จริงแล้วก็เป็นองค์คุณแห่ง วิปัสสนาญาณ เพราะรู้ชัดตามความเป็นจริงในอาการเกิดของจิต นี่เป็นหนึ่งในวิชชา 8 อย่าง

    ญาณสุดท้ายซึ่งเป็นหนึ่งใน 8 อย่างเป็นข้อสุดท้ายคือ อาสวักขยญาณ ญาณพ้นทุกข์ ญาณที่นำไปสู่ กระบวนการแห่งการพ้นทุกข์ อันนั้นเรายังไม่ถึง มันเป็นความละเอียดอ่อนขั้นสุดท้ายซึ่งไม่มีอะไรจะให้ยึดถือแล้ว

    วิชชา 3 คือความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ ได้แก่

    1. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้

    2. จุตูปปาตญาณ มีตาทิพย์และรู้การเกิดและการตายของสัตว์โลกว่าเกิดจากเหตุอะไร

    3. อาสวักขยญาณ วิชชาทำอาสวะกิเลสให้สิ้นจากกายใจ)

    พระอรหันต์ที่เรียกว่า เตวิชโช คือ ท่านผู้ทรงวิชชาสาม

    วิชชา 8  คือ ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ ได้แก่
    1. วิปัสสนาญาณ คือ ญาณในวิปัสสนา
    2. มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์ทางใจ
    3. อิทธิวิชา คือ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
    4. ทิพยโสต คือ หูทิพย์
    5. เจโตปริยญาณ คือ กำหนดรู้ใจผู้อื่น
    6. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ระลึกชาติได้
    7. ทิพยจักขุญาณ คือ ตาทิพย์
    8. อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ

    พระอรหันต์ที่เรียกว่า พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖ คือ แสดงฤทธิ์ได้(อิทธิฤทธิ์) หูทิพย์(ทิพยโสต) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) ทายใจผู้อื่นได้(เจโตปริยญาณ) ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) และญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป(อาสวักขยะญาณ))

    วิชชา 3  = ฉฬภิญโญ = ความรู้วิเศษยิ่ง 3 ประการ = 1.ทิพพจักขุญาณ 2.รู้อดีต 3.อาสวักขยญาณ = ไม่มีกิเลสเหลืออยู่ในจิตใจเลย

    วิชชา 8  = ญาณ 8  = จากมโมยิทธิกรรมฐาน

    1.ทิพพจักขุญาณ
    2.อดีตังสญาณ
    3.อนาคตังสญาณ
    4.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
    5.ปัจจัตตังสญาณ
    6.ยถากรรมฐานญาณ
    7.เจโตปริยญาณ
    8.อาสวักขยญาณ -รู้วิธีกลับสู่พระนิพพาน

    ใครก็ตามที่มีวิชชา3 และวิชชา 8 เราเรียกบุคคลนั้นว่า พระอรหัตตผลฉฬภิญโญ

    ปฏิสัมภิทาญาณ 4
    ปฏิสัมภิทาญาณ 4 คือ ความสามารถพิเศษในการสั่งสอนคนอื่น ได้แก่
    1.อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ เห็นข้อธรรมใดก็สามารถอธิบายขยายความออกไปได้โดยพิสดาร
    2.ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม สามารถสรุปข้อความได้อย่างกระชับเก็บความสำคัญได้หมด
    3.นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ คือ แตกฉานเรื่องภาษาทุกภาษาทั้งภาษาของมนุษย์และสัตว์ สาารถเข้าใจได้
    4.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ มีไหวพริบปฏิภาณดี สามารถอธิบายแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ดี ตอบคำซักถามได้แจ่มแจ้ง

    วิโมกข์ 8 
    ความหลุดพ้น, ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้นๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่ ซึ่งเป็นไปในขั้นตอนต่างๆ

    1. ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม
    2. ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณกำหนดอารมณ์ภายนอก
    3. ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า งาม(ได้แก่ ฌานของผู้เจริญวรรณกสิณ กำหนดสีที่งามหรือเจริญอัปปมัญญา
    4. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
    5. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
    6. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ โดยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเลย
    7. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่
    8. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่

    อภิญญา 6 (ความรู้ยิ่งยวด — superknowledge; ultra-conscious insight)
    1. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ — magical powers)
    2. ทิพพโสต (ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ — divine ear)
    3. เจโตปริยญาณ (ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ — penetration of the minds of others; telepathy)
    4. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ญาณที่ทำให้ระลึกถึงชาติได้ — remembrance of former existences; retrocognition)
    5. ทิพพจักขุ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ — divine eye)
    6. อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป — knowledge of the exhaustion of all mental intoxicants)

    ในอภิญญา 6 นี้ 5 ข้อแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อที่ 6 เป็นโลกุตรอภิญญา คุณวิเศษเหล่านี้ เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติธรรมด้วยตัวเอง ไม่ใช่เกิดขึ้นเพียงด้วยการบอกเล่าหรือสั่งสอนกัน ผู้ปฏิบัติธรรมถึงขั้นนั้นๆ แล้วจึงจะประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง

    วิชชา 3 คือความรู้แจ้ง ความรู้พิเศษอันลึกซึ้งด้วยปัญญา ได้แก่ ญาณ คือความหยั่งรู้ ซึ่งเกิดจาก การทำสมาธิสุดยอดเข้าถึงธรรมกาย คือ
    1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือระลึกชาติตัวเองได้
    2. จุตูปปาตญาณ คือตาทิพย์ ระลึกชาติคนอื่นได้
    3. อาสวักขยญาณ คือความรู้ที่ทำให้หมดกิเลส
    ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลายนั้น บางรูปมีญาณแก่กล้าขึ้นไปอีก คือบางรูปได้อภิญญา 6 บางรูป ได้วิชชา 8 บางรูปได้ปฏิสัมภิทาญาณ 4

    วิชชา 8 คือความรู้แจ้ง หรือความรู้วิเศษ 8 อย่าง คือ
    1. วิปัสสนาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขาร โดยไตรลักษณ์
    2. มโนมยิทธิ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์ทางใจ
    3. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น เหาะเหินเดินอากาศ แปลงกายเป็นสิ่งต่างๆ ย่อ ขยายตัวได้หายตัวได้ ฯลฯ
    4. ทิพยโสต มีหูทิพย์
    5. เจโตปริยญาณ รู้วาระจิตคนอื่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไร
    6. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
    7. ทิพยจักษุ มีตาทิพย์
    8. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำกิเลสให้สิ้นไปได้

    ญาณ 8

    1 ทิพจักขุญาณ แปลว่า ตาทิพย์ คือ มองเห็นอีกโลกหนึ่งได้ เป็นโลกทิพย์ ที่เห็นด้วยจิต ตาเนื้อหมดสิทธิ์ เพราะไม่มีความสามารถตามธรรมชาติ

    2 จุตูปปาตญาณ แปลว่า ญาณล่วงรู้สืบประวัติการเกิดของสิ่งมีชีวิต ว่าก่อนมาเกิดคนนี้เป็นใคร มาจากไหน เป็นต้น

    3 เจโตปริยญาณ แปลว่า ญาณล่วงรู้ทราบวาระจิตใจคนอื่น ดูใจได้นั่นเอง

    4 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แปลว่า ญาณระรึกชาติ ก็คือ ระลึกชาติย้อนไปดูได้

    5 อตีตังสญาณ แปลว่า ญาณทราบอดีต ในความหมายว่าย้อนอดีตไปนานแสนนานก็ทราบได้

    6 อนาคตังสญาณ แปลว่า ญาณทราบอนาคต ในความหมายว่าเล็งดูอนาคตแล้วทราบอนาคตได้

    7 ปัจจุปปันนังสญาณ แปลว่า ญาณทราบปัจจุบัน เช่น ตอนนี้คนนี้ทำอะไรอยู่ เป็นต้น

    8 ยถากัมมุตาญาณ แปลว่า ญาณทราบเหตุผลตามกรรม เช่น เพราะเหตุใดจึงเกิดมารวย สวย เก่ง อันนี้เพราะบุญส่งผล..เพราะเหตุใด จึงเกิดมา อาภัพ ลำบาก เจ็บป่วยบ่อย อันนี้เพราะอกุศลกรรมเก่าส่งผล..แล้วกรรมอะไรก็ค่อยดูอีกที



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized