สาร / วิธี | เวลา (min) | ลดสารพิษ |
แช่น้ำ (การแช่ผักทำให้สารเคมีวนเวียนอยู่ในน้ำที่แช่ ควรให้น้ำไหลผ่านผัก) | 15 | 7-33% |
ให้น้ำไหลผ่าน | 2-3 | 25-63% |
ปอกเปลือก/ลอกใบชั้นนอก | (ล้างน้ำอีกครั้ง) | 27-72% |
ล้าง แล้ว ลวก/ต้ม | เสียคุณค่าทางอาหาร | 50% |
แช่น้ำเกลือ 1ช้อนโต๊ะ:น้ำ4ลิตร | ไม่นิยม | 27-38% |
น้ำส้มสายชู เข้มข้น 5% : น้ำ 10ส่วน | 10-15 นาที | 60-84% |
เบกกิ้งโซดา (โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate))เรียกว่า “โซดาทำขนมปัง” แต่มีชื่อว่า “เบกกิ้งโซดา” (Baking Soda) (เบกกิ้งโซดามีส่วนผสมโซเดียม อาจดูดซึม ถ้าล้างไม่สะอาด รับเบกกิ้งโซดามากเกินอาจท้องเสีย) | 1/2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 10 ลิตร 15 นาที ล้างออกด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง | 90-95% |
ผงฟู (Baking Powder) (เบกกิ้งโซดา + แป้ง) | 15 นาที ผงฟู 1/2 ช้อนโต๊ะ น้ำ 10 ลิตร | > 90% |
น้ำยาล้างผัก | 15 นาที เลือกใช้ที่มีความเข้มข้นประมาณ 0.3% ในน้ำ 4 ลิตร | 25-70% |
น้ำยาล้างจานหรือน้ำยาล้างขวดนม ฟองน้ำถูเบา ๆ ลดเชื้อได้มากกว่า 95% | ||
ผงถ่าน – ผงถ่านแอคติเวทชาร์โคลหรือผงคาร์บอนกัมมันต์ (activated carbon) หรือถ่านกัมมันต์ (activate chacoal) เป็นวัสดุคาร์บอนซึ่งมีเนื้อพรุน มีคุณสมบัติในการดูดซับสูงมาก ทำให้มันสามารถจับสารในปริมาณมากมายไว้ที่ผิว จึงนำมาใช้ประโยชน์ในการล้างผักผลไม้ได้ ช่วยดูดกลิ่น ดูดสี ดูดซับสารพิษออกจากผัก แต่จะไม่ดูดซับแร่ธาตุออกไป ร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึมผงถ่านได้ จึงไม่เป็นอันตรายเพราะร่างกายขับออกได้ หากใช้ในปริมาณน้อยและแช่ไว้ไม่นานพอ ก็จะไม่สามารถดูดซับสารพิษออกมาได้หมด | ใช้ผงถ่าน 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 5 ลิตร แล้วนำผักผลไม้มาแช่ไว้ประมาณ 20 นาที แล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาด | |
ด่างทับทิม (Potassium Permanganate) สูดดมไอระเหยของด่างทับทิมมากๆ สัมผัสเข้าตา อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจและตา | 20-30 เกล็ด ผสมกับน้ำประมาณ 4 ลิตร 10นาที |
เบคกิ้งโซดา เป็นชื่อสามัญ ชื่อทางเคมีคือ โซเดียม ไบคาร์บอเนต
ใช้เป็นส่วนผสมหลักในผงฟู เพราะผงฟูจะใช้กลไกลการเกิดฟองของคาร์บอเนต กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้กรดเป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยา
ผงฟู = เบคกิ้งโซดา + ครีม ออฟ ทาร์ทา (คือกรด จำชื่อเคมีไม่ได้) + แป้งข้าวโพด
เป็นสาร ออกซิไดซ์เหมือนกัน แต่ด่างทับทิมแรงกว่า
ด่างทับทิม = โปแทสเซียม เปอร์มังกาเนต
ตัวออกซิไดซ์จะแตกตัว ทำให้โครงสร้างของสารตัวอื่นเสียไป จึงไปลดฤทธิ์ของยาฆ่าแมลง
อันดับ1 ด่างทับทิม
อันดับ2 เบคกิ้งโซดา
แต่เบคกิ้งโซดา ใช้ง่ายกว่าด่างทับทิม
ด่างทับทิมต้องใช้น้อยๆ ไม่งั้นผักผลไม้เป็นสีน้ำตาลหรือเหี่ยว เปื้อนมือ เปื้อนอ่าง
เบคกิ้งโซดา เอาไว้หมักหมูก็ได้ ใส่แป้งทอดกรอบก็ได้
เพราะเบคกิ้งโซดาไปแย่งน้ำไม่ให้เข้าไปในเม็ดแป้ง เม็ดแป้งเลยไม่บวม ไม่สุก ทำให้ทอดออกมาแล้วกรอบ
น้ำยาล้างจานหรือน้ำยาล้างขวดนม ตัวนี้ลดการปนเปื้อนที่ผิวหรือเปลือกได้ และลดการปนเปื้อนของเชื้อได้มากกว่า 95%
ข้อสังเกตุ
ขึ้นอยู่กับ ชนิดสารเคมีกำจัดแมลง ลิ้งค์นี้เป็นสรุปผล จากงานวิจัยของไทย
http://kmfda.fda.moph.go.th/Journal/Chapter/3/27_35_C4_1.59.pdf
สารเคมี ออร์กาโนฟอสเฟต ลดได้ ร้อยละ 71.9 – 74.6
สารเคมี ออร์กาโนคลอรีน ลดได้ ร้อยละ 34.2 – 48.2
ที่บอกว่าลดได้ ร้อยละ 90 – 95 นั้นต้องละลาย โซเดียมไบคาร์บอเนต ในน้ำอุ่น แล้วแช่ 15 นาที
เพราะโซเดียมไบคาร์บอเนตละลายในน้ำอุ่นได้ดีกว่า และน้ำอุ่นมีส่วนช่วยขจัดสารเคมีกำจัดแมลงได้
โซเดียมไบคาร์บอเนต
โซเดียม ไบคาร์บอเนต มีความเป็นพิษต่ำ ร่างกายสามารถทำปฏิกิริยาสะเทินกับกรดในกระเพาะอาหาร
การได้รับสารโดยการรับประทานในปริมาณเล็กน้อยไม่ก่อให้เกิดอันตราย
ค่าความเป็นพิษของโซเดียม ไบคาร์บอเนตพบว่าปริมาณสารที่ทำให้หนูตายร้อยละ 50 เมื่อให้โดยการรับประทานมีค่าเท่ากับ 4420 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
หากสัมผัสผงของโซเดียม คาร์บอเนทเข้าไปโดยตรง เช่น โดยการหายใจเข้าไปจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจและเยื่อบุเมือก ในกรณีที่สัมผัสทางผิวหนังโดยเฉพาะที่มีแผลเปิดและบริเวณตาจะก่อให้เกิดการระคายเคือง สารนี้จัดว่ามีความปลอดภัยสูงและไม่ได้อยู่ในรายชื่อของสารก่อมะเร็ง
more
https://pantip.com/topic/34347573
สารเคมีแต่ละตัวจะมีคุณสมบัติในการยึดเกาะตัววัตถุต่างกัน ดังนั้น วิธีล้างสารพิษแต่ละชนิดจึงต่างกัน สารพิษบางชนิดละลายได้ในน้ำมัน บางชนิดไม่สามารถทำลายด้วยความร้อน และที่สำคัญมากที่ไม่ค่อยมีการพูดถึง คือ สารเคมีบางตัวเป็นชนิดดูดซึม พืชจะดูดซึมสารนี้เข้าไป ซึ่งล้างไม่ออก