ยาฆ่าแมลง
คลอร์ไพริฟอส พริกแห้ง เครื่องเทศที่มีเมล็ด พริกสด กล้วย ลิ้นจี่ เนื้อโคหรือเนื้อกระบือ
คลอโรทาโลนิล มะเขือเทศ ผักคะน้า ฝักถั่วเหลืองสด ผักกาดขาว
คาร์บาริล พบได้ในทุเรียน ลำไย ข้าวฟ่าง ผลไม้ตระกูลส้ม พริกหวาน มะม่วง เป็นต้น
คาร์เบนดาซิม พบได้ในพริกแห้ง หอมแดง องุ่น เงาะ ต้นหอม กุยช่าย หอมหัวใหญ่ เป็นต้น
คาร์โบซัลแฟน พริกแห้ง กระเจี๊ยบเขียว ผักตระกูลกะหล่ำ มะเขือเทศ เมล็ดงา เป็นต้น
แคปแทน พบได้ในองุ่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง มะม่วง ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
ไซเพอร์เมทริน พบได้ในพริกแห้ง พริกสด ลิ้นจี่ ลำไย ทุเรียน ผักตระกูลกะหล่ำ เป็นต้น
2, 4-ดี พบได้ในเครื่องในและเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ข้าวสาร ข้าวโพด ข้าวฟ่าง สับปะรด เป็นต้น
เดลทาเมทริน พบได้ในเมล็ดกาแฟ ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง ต้นหอม เป็นต้น
ไดคลอร์วอส พบได้ในผลไม้ตระกูลส้ม เมล็ดธัญพืช เครื่องเทศ เนื้อสัตว์ปีก เป็นต้น
ไดโคฟอล พบได้ในเครื่องในโคและกระบือ มะเขือเทศ แตงกวา ถั่วเขียว เป็นต้น
ไดไทโอคาร์บาเมต พบได้ในพริกแห้ง ต้นหอม ผักคะน้า องุ่น มะม่วง มะเขือเทศ เป็นต้น
ไดเมโทเอต พบได้ในผลไม้ตระกูลส้ม เครื่องเทศที่มีลักษณะเป็นเมล็ด มะเขือเทศ แตงไทย เป็นต้น
ไดแอซินอน พบได้ในเครื่องเทศที่มีลักษณะเป็นเมล็ดและราก เนื้อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นต้น
ไตรอาโซฟอส พบได้ในถั่วเหลืองสด ถั่วฝักยาว ถั่วเขียว เมล็ดทานตะวัน หอมหัวใหญ่ เป็นต้น
สารพิษอะไรต้องล้างอย่างไร และล้างด้วยอะไร
“น้ำส้มสายชู เกลือ เบกกิ้งโซดา ผงถ่าน หรือด่างทับทิม ฯลฯ ต้องรู้ว่าจะใช้อะไรล้างอะไร
คาร์บาริลในแอปเปิ้ลล้างไม่ออก
อะซีเฟตในผักตระกูลกะหล่ำก็ล้างไม่ออก
รวมทั้งสารพิษบางชนิดที่เป็นนัน-ซิสเต็มมิกซึ่งล้างออกได้เพียงบางส่วน
สารพิษตกค้างแม้ผ่านการล้างแล้ว เพราะสารพิษได้ดูดซึมเข้าไปในเนื้อของผลไม้เรียบร้อยแล้ว”
คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) สารกำจัดแมลงที่มีการนำเข้าสูงสุด โดยในปี 2557 มีปริมาณนำเข้า 2 ล้านกิโลกรัม (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารผสม) การออกฤทธิ์ กินตาย ถูกตัวตาย ผลกระทบเกิดที่ระบบประสาท ส่งผลให้มีความผิดปกติทางอารมณ์ ซึมเศร้า ทำลายสารสื่อประสาทที่เซลล์ประสาท ส่งผลต่อพัฒนาการทางประสาทของทารก เป็นพิษต่อสมอง มีผลไปตลอดชีวิตคลอร์ไพริฟอส มักพบตกค้างในคะน้า ถั่วฝักยาว ถั่วหวาน ถั่วลันเตา ถั่วแระ ถั่วแขก บร็อกโคลี่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักโขม ผักฉ่อย ผักกาดฮ่องเต้ มะเขือม่วง พริก พริกแดง พริกชี้ฟ้า พริกแห้ง ผักชี ผักชีฝรั่ง ผักแพว กะเพรา สะระแหน่ ขึ้นฉ่าย กระเทียม ข้าวโพด มันเทศ มันฝรั่ง มะนาว ส้ม แอปเปิ้ล ฝรั่ง แตงโม สตรอเบอร์รี่ ราสพ์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ องุ่น ทับทิม ลิ้นจี่ สาลี่ กล้วย แก้วมังกร
พาราควอต (Paraquat) ในปี 2557 มีปริมาณนำเข้า 21 ล้านกิโลกรัม พาราควอตมีพิษสูงและไม่มียาต้านพิษ หากใช้พาราควอตในการเก็บเกี่ยว เช่น ถั่วเขียว มีโอกาสสูงที่จะพบการตกค้างในผลผลิต เป็นสารเคมีไม่ระเหยจึงแขวนลอยเป็นอนุภาคอยู่ในอากาศ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ไอ ปัญหาสายตา ท้องเสีย ระคายเคือง ปวดหัว คลื่นไส้ ถ้าสัมผัสโดยตรงจะชักนำให้เซลล์ตาย ผิวหนัง ตา ปอดเสียหาย ทำลายเซลล์ประสาท รบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ ไต ตับ หัวใจพาราควอตตกค้างยาวนาน โดยมีค่าครึ่งชีวิตในน้ำ 2-820 ปี (FAO, 2008) ในดิน 10-20 ปี (UNEP, 2011) ในประเทศไทยมีรายงานการตกค้างของพาราควอตในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสงคราม แม่น้ำปากพนัง และแม่น้ำจันทบุรี พบการตกค้างของพิษในสัตว์น้ำ
ไกลโฟเซต (Glyphosate) สารกำจัดวัชพืชยอดนิยม ที่ในปี 2557 ปริมาณนำเข้า 63 ล้านกิโลกรัม คิดเป็น 40% ของสารกำจัดศัตรูพืชทั้งหมด มูลค่าการนำเข้า 4,531.25 ล้านบาท แต่มูลค่าการตลาดสูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท/ปี นิยมใช้กำจัดวัชพืช หากใช้ในภาคการเกษตรจะปนเปื้อนแหล่งน้ำ น้ำใต้ดิน และน้ำดื่ม มักพบตกค้างในถั่วเหลืองจีเอ็มไอ นมโค น้ำผึ้ง และซอสถั่วเหลือง เหนี่ยวนำเซลล์มะเร็ง จับกับโลหะหนักก่อโรคไต และเป็นพิษต่อระบบประสาท