• June 3, 2013

    คุณแช่มช้อย เลขาฯ มือทองจากบริษัท ก. ต้องการเปลี่ยนงานจึงตัดสินใจไปสมัครงานกับบริษัท ฮ. ด้วยประสบการณ์ทำงานกว่า 5 ปี การสัมภาษณ์งานดำเนินไปด้วยดีจนถึงขั้นตอนการเจรจาต่อรองเงินเดือน ทางบริษัทแจ้งคุณแช่มช้อยว่า จะให้เงินเดือนคุณแช่มช้อย 18,000 บาท ความรู้สึกไม่เห็นด้วยก็บังเกิดขึ้นมาภายในใจของคุณแช่มช้อยทันที เธอคิดว่าเธอควรจะได้เงินเดือนสัก 20,000-25,000 บาท แต่ด้วยความที่คุณแช่มช้อยเป็นคนเรียบร้อย พูดน้อย แช่มช้อยสมชื่อจึงได้แต่ เอ่อ…อ่า… ไม่กล้าพูดออกไป และลงท้ายด้วยคำว่า “ได้ค่ะ”
    เป็นอันว่า บริษัท ฮ. ตกลงรับคุณแช่มช้อยเข้าทำงานด้วยเงินเดือน 18,000 บาท ถ้าคุณเป็นคุณแช่มช้อย คุณจะทำอย่างไร???
    ถ้าคุณต้องการเรียกเงินเดือนที่มากขึ้น คุณต้องทำให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่า คุณสมควรที่จะได้รับเงินเดือนตามที่คุณคาดหวัง ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรจะทำ
    1. รู้ว่าตัวคุณมีค่าแค่ไหน
    การ มีข้อมูลที่ดี จะช่วยให้การเจรจาทำได้ง่ายขึ้น หากคุณรู้ว่าตัวเองอยู่ตรงจุดไหนเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ ในสาขาเดียวกับคุณ โดยคุณอาจจะไถ่ถามจากเพื่อนหรือครอบครัวของคุณที่ทำงานในสาขาเดียวกับคุณ หรือในระดับเดียวกับคุณ เพื่อประเมินว่าระดับเงินเดือนที่คุณควรจะได้รับควรเป็นเท่าไร
    เมื่อข้อมูลพร้อมแล้ว คุณอาจพูดต่อรองดังนี้
    “จาก ข้อมูลที่ดิฉันได้จาก การสำรวจระดับเงินเดือนของเลขานุการที่มีประสบการณ์การทำงาน 5 ปี อัตราเงินเดือนจะอยู่ที่ 20,000- 25,000 บาท ดิฉันรู้สึกว่าเงินเดือน 18,000 บาทที่คุณเสนอมานั้นค่อนข้างต่ำ ด้วยประสบการณ์และความสำเร็จต่างๆ ของดิฉัน ดิฉันคิดว่า เงินเดือน 23,000 บาทซึ่งอยู่ช่วงตรงกลางน่าจะเหมาะสมมากกว่าค่ะ”
    2. คิดให้มากกว่าเรื่องเงินเดือน
    หาก คิดในทางกลับกัน บริษัทอาจไม่ได้ต้องการเอาเปรียบคุณด้วยการกดเงินเดือนแต่อย่างใด จริงๆ แล้วบริษัทอาจไม่เคยจ้างเลขานุการด้วยเงินเดือน 23,000 บาทเลยก็ได้ ดังนั้นอย่าเพิ่งปฏิเสธงานเพราะไม่ได้รับเงินเดือนตามที่คาดหวัง ถึงแม้เงินเดือนจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่การได้งานทำสำคัญยิ่งกว่า
    วาง เรื่องเงินเดือนเอาไว้ก่อน แล้วลองเจรจาเรื่องสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ดู เช่น โอกาสในการโยกย้ายสาขา ชุดพนักงานฟรี รถประจำตำแหน่ง วันหยุดพักผ่อนประจำปี โบนัสสิ้นปี สิทธิในการรักษาพยาบาล การทำฟัน การยืดหยุ่นในเรื่องชั่วโมงทำงานหรือวันทำงาน คอมพิวเตอร์ประจำตัว หรือโทรศัพท์ประจำตัว เป็นต้น
    มาดูกันว่าคุณควรจะต่อรองอย่างไร
    “ดิฉัน เข้าใจดีว่า คุณไม่สามารถให้เงินเดือนดิฉันได้มากกว่านี้ แต่ที่ทำงานเก่าของดิฉัน ให้วันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ไม่ทราบว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ที่ดิฉันจะได้รับวันหยุดเพิ่มเป็นพิเศษ”
    3. เพียงคุณกล้าที่จะต่อรอง
    ไม่ต้องกลัวหรือรู้สึกไม่ดีที่ต้องเจรจาต่อรอง ผู้หางานหลายต่อหลายคนทำลายโอกาสของตนด้วยการไม่ยืนหยัดรักษาสิทธิ์ที่พึงจะได้
    มีวิธีพูดอยู่ 2 วิธีให้คุณเลือก คุณคิดว่าพูดแบบไหนจึงจะได้ตามที่คุณต้องการ
    • “ฉันมีข้อสงสัย คือถ้าบางที คุณอาจจะพิจารณาค่าชดเชยที่ดิฉันต้องย้ายมาที่นี่ ฉันหมายถึง ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ฉันแค่หวังว่าบางทีคุณอาจจะให้เงินพิเศษกับดิฉันสักเล็กน้อย”
    • “การที่ดิฉันย้ายจากกาญจนบุรีเข้ากรุงเทพฯ ในครั้งนี้ทำให้ดิฉันมีค่าใช้จ่ายในการโยกย้ายเกิดขึ้น ไม่ทราบว่าทางบริษัทมีนโยบายช่วยเหลือในเรื่องนี้อย่างไรบ้างคะ”
    แน่นอนว่า วิธีพูดแบบที่สอง แสดงถึงความมั่นใจที่มากกว่า ทำให้คุณมีภาษีดีกว่าคนที่กล้าๆ กลัวๆ จริงอยู่การเจราต่อรองเงินเดือนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ด้วยวิธีการพูดที่ดี จะทำให้คุณได้ในสิ่งที่คาดหวัง หรืออย่างน้อยก็ได้มากกว่าที่คุณไม่ต่อรองอะไรเลย
    อย่างไรก็ดี ก่อนจะเจรจาต่อรองเงินเดือน ควรสอบถามเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจนก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า อัตราเงินเดือนที่คุณต้องการนั้น เหมาะสมกับหน้าที่ที่คุณต้องรับผิดชอบแล้วจริงๆ



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized