• August 31, 2018

    เลิกกดน้ำจากตู้พวกนี้โดยเด็ดขาด  และหันมาลงทุนซื้อเครื่องกรองน้ำใช้เองในบ้าน

    เอาส่องดูกับแดด เห็นน้ำมีเส้นขาวๆ ลอยเต็มไปหมด
    เททิ้ง กรอกจากน้ำอาบ ยังสะอาดกว่า

    คาดว่าไม่มีการทำความสะอาดตู้กดน้ำ
    ความสกปรกจึงสะสม ทำให้สกปรกกว่าน้ำในห้องน้ำอีก

    วิธีตรวจสอบตู้น้ำหยอดเหรียญ         วิธีตรวจสอบว่าสะอาดได้มาตรฐานหรือไม่  ทำได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
    1. สภาพภายนอกของตู้ต้องสะอาดไม่มีคราบสกปรกจับสกปรก
    2. ตัวตู้ต้องทำจากวัสดุที่แข็งแรงทนทาน
    3. ไม่ผุกร่อนหรือเป็นสนิม
    4. ตั้งอยู่ในที่ถูกสุขอนามัย เช่น  อยู่ห่างจากถังขยะ หรือ ถนนใหญ่
    5. หัวจ่ายน้ำต้องทำจากสะแตนเลสอย่างดี  ไม่ใช่ท่อพลาสติกหรือสายยาง
    6. หัวรับน้ำและช่องจ่ายน้ำต้องไม่มีตะใคร่จับเป็นคราบสกปรก
    7. ส่วนบรรจุน้ำในตู้ต้องมีฝาปิดมิดชิด
    8. มีสติ๊กเกอร์รับรองมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ  ระบุชื่อผู้ตรวจ  ชื่อบริษัท  และวันเวลาที่  ที่ทำการตรวจสอบตรวจ  พร้อมทั้งวันเวลาที่เปลี่ยนไส้กรองน้ำอย่างน้ ทุก  3  เดือนอย่างชัดเจน

    สาธารณสุข แฉ!เอง ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทั่วประเทศ ไม่ผ่านเกณฑ์เพียบ

    ผงะพบสารปนเปื้อน เชื้อโรคอื้อ

    Mthai News ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    ได้ดำเนินโครงการสำรวจสถานการณ์ความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญในปี 2555 เพื่อประเมินคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญทั่วประเทศ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำตรวจวิเคราะห์จำนวน 1,871 ตัวอย่าง พบว่า

    ไม่ผ่านมาตรฐานจำนวน 633 ตัวอย่าง คิดเป็น 33.8 % โดยมีตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐานทางด้านเคมี 487 ตัวอย่าง คิดเป็น 26% ซึ่งได้แก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ค่าความกระด้างหรือมีปริมาณสิ่งแปลกปลอมสูงเกินมาตรฐาน

    นอกจากนี้ในบางพื้นที่ ยังตรวจพบสารปนเปื้อนที่คาดว่าอาจเป็นปัญหา โดยตรวจพบ ไนเตรท มากที่สุด 1.5 % รองลงมา ได้แก่ แมงกานีส 0.5 % ฟลูออไรด์ 0.3 % สังกะสี 0.2 % เหล็กและตะกั่ว 0.1%

    และในการทดสอบความปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ พบตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐาน 303 ตัวอย่าง คิดเป็น 16.2% โดย พบเชื้อโคลิฟอร์มมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นจำนวนกว่า 80 % ของตัวอย่างที่ผิดมาตรฐานในด้านนี้

    เชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ที่ตรวจพบ รองลงมาได้แก่ อี.โคไล และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ เช่น แซลโมเนลล่า และแสตปฟิโลค็อกคัส ออเรียส นอกจากนี้ในบางพื้นที่ยังตรวจพบเชื้อก่อโรคอื่นๆ เช่น บาซิลลัส ซีเรียส และ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์

    :D

    กรมอนามัยเตือนหน้าร้อนระวังโรคจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญมาตรฐานต่ำ (สำนักข่าวไทย)

    นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการเลือกใช้บริการน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญอย่างปลอดภัย ในช่วงหน้าร้อนว่า ก่อนเลือกใช้บริการจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ควรให้ความใส่ใจต่อมาตรฐานของตู้น้ำดื่มที่ให้บริการตามจุดต่าง ๆ ด้วย เพราะหากน้ำดื่มภายในตู้ไม่สะอาด หรือมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ในน้ำ จะส่งผลกระทบต่อการเจ็บป่วย ด้วยโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อตามมาได้ เช่น โรคบิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ไวรัสตับอักเสบเอ

    ดังนั้น การเลือกใช้บริการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญแต่ละครั้ง ให้สังเกตสภาพภายนอกตู้ต้องสะอาด ไม่สกปรก ทำจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ไม่ผุกร่อน หรือเป็นสนิมจนน่ารังเกียจ จุดติดตั้งต้องมีความสะอาดโดยรอบ ตั้งอยู่บนพื้นที่เหมาะสม มีสุขอนามัย ไม่ใกล้ถังขยะหรือสิ่งปฏิกูล ช่องรับน้ำภายในตู้ต้องสะอาด มีฝาปิดมิดชิด ไม่เป็นคราบสกปรก ปราศจากฝุ่นละอองและคราบอื่นใด

    นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับการนำขวดพลาสติกหรือภาชนะอื่น ๆ มารองน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ โดยหมั่นทำความสะอาดภาชนะเหล่านั้นเป็นประจำ และก่อนการนำมาใช้ซ้ำทุกครั้งต้องล้างขวดให้สะอาด โดยใช้น้ำเขย่าให้ทั่วภาชนะแล้วเททิ้ง ทำเช่นนี้ประมาณ 1-2 ครั้ง

    แต่ถ้ามีเวลามากพอก็ควรจะล้างภาชนะดังกล่าวด้วยน้ำยาล้างจาน โดยใช้แปรงขนอ่อนขัดล้าง ไม่ควรใช้แปรงขนแข็ง เพราะจะทำให้เกิดรอยขีดข่วนและเป็นแหล่งสะสมเชื้อจุลินทรีย์ จากนั้นจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด เสร็จแล้วจึงนำไปเติมน้ำจากตู้น้ำต่อไป

    สธ.สำรวจคุณภาพน้ำดื่มตู้น้ำหยอดเหรียญทั่วประเทศ ปี 2555 รวม 1,871 ตัวอย่าง พบว่า ไม่ผ่านมาตรฐาน 633 ตัวอย่าง พบน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ไม่ได้ตามมาตรฐาน และพบเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษ แนะผู้ประกอบการหมั่นดูแลบำรุงรักษาเครื่องกรองน้ำ อาจเกิดการสะสมเชื้อก่อโรคที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้

    นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สธ.กล่าวว่า สธ.มีนโยบายด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค และลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ โดยให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขมีกระบวนการกำกับดูแลมาตรฐานและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพและอาหาร ให้ปราศจากสารปนเปื้อนและเชื้อก่อโรค เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน จากการเปลี่ยนแปลงสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนตามความเจริญของเทคโนโลยี ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เน้นความสะดวกสบาย พฤติกรรม การบริโภคจึงเปลี่ยนไป ประชาชนในปัจจุบันนิยมบริโภคอาหารสำเร็จรูป รวมทั้งน้ำดื่มที่สะดวกในการซื้อหา ส่วนใหญ่จึงนิยมซื้อน้ำบริโภคที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท ซึ่งค่อนข้างมีราคาแพง ดังนั้น จึงมีการนำตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญมาติดตั้งให้บริการ กระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งชุมชนเมือง ตามหอพัก คอนโดมิเนียม หน้าร้านค้าในหมู่บ้าน หรือริมถนน ปั๊มน้ำมัน หรือสวนสาธารณะ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น และมีราคาถูก ผู้บริโภคสามารถนำภาชนะขนาดใดก็ได้มาบรรจุน้ำดื่มกลับบ้าน บางครั้งพบว่าสภาพภายนอกของตู้น้ำหยอดเหรียญดูสกปรก รวมทั้งบริเวณช่องจ่ายน้ำ ตู้น้ำส่วนใหญ่ตั้งอยู่กลางแจ้ง หรือตั้งอยู่ข้างถนนที่มีฝุ่นละออง ในบางแห่งยังมีน้ำขังบริเวณพื้นที่ตั้ง บางตู้อยู่ใกล้ถังขยะ หรือมีสัตว์มาอาศัย เป็นที่นอนและถ่ายของเสีย

    นพ.สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ดำเนินโครงการสำรวจสถานการณ์ความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญในปี 2555 เพื่อประเมินคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญทั่วประเทศ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำตรวจวิเคราะห์จำนวน 1,871 ตัวอย่าง พบว่า ไม่ผ่านมาตรฐานจำนวน 633 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 33.8 โดยมีตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐานทางด้านเคมี จำนวน 487 ตัวอย่าง (ร้อยละ 26) ซึ่งได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ค่าความกระด้าง หรือมีปริมาณสิ่งแปลกปลอมสูงเกินมาตรฐาน นอกจากนี้ ในบางพื้นที่ยังตรวจพบสารปนเปื้อนที่คาดว่าอาจเป็นปัญหา โดยตรวจพบไนเตรทมากที่สุด (ร้อยละ 1.5) รองลงมา ได้แก่ แมงกานีส (ร้อยละ 0.5) ฟลูออไรด์ (ร้อยละ 0.3) สังกะสี (ร้อยละ 0.2) เหล็กและตะกั่ว (ร้อยละ 0.1) ตามลำดับ และในการทดสอบความปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ พบตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐานจำนวน 303 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 16.2 โดยพบเชื้อโคลิฟอร์ม (Coliform) มากที่สุด ซึ่งคิดเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 80 ของตัวอย่างที่ผิดมาตรฐานในด้านนี้ เชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ที่ตรวจพบ รองลงมา ได้แก่ อี.โคไล (E.coli) และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ เช่น แซลโมเนลล่า (Salmonella) และ แสตปฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ตามลำดับ นอกจากนี้ ในบางพื้นที่ยังตรวจพบเชื้อก่อโรคอื่นๆ เช่น บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) และ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) อีกด้วย

    นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การสำรวจน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญ แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการ หรือผู้รับผิดชอบน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญบางรายขาดการดูแลบำรุงรักษาเครื่องกรองน้ำ ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ทำให้ประสิทธิภาพการกรองต่ำลง และ เกิดการสะสมของจุลินทรีย์ ทำให้ตรวจพบสารปนเปื้อนซึ่งแสดงว่าน้ำดื่มไม่ได้มาตรฐาน และการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์ม อี.โคไล และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษก็แสดงว่าน้ำไม่สะอาดและไม่ควรบริโภค เพราะเชื้อโคลิฟอร์ม อี.โคไล นั้นเป็นจุลินทรีย์ที่บ่งบอกสุขลักษณะความสะอาดของน้ำดื่ม นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้บริโภคได้รับเชื้อโรคอาหารเป็นพิษจะทำให้เกิดอาการทางเดินอาหารได้ภายใน 2-24 ชั่วโมง ผู้ที่ได้รับเชื้อดังกล่าวอาจมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ และเกิดตะคริวที่ท้องได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่ติดตั้งตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญให้ดูแลและบำรุงรักษาตู้หลังการติดตั้งอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งกำหนดเกณฑ์หรือมาตรฐานการผลิตที่เหมาะสม เพื่อใช้กำกับและควบคุมธุรกิจการผลิตน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญให้ได้คุณภาพและปลอดภัย โดยผู้ประกอบการและผู้รับผิดชอบดูแลตู้ควรมีความรับผิดชอบใส่ใจในคุณภาพความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วย

    สุดเน่า! พบ “ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” กทม.ขึ้นสนิม หัวจ่ายสกปรก ตั้งใกล้น้ำเสีย อึ้ง! มีใบอนุญาตฯแค่ 8%

    นักวิจัยเผย “ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” ใน กทม. มีใบอนุญาตฯ แค่ 8.24% พบติดตั้งใกล้ฝุ่น 76.3% ใกล้แหล่งระบายน้ำเสีย 28.3% ใกล้ที่ทิ้งขยะ 22% ส่งผลด้านความปลอดภัย ตู้ขึ้นสนิม 29% มีรูรั่วซึม ผุกร่อน หัวจ่ายน้ำไม่สะอาด แนะมาตรการป้องกัน

    สุดเน่า! พบ “ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” กทม.ขึ้นสนิม หัวจ่ายสกปรก ตั้งใกล้น้ำเสีย อึ้ง! มีใบอนุญาตฯแค่ 8%

    วันนี้ (2 พ.ย.) น.ส.มลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิจัยอิสระ นำเสนอผลการศึกษา “สถานการณ์ความปลอดภัยของการบริโภคน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในกรุงเทพมหานคร” ในงานแถลงข่าว “ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ…ผู้บริโภคไว้ใจได้แค่ไหน” จัดโดยคณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ว่า จากการสุ่มสำรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทำในพื้นที่ กทม. 18 เขต รวม 855 ตู้ พบว่า 1. มีการขออนุญาตการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ 1,117 ราย มีใบอนุญาตฯ เพียงร้อยละ 8.24 เท่านั้น 2. สถานที่ตั้งตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญไม่เหมาะสม คือ อยู่ใกล้บริเวณที่มีฝุ่นมาก ร้อยละ 76.3 เช่น ริมถนน ริมทางเท้า อยู่ใกล้แหล่งระบายน้ำเสีย/น้ำขัง ร้อยละ 28.3 อยู่ใกล้ที่ทิ้งขยะทำให้มีแมลงสาบ หนู แมลงวัน ร้อยละ 22 โดยตู้ที่ยกระดับให้สูงจากพื้นอย่างน้อย 10 เซนติเมตร มีร้อยละ 52.3 มีจุดวางพักภาชนะบรรจุน้ำร้อยละ 88.9

    น.ส.มลฤดี กล่าวว่า 3. การติดฉลากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พบว่า แสดงรายงานการตรวจสอบคุณภาพน้ำร้อยละ 6 แสดงข้อแนะนำในการใช้ตู้ร้อยละ 20 แสดงรายงานการเปลี่ยนไส้กรองร้อยละ 7 แสดงคำเตือน “ระวังอันตรายหากไม่ตรวจวัน เดือน ปี ที่เปลี่ยนไส้กรองและตรวจสอบคุณภาพน้ำ” ร้อยละ 26.1 แสดงเบอร์ติดต่อกรณีเครื่องมีปัญหาร้อยละ 50.5 4. ลักษณะทางกายภาพของตู้พบ เป็นสนิมร้อยละ 29.4 มีรูรั่วซึมร้อยละ 11.2 มีการผุกร่อนร้อยละ 21.1 หัวจ่ายน้ำไม่สะอาดร้อยละ 42.9 ตัวตู้ไม่สะอาดร้อยละ 55.2 5. แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่มมีการใช้น้ำประปาในการผลิตร้อยละ 93.8 ส่วนร้อยละ 6.2 ไม่มีการระบุ และ 6. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาดตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญพบว่ามีการล้างถังเก็บน้ำภายในตู้ทุกเดือนเพียงร้อยละ 43.3

    “การแก้ปัญหานั้น ผู้ประกอบการต้องขอใบอนุญาตฯ และจัดสถานที่ให้เหมาะสมก่อนการติดตั้งตู้ โดยสำนักอนามัย กทม. ต้องติดตามและตรวจสอบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทั้งหมด ถ้าพบว่าไม่ได้รับใบอนุญาตฯ ต้องเรียกเจ้าของตู้ให้มาดำเนินการตามกฎหมาย หากไม่สามารถติดต่อได้รื้อถอนตู้ นอกจากนี้ เสนอให้ติดสติกเกอร์ทุกตู้ที่ได้ใบอนุญาตฯ ส่วน อย. ควรเก็บตัวอย่างน้ำตรวจวิเคราะห์ เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัย หากน้ำที่ผลิตจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญไม่เป็นไปตามมาตรฐานให้ดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด เป็นต้น ขณะที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ต้องติดตามกำกับดูแลเครื่องผลิตน้ำดื่มแบบหยอดเหรียญ ให้เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม” น.ส.มลฤดี กล่าว

    น.ส.มลฤดี กล่าวว่า ส่วนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ต้องบังคับให้ผู้ประกอบที่ได้รับใบอนุญาตฯ ต้องขออนุญาตการติดฉลาก รวมถึงติดตามการติดฉลากและการระบุวันเดือนปีที่เปลี่ยนไส้กรองแต่ละชนิด วันเดือนปีที่ตรวจสอบหัวจ่ายน้ำ ช่องรับน้ำ ช่องรับเหรียญ และรายงานการตรวจสอบคุณภาพน้ำ บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังต่อผู้ผลิตเพื่อขายหรือผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ไมมีการติดฉลากหรือการแสดงฉลากนั้นไม่ถูกต้อง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized