พื้นสัมผัสผิว เส้นตรง < เส้นโค้ง
เวคเตอร์ของแรง
– ดาบตรง มีทิศเดียว
– ดาบโค้ง มีแรงกระทำ ต่างมุม มากกว่า จะเกิดแรงเฉือนถึงแม้จะฟันตรงๆ
ดาบโค้ง ใช้ตัดเฉือนได้ดี แทงไม่ดี
ดาบตรง ใช้แทงดี ตัดการเฉือนสู้ดาบโค้งไม่ได้ (เช่น ดาบอาหรับ)
ชาวอาหรับจะรบบนหลังม้าหลังอูฐ ดาบโค้งคล่องตัวมากกว่า เพราะ เมื่อฟันลงไปแล้วตัวดาบจะไม่ฝังลงไปบนเป้าหมาย(เน้นเฉือน) ทำให้ความเร็วของดาบจะไม่ลดลง ผู้ใช้ไม่สะดุดหรือเสียหลักตกจากหลังม้า
ทางฝั่งยุโรปนักรบจะสวมเกราะ ทำให้ดาบต้องเน้นฟันลงไปแรงๆเพื่อให้ทะลุเกราะหรือเสื้อที่ถักจากโซ่ และเน้นแทงด้วย เพราะโดยปกติแล้วชุดเกราะจะมีช่องว่างระหว่างรอยต่อของข้อพับต่างๆ ทำให้การแทงง่ายกว่าการฟันลงไปตรงๆ
ร้ายขายหมู มี ปังตอ แบบตรง และ แบบโค้ง สับ แล่ หั่น ต่างกัน
1.ทำไมดาบญี่ปุ่นต้องตีให้โค้งด้วย ทำแบบตรงไม่ได้หรือ
ดาบญี่ปุ่นแรกๆ ใช้ดาบของราชวงศ์ถัง และ โคคุริยอ เป็นกระบี่ตรงๆ ญี่ปุ่นพัฒนาดาบในแนวตนเอง ความโค้งครั้งแรก เกิดจากความ บังเอิญ เพราะญี่ปุ่นตีดาบเองใช้ ยังมีขนบนิยมใช้ดาบในยุคแรกคือ กระบี่จีน (剣:เจี้ยน) และ ดาบคมเดียว (刀: เตา) ซึ่งทั้งสองแบบยังตรงอยู่
ความโค้งโดยบังเอิญ เกิดจากการชุบแข็งด้วยน้ำ เมื่อเหล็กร้อนจัด จุ่มน้ำเหล็กหดตัว ทำให้เกิดการแอ่นโค้งตามคลิ๊ป
การแอ่นเกิดขึ้น ยิ่งดาบหน้ากว้างน้อย และยาว ยิ่งแอ่นโค้งมาก จากนั้น ญี่ปุ่นได้เรียนรู้ และใช้ความโค้งของดาบให้เป็นประโยชน์ เนื่องจากระยะแรก ซามูไรขี่ม้ารบกัน การจะใช้ดาบที่มีความโค้ง เพื่อฟันจากหลังม้าจึง มีความคล่องตัวและประสิทธิภาพมากกว่า ดาบตรง
จากนั้น เมื่อชุบแล้วโค้ง ช่างดาบญี่ปุ่นจึงมาดัดโค้ง ห้ได้องศาตามที่ต้องการ ความโค้งมีส่วนในการ สร้างแรงต่อเนื่องจากการฟันด้วย เมื่อฟันในแนวประทะ 90 องศา ต่อไปเมื่อใบโค้งจะ เข้าสู่ กลไก การปาด เพราะแรงกระทำต่อใบที่โค้ง ทำให้เกิดการหักเหทิศทาง จึงเกิดการ ฟัน-ปาด ในครั้งเดียว
มายุคหลังๆ ดาบญี่ปุ่นจะเริ่มโค้งน้อย และตรงมากขึ้นเพราะการรบเริ่มมาอยู่บนพื้นดินเป็นหลัก ดูภาพการวิวัฒนาการของดาบแต่ล่ะยุค ขวาสุดยุคแรก ซ้ายสุดยุคปัจจุบัน
การรบบนหลังม้าเหมาะกับการใช้ดาบ ตาชิ ซึ่ง ยาว/ใบเรียวเล็ก/โค้ง กว่า
แต่พอยุค เซนโกกุจิได สงครามกลางเมือง การรบเปลี่ยนจากหลังม้ามาเป็นพื้น ทำให้ต้องการดาบ คะตะนะ ที่โค้งน้อย และสั้นกว่า และ ใบที่กว้างกว่า เพื่อสะดวกในการชักดาบได้เร็ว
ดาบญี่ปุ่นไม่ทำสองคม ทำคมข้างเดียว
ก่อนนั้นญี่ปุ่นใช้กระบี่จีนสองคม กระบี่ มีข้อพกพร่อง
– รบบนหลังม้าไม่สะดวก เพราะใบตรง
– ผลิตชุบแข็งยาก เพราะมีคมสองข้าง
– มีพื้นที่ที่เป็นส่วนเนื้อกลางเพื่อความแข็งแรงน้อย ผลให้เปราะและหักง่าย ญี่ปุ่นเลยพัฒนาไปใช้ดาบคมเดียว
ดาบญี่ปุ่นจำเป็นไหมต้องตีเรียวๆบางๆ จะตีเล่มใหญ่ๆใบกว้างๆได้ไหม
เมื่อก่อนชาวญี่ปุ่นตัวเล็ก ดาบยังต้องจับสองมือ การใช้ดาบใบกว้างๆใหญ่มากๆไม่สะดวก ดาบญี่ปุ่น หน้ากว้างใบไม่ใหญ่มาก แต่ชดเชยความแข็งแรงด้วยความหนาของใบ สันดาปมีความหนาเฉลี่ย 4 mil -5mil ทำให้ดาบมีน้ำหนักพอควร แต่ไม่หนักเกินไป ควบคุมด้วยมือเดียวได้ นน.ใบดาบ 900 g – 1300 g เฉลี่ย 1 Kg. นิดหน่อย เพียงพอสำหรับการใช้งาน
ดาบคมพอๆกับใบมีดโกน แต่หนัก 1กก. ทำร่วงจากพื้น สูง 100 ซม. ลองคำนวณ นน/ อัตราเร่ง/แรง จะมีอำนาจทำลายขนาดไหน ใบดาบญี่ปุ่นเรียวยาว ทำให้พกพาสะดวก และทำให้ซามูไรชักดาบต่อสู้ได้รวดเร็ว
ที่ดาบโค้งเวลาแช่น้ำ เพราะว่า เหล็กแต่ละส่วนของดาบ หดตัวไม่เท่ากัน สันดาบที่ทำจากเหล็กนิ่มแต่เหนียว จะหดตัวมากกว่าส่วนคม อย่างไรก็ตาม ดาบที่ตีโดยเหล็กชนิดเดียวตลอดใบ ก็แอ่นเหมือนกัน แต่ จะน้อยกว่า
การสะพายดาบเอาสันขึ้นกับสันลงมันต่างกันยังไง
การสะพายดาบเอาสันขึ้นกับสันลง ต่างกันยังไง?
ตาชิกับคะตะนะ
ภาพบน ตาชิเอาคมลงพื้น
ภาพล่าง คะตะนะเอาคมขึ้น
กายภาพของดาบทั้งสองชนิดเหมาะแก่การเหน็บต่างกัน เอื้อให้ชักดาบสะดวกต่างกัน
กล่าวคือ ..
ตาชิ เหน็บแบบ คะตะนะ จะชับดาบได้ไม่ถนัด เพราะตัวดาบมันโค้งลงและยาวมากลากพื้น
คะตะนะ สั้นกว่าและโค้งน้อยกว่า
พอเอาคมขึ้นสะดวก ชักได้ไวกว่า
ตามความรู้ง่อยๆ ของผมสำหรับ คาตาน่า ตอนเดินเท้า
ถ้าแค่เอาดาบออกจากฝักทั้งสองแบบไม่ต่างกันมาก
ถ้าชักออกมาเพื่อเข้าสู่ท่าเตรียมพร้อมหรือฟัน การหงายคมขึ้นทำได้เร็วกว่า จะเปลี่ยนองศาที่ฟันออกมาก็สามารถบิดข้อมือข้างที่กำฝักได้มากกว่าแบบเอาคมลงข้างล่าง
คะตะนะ เอาคมขึ้นทำให้ชัดดาบได้ไว เพราะ สันดาบ เป็นตัวสไลด์กับฝักภายใน ไม่ใช่คมดาบ รูดกับฝัก
ดึงฝักถอยหลังตอนชักดาบคาตานะออกมาด้วย
หอกที่ คล้ายเหล็กขูดชาฟ คือ มีสันใบสามด้าน มีความคมทุกด้าน แทงเข้าเกราะญี่ปุ่นได้ง่ายครับ ลักษณะแทงย้อนเกล็ด ปลายสามเหลี่ยมจะแหวก ช่องระหว่างเกราะเข้าไป ทำลายผู้สวมใส่ได้ และแผลจากการถูกแทงจะ สาหัสกว่าการถูกมีด หรือดาบแทง
การวางดาบ หลักนิยม
ดาบตาชิ วางเอาคมลง
เป็นดาบ สมัยยุคแรก ใช้รบบนหลังม้า พอยุคถนัดนิยมพลเดินเท้ามากขึ้น ซามุไรที่บัญชาการรบบนหลังม้าต้องใช้ดาบตาชิ ดาบตาชิเลยกลายเป็นดาบของซามุไรชั้นสูงไปโดยปริยาย การวางเอาคมลง ถืออุดมคติเหมือนการเหน็บดาบตาชิที่ต้องห้อยเอาคมลง
ดาบคะตะนะ (วากิซาชิ , ตันโตะ )
เป็นดาบที่ใช้สำหรับซามูไรพลเดินเท้า ยุคแรกๆ เพราะสั้นกว่า โค้งน้อยกว่า เวลาพกพาจะเหน็บเอาคมขึ้นบน ทำให้เวลาวางโชว์ ก็จะวางเอาคมขึ้น
ไม้เท้าซ่อนใบมีดที่เรียกว่าชิโคะมิซุเอะ ทำไมใบดาบจึงไม่โค้งงอ และดีกว่าดาบที่โค้งงอมั้ย?
จุดประสงค์ ซ่อนใบไว้ ถ้าทำโค้ง คนก็รู้ว่าเป็นดาบ ส่วนมากใบดาบของ ชิโคมิซุเอะ หน้ากว้างใบจะแคบ ทำให้ใส่ฝักไม้เท้าได้แนบเนียน ประสิทธิภาพก็ต่ำกว่าดาบธรรมดา เพราะใบเล็กและสั้น แต่แลกมากับความคล่องตัว พกง่ายใช้ในระยะประชิดได้ดี ไม่เป็นเป้าสายตา
ดารโค้งมากน้อย อยู่ที่การควบคุมอุณภูมิไฟ และ การทาโคลน ดาบเมื่อชุบ โค้งไม่ได้เกินมาก เพราะจะแตก แต่ช่างมาดัดโค้งเฉพาะจุดด้วยก้อนทองแดงเผาไฟ ทีหลัง ดังนั้นการทำให้ตรงหลังชุบ ไม่ใช่เรื่องยาก
เหน็บแบบเอาคมลง หรือหงายคมขึ้น (คมหงาย ช่วยรักษาคมดาบและชักออกได้เร็ว)
ดาบตาชิ
โค้งมากกว่า และยาว(ความยาวเฉพาะคม 70+ cm )เพราะใช้บนหลังม้า มีระยะและความโค้งที่เหมาะสำหรับผู้อยู่สูง(บนหลังม้า) ใช้โจมตีผู้อยู่ต่ำ(ซามูไรเดินเท้า) นิยมห้อยแบบเอาคมลงพื้น เพราะเวลาชักดาบออกจากฝัก จะง่าย ทิศทางการชักดาบคือ ชักแบบ ชูมือขึ้นฟ้า หรือ ชักเฉียง 45 ขึ้นฟ้า ถ้าพกแบบเอาคมหงาย การชักจะลำบากมาก เพราะความโค้งดาบจะบังคับให้ ร่างกายผู้ใช้ ต้องโน้มก้มลงต่ำ ตามโค้งดาบ และทิศทางของมือที่ชักจะ ชูมือลงดิน
ดาบคะตะนะ
เป็นดาบที่สั้นกว่า (ความยาวเฉพาะคม 60 cm ไม่เกิน 70 cm ) โค้งน้อยกว่า จะพกแบบคมหงายหรือคมคว่ำ ก็ชักได้สะดวกทั้งสองแบบ แต่การพกแบบเอาคมขึ้นได้เปรียบกว่าคือ การรักษาคมดาบไม่ให้เสียหายจากการรูดกับไม้ในฝักเวลาชักดาบ เพราะการพกแบบคว่ำ สันดาบจะทำหน้าที่เป็นรางสไลด์กับพื้นไม้ในฝัก ในขณะที่คมดาบยังลอยในฝักโดยไม่สัมผัสกับผิวไม้ อีกทั้งสามารถโจมตีในดาบแรกทันที ที่ดาบชักจากฝัก( นูคิอุชิ) ซึ่งเป็นท่าที่ซามูไรทั่วไปนิยมใช้กัน
ref. https://pantip.com/topic/34720219/