คำสั่งใช้งาน Google Search
• ค้นหาวลี (” “)
ถ้าเราใส่เครื่องหมายคำพูดล้อมรอบกลุ่มคำ หนึ่งๆ ก็จะเป็นการบอกให้ Google ยึดเอาลำดับคำตามที่เราบอกทุกอย่าง ไม่มีสลับตำแหน่งว่างั้นเหอะ
ซึ่ง Google มักใช้ลำดับตามที่ปรากฏอยู่แล้ว และจะยึดถือตามนั้นนอกจากจะมีเหตุผลอื่น
• ค้นหาภายในเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งโดยเฉพาะ (site:)
เราสามารถระบุว่าผลการค้นหาของเราต้องมาจากเว็บไซต์ที่กำหนดเท่านั้น
ตัวอย่าง เช่น ข้อความค้นหา [ Thai food site:thailandtoday.com ] จะแสดงหน้าเว็บที่เกี่ยวกับ Thai food ซึ่งมาจาก thailandtoday.com เท่านั้น
นอกจากนี้ เรายังสามารถระบุไซต์ต่างๆ ในประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น [Thai food site:.gov ] จะแสดงผลการค้นหาที่มาจากโดเมน .gov เท่านั้น
และ [Thai food site:.th ] จะแสดงผลการค้นหาที่มาจากไซต์ของประเทศไทยเท่านั้น
• ข้อความที่เราต้องการจะตัดออก (-)
ให้ใส่เครื่องหมายลบหน้าคำเพื่อระบุว่าเราไม่ต้องการให้หน้าเว็บที่มีคำนี้ปรากฏอยู่ในผลการค้นหาของเรา
เครื่องหมายลบควรปรากฏอยู่หน้าคำโดยไม่ต้องเว้นวรรค และควรนำหน้าด้วยการเว้นหนึ่งเคาะ
ตัวอย่างเช่น ในข้อความค้นหา [ ซอฟต์แวร์ anti-virus ]เครื่องหมายลบถูกใช้เป็นเครื่องหมายยัติภังค์
และจะไม่ถูกตีความว่าเป็นเครื่องหมายของการตัดออกไป ในขณะที่ข้อความค้นหา [ anti-virus -software ]
จะค้นหาคำว่า “anti-virus” แต่จะไม่รวมการอ้างอิงใดๆ ถึง software
• ใส่ข้อมูลในช่องว่าง (*)
เครื่องหมาย * หรืออักขระตัวแทน ไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่มีประโยชน์
ถ้า เราใส่เครื่องหมาย * ในข้อความค้นหา ก็จะเป็นการบอก Google ให้พิจารณาว่าเครื่องหมายดาวนั้นเป็นตำแหน่งที่สำรองไว้สำหรับข้อความที่ไม่ รู้จัก
และค้นหาผลการค้นหาที่ตรงที่สุด ตัวอย่างเช่น [ โอบามาลงคะแนนเสียง*ในร่างกฎหมาย* ]
จะให้เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับการลงคะแนนต่างๆ ในร่างกฎหมายฉบับต่างๆ แก่เรา
• ตัวดำเนินการ OR
โดยค่าเริ่มต้น Google จะพิจารณาคำทุกคำในข้อความค้นหา หากเราต้องการจะกำหนดให้ค้นหา คำใดคำหนึ่ง จากหลายๆ คำที่ระบุไว้
เราก็สามารถใช้ตัวดำเนินการ OR (โปรดทราบว่าเราต้องพิมพ์ “OR” เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด) ตัวอย่างเช่น [World cup 2010 OR 2014 ]
จะ ให้ผลการค้นหาเกี่ยวกับปีใดปีหนึ่งจากสองปีที่ระบุ แต่ [ World cup 2010 2014 ] (โดยไม่มี OR) จะแสดงหน้าเว็บที่ระบุถึงทั้งสองปีในหน้าเว็บเดียวกัน
ข้อยกเว้น
• คำต่างๆ ที่ใช้กันโดยทั่วไป เช่น ‘the’ ‘a’ และ ‘for’ มักถูกมองข้ามไป (คำเหล่านี้เรียกว่า คำที่ไม่เกี่ยวข้องในเนื้อหา)
แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับเรื่องนี้ ข้อความค้นหา [ the who ] มีแนวโน้มที่จะอ้างถึงวงดนตรี
ส่วนข้อความค้นหา [ who ] มักจะอ้างถึงองค์การอนามัยโลก (World Health Organization)
• เครื่องหมายวรรคตอนในข้อความค้นหายอดนิยมที่มีความหมายเฉพาะ เช่น [ C++ ] หรือ [ C# ] (ทั้งสองคำเป็นชื่อภาษาการเขียนโปรแกรม)
• สัญลักษณ์เงินดอลลาร์ ($) จะใช้เพื่อระบุถึงราคา [ Nikon 400 ] และ [ Nikon $400 ] จะให้ผลการค้นหาแตกต่างกัน
• เครื่องหมายยัติภังค์ – บางครั้งจะถูกใช้เพื่อบอกให้ทราบว่าคำสองคำนั้นมีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก
(ยกเว้นไม่มีการเว้นวรรคหลังเครื่องหมาย – และมีการเว้นวรรคข้างหน้าเครื่องหมายนี้ ซึ่งในกรณีนี้ถือเป็นเครื่องหมายลบ)