มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ทำให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่าแท้จริงแล้วขงเบ้งก็ไม่ได้ฉลาดหลักแหลมสักเท่าไหร่ เมื่อเขาเลือก “นางอุ๋ยซี” เป็นภรรยา ขงเบ้งเลือกภรรยาด้วยวิธีพิจารณาจาก “สติปัญญา ใช่เพียง รูปกาย”
สามก๊ก มีบางฉบับ ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์
ความจริง
จากเว็บจีน “หวงเยว่อิง” หรือ “นางอุยซี” จริงๆ แล้วไม่ได้อัปลักษณ์
ในคำบรรยายเขาบอกไว้ว่าเยว่อิงมีผิวสีแทน และผมออกแดงๆ หน่อย อาจจะผิดจากค่านิยมที่ชอบหญิงผิวขาวๆ
ว่ากันว่าที่ขงเบ้งชื่นชอบนาง เพราะความเฉลียวฉลาด การเจรจาพาทีมีคมคาย นางเป็นทั้งแม่และเมียที่ดี คอยสนับสนุนสามีในทุกๆ ด้าน
เมื่อขงเบ้งตาย นางก็ไม่คิดมีใหม่ ยังครองความม่าย และตรอมใจตายตามไปไม่นาน
ที่ว่าอัปลักษณ์ น่าจะเป็นเพราะสมัยนั้นไม่นิยมผู้หญิงที่ฉลาดเกิน เลยถูกพูดถึงในแง่ลบมากกว่า ซึ่งเกิดจากการเขียนของไทยเอง เพราะในเว็บจีนทุกอัน ไม่เคยเห็นว่ามีรูปอัปลักษณ์ของนางเลย
ขงเบ้งในวัย 18 ปี ลี้ภัยสงครามมาอยู่อาศัยในกระท่อมหญ้าเล็ก ๆ บนเขาโงลังกั๋ง ชายแดนเมืองเกงจิ๋ว ทำไร่ไถนาหาเลี้ยงชีพไปวัน ๆ แต่กระนั้น ก็ยังพากเพียร ใช้เวลาว่างในการศึกษาหาความรู้อยู่เป็นนิจที่หมู่บ้านเดียวกันนั้นเอง
อุยสิง่าน เห็นว่าน้อยขงเบ้งขยัน สติปัญญาหลักแหลม จึงได้แวะไปเยี่ยมเยือน ที่กระท่อมหญ้าบ่อยครั้ง ขงเบ้งเองก็ได้ให้ความเคารพนับถืออย่างมากพูดคุยกันในเรื่องตำราวิชาการ เหตุบ้านการเมืองอย่างถูกอกถูกคออุยสิง่านพอใจเป็นอย่างมาก จึงคิดจะฝากฝังบุตรสาวของตนให้ขงเบ้งดูแล แต่ขงเบ้งได้บอกปัดไปทุกครั้ง เพราะคำล่ำลือในหมู่บ้านว่า บุตรสาวของอุยสิง่านเป็นสตรีอัปลักษณ์อุยสิง่าน มิได้ละความเพียรของตน ยังคงไปมาหาสู่ขงเบ้ง และเสนอเรื่องการหมั้นหมายให้ขงเบ้งทุกครั้ง จนขงเบ้งเกรงใจรับคำหมั้นอย่างขอไปที เพราะเขายังต้องการศึกษาหาความรู้จากอุยสิง่านต่อไปอีกมาก รวมทั้งคิดว่านี่เป็นแค่การหมั้นหมาย ยังมิใช่การแต่งงานอุยสิง่านยังคงเทียวมาเทียวไปที่บ้านขงเบ้งเพื่อสนทนาปัญหาสารพัน มีเพียงเรื่องเดียวที่ขงเบ้งไม่เคยเอ่ยถึง นั่นคือเรื่องการแต่งงาน อุยสิง่านก็ร้อนใจ จึงถามขงเบ้งไปว่า
“ข้ามาเยี่ยมเจ้าถึงเรือนทุกครั้ง หากไม่เป็นการรบกวน หวังว่าคราวหน้าเจ้าจะมาเยี่ยมข้าที่เรือนบ้าง”
ขงเบ้งจึงตอบรับตามมารยาท แล้วให้คำมั่นสัญญาว่าจะไปเยี่ยมอุยสิง่านถึงเรือน
สองสามวันให้หลัง ขงเบ้งมาเยี่ยมอุยสิง่านตามคำสัญญา เมื่อมาถึงเรือนบ่าวรับใช้ก็รีบเปิดประตูรั้วให้ขงเบ้งเข้าไปทันที แล้วกล่าวว่า“นายท่านเน้นย้ำกับข้าเป็นหนักหนาว่า หากท่านขงเบ้งมาเมื่อใดให้รีบเชิญเข้ามาทันที ส่วนท่านอุยสิง่านจะรอรับท่านอยู่ในเรือนด้านในสุดขอรับ”
ขงเบ้งเดินเข้ามาข้างในเห็นประตูปิดอยู่ จึงเดินเข้าไปเคาะตามธรรมเนียม พลันประตูก็เปิดออกได้เอง ขงเบ้งประหลาดใจมากเมื่อเข้าไปในห้อง เขาก็ได้ยินเสียงตะกุกตะกัก สุนัขสองตัวกำลังตั้งท่าจะกระโจนใส่เขา ตัวสีดำเห่า สีขาวแยกเขี้ยวขู่คำราม ก่อนที่ขงเบ้งจะเสียที สาวใช้คนหนึ่งโผล่เข้ามา แล้วลูบหัวสุนัขทั้งสองเบา ๆ ทำให้มันหมอบลง จากนั้นสาวใช้ก็บิดหูสุนัขทั้งสอง พอเป็นสัญญาณให้สุนัขวิ่งกลับไปยังเบาะนอนของมัน พอได้สติก็เห็นว่าแท้จริงสุนัขสองตัวนั้น เป็นสุนัขกลทำด้วยไม้ หุ้มด้วยหนัง เคลื่อนไหวด้วยกลไกในแบบที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิต เขาถามสาวใช้ว่าใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์สุนัขกลสองตัวนี้ แต่สาวใช้ไม่ตอบ แล้วพาขงเบ้งเดินต่อไปยังเรือนอีกหลังหนึ่งขงเบ้งเข้ามาถึงเรือนด้านใน มีเป็นเสือโคร่งตัวเขื่องสองตัว ร้องคำราม แยกเขี้ยวใส่ ขงเบ้งมิได้ตกใจเหมือนก่อน เพราะคิดไว้แล้วว่านี่ต้องเป็นกลอุบาย เขาจึงเดินเข้าไปลูบหัวเสือโคร่งพอมือได้สัมผัส เสือโคร่งสองตัวก็พุ่งกระโจนเข้าใส่ขงเบ้งจนล้มลง อุ้งเล็บของมันเตรียมจะเฉือนขงเบ้งออกเป็นชิ้น ปากของมันเปิดกว้างให้เห็นเขี้ยวแหลมแวววาว แต่ก็เป็นอีกครั้งที่สาวใช้คนเดิมโผล่เข้ามาแล้วบอกว่า
“ท่านมีสติปัญญาก็จริง แต่วิธีที่ใช้กับสุนัข ไม่อาจใช้ได้กับเสือ”
ว่าแล้วหล่อนกับตบก้นเสือทั้งสอง เป็นสัญญาณให้มันหมอบราบ มิต่างจากลูกแมวอิ่มนม
ขงเบ้งรู้สึกขัดเขิน เขาจึงร้องขอให้สาวใช้ช่วยนำทางเขาไปหาอุยสิง่าน ในเรือนหลังต่อไป แต่นางกลับปฏิเสธและบอกว่ามีภาระ ต้องโม่แป้งถุงใหญ่สำหรับอาหารมื้อเย็น พลางชี้ไปที่เครื่องโม่แป้งขงเบ้งต้องตะลึงอีกครั้ง เมื่อเห็นว่าเครื่องโม่แป้งที่ว่านั้น เป็นหุ่นลาทำด้วยไม้ เดินโม่แป้งเป็นวงกลมโดยไม่มีหยุดพัก“ท่านอุยสิง่าน ช่างสรรสร้างนัก เขาสร้างหุ่นยนต์กลไกเหล่านี้ได้อย่างไรกัน ข้าไม่เคยรู้มาก่อนเลย”สาวใช้จึงบอกว่า ท่านอุยสิง่านไม่ได้ประดิษฐ์สิ่งเหล่านี้ แต่ถ้าท่านอยากรู้ว่าใครเป็นคนทำ ก็ขอให้เดินต่อเข้าไปยังเรือนด้านในขงเบ้งยังคงหวาดระแวง เพราะทุกครั้งที่เดินผ่านเรือนแต่ละหลัง เขาจะต้องเผชิญกับสิ่งประดิษฐ์อันพิสดารพันลึก แต่ยังมิทันที่สาวใช้จะบอกกล่าวอะไรเพิ่มเติม ประตูเรือนหลังสุดท้ายก็เปิดออกมาสตรีนางหนึ่งค่อย ๆ เยื้องกรายผ่านประตูออกมา ร่างของนางดูสูงโปร่ง กิริยาท่าทางสมเป็นกุลสตรี ผิวกายกลับดำกร้าน นางถามสาวใช้ด้วยเสียงอ่อนโดยว่า “ท่านผู้นี้เป็นใครกัน”สาวใช้ยังมิทันตอบ ขงเบ้งก็ก้าวเท้าออกมาแล้วว่า“ข้าพเจ้าชื่อเหลียง แซ่จูกัด เพื่อนสนิทมิตรสหายมักเรียกข้าว่า ขงเบ้ง ข้าเป็นชาวไร่ อาศัยอยู่บนเขา ท่านอุยสิง่านไปมาหาสู่ข้าอยู่บ่อย ๆ วันนี้ข้ามีโอกาสจึงมาเยี่ยมคำนับท่านที่เรือน”“เช่นนั้นก็ขอเชิญท่านตามข้ามา” สตรีผู้นั้นเดินเข้าไปในเรือนขงเบ้งทำลังเล สาวใช้จึงบอกให้ตามเข้าไปเถิด นายหญิงของข้าปิดเครื่องยนต์กลไกทั้งหมดแล้ว ท่านไม่ต้องกลัว ขงเบ้งจึงรีบตามเข้าไป แต่ในใจก็ยังหวั่น ๆ และระแวดระวังอยู่ตลอดเวลา ในระหว่างทางที่เดินเข้าไป
ความรู้สึกระวังตัวของเขาลดลงแล้ว เปลี่ยนเป็นความอยากรู้อยากเห็น ว่าสิ่งประดิษฐ์ที่เขาเจอในวันนี้ ใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นในเวลาไม่นานนัก อุยสิง่านเดินเข้ามาในห้อง ขงเบ้งลุกคำนับตามธรรมเนียม แล้วทักทายอุยสิง่านทันทีว่า“การเดินทางมาเยือนท่านในครั้งนี้มิใช่เรื่องง่ายเลย ข้าแทบเอาชีวิตมาทิ้งที่นี่เลยทีเดียว”อุยสิง่านหัวเราะชอบใจเพราะรู้ว่าขงเบ้งต้องพบเจออะไรมาบ้าง แล้วจึงเฉลยให้ขงเบ้งฟังว่า ผลงานทั้งหมดนี้เป็นของ “อุ๋ยซี” ลูกสาวของตน พร้อมกับขอโทษขอโพยขงเบ้งแทนนางเป็นการใหญ่ขงเบ้งได้ฟังดังนั้นก็ฉุกคิดขึ้นในใจ“จูกัดเหลียงหนอจูกัดเหลียง ท่านอุยสิง่านมั่นหมายเรากับสตรีผู้วิเศษ แต่เจ้ากลับโง่เขลา มองคนที่เพียงรูปกายภายนอก ไม่มองลึกผ่านเข้าไปด้วยสติปัญญาแลหัวใจ สตรีวิเศษเช่นนี้ แน่แล้วว่าไม่อาจหาได้อีกบนแผ่นดินจีน จูกัดเหลียงเอ๋ย ช่างเบาปัญญายิ่งนัก”คิดได้ดังนั้น ขงเบ้งจึงรีบกล่าวตอบอุยสิง่านว่า “ข้าพเจ้าชื่นชมในสติปัญญาของแม่นางอุ๋ยซีมากนัก”อุยสิง่านว่า “บุตรสาวของข้าอัปลักษณ์ ข้าพยายามหาคู่หมั้นคู่หมายให้นางมาตลอด แต่ก็คงหมดหวังแล้ว…..”ยังไม่ทันที่อุยสิง่านจะกล่าวต่อ ขงเบ้งรีบชิงตัดบทแล้วกล่าวว่า“ข้าพเจ้ามาหาท่านในวันนี้ เพื่อคำนับท่านในฐานะท่านบิดา ขอท่านโปรดรับข้าเป็นบุตรเขยของท่าน ตามที่เราได้เคยหมั้นหมายกันด้วยเถิด”อุยสิง่านได้ยินดังนั้นก็หัวเราะชอบใจ ยินดีรับขงเบ้งเป็นบุตรเขยของตนขงเบ้งแต่งงานกับนางอุ๋ยซีไปแล้ว ทั้งสองได้ช่วยเหลือและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยกัน ซึ่งตามตำนานพื้นบ้านของจีนก็ว่ากันว่าสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่ขงเบ้งคิดค้นขึ้นนั้น ล้วนมาจากสติปัญญาของนางอุ๋ยซีในเรื่องสามก๊ก ขงเบ้งสร้างโคยนตร์ ทำด้วยไม้ ใช้ขนส่งเสบียงอาหารในกองทัพ เดินทางได้วันละหลายลี้โดยไม่ต้องหยุดพัก ก็มีที่มาจากการที่นางอุ๋ยซีประดิษฐ์สุนัข เสือโคร่ง และลาไม้ขงเบ้งยังสร้างหน้าไม้กลยิงเกาทัณฑ์ได้ครั้งละสิบดอก และมอบวิธีการสร้างส่งต่อให้เกียงอุย ใช้รบกับวุยก๊ก นอกเหนือจากนั้นยังเจนจบในวิชาดาราศาสตร์ สามารถหยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร รวมทั้งวิชาไสยศาสตร์ เรียกลมเรียกฝน จุดเทียนไฟต่อชะตาชีวิต ฯลฯ ศาสตร์และวิทยาการในสมัยโบราณบางเรื่องก็ยากเกินกว่าจะใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไปตัดสิน แต่เรื่องขงเบ้งเลือกเมีย ก็เป็นอุทาหรณ์สอนใจได้ทุกยุคทุกสมัย เป็นอย่างดีว่า
“สิ่งสำคัญ ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา แต่สามารถสัมผัสได้ด้วยใจ”
นอกจากในสามก๊กฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แล้ว มีการกล่าวถึงนางอุ๋ยซีในอีกแง่หนึ่งซึ่งแตกต่างออกไป โดยบางที่มาอ้างอิงถึงนางอุ๋ยซีว่านางมีนามเต็มว่า หวงเยฺว่อิง (黄月英) ซึ่งชื่อของนางที่อุยสิง่านเป็นผู้ตั้งให้นั้น แปลว่า จันทร์กระจ่าง หมายถึงสติปัญญาอันฉลาดเฉลียวจนเกินยิ่งกว่าหญิงใดๆ ในวัยเดียวกันนั้นเอง ลักษณะของอุ๋ยซีนั้นมิได้อัปลักษณ์จนเกินงามมากนัก เพียงแต่มีสีผิวที่เหลืองเข้มมากจนค่อนไปทางดำคล้ำเท่านั้น ทว่าสิ่งที่จูกัดเหลียงมองเห็นในตัวของอุ๋ยซีนั้น คือความงามจากภายใน การเจรจาพาทีที่สามารถชักจูงให้ผู้คนคล้อยตามโดยง่าย ความรอบรู้ฉลาดเฉลียว ทำให้นางงามล้ำโดดเด่นยิ่งกว่าหญิงใดๆ นอกจากการเจรจาพาทีอันชาญฉลาด อุ๋ยซียังมีความชำนาญในการเรียนรู้และถ่ายทอดอีกด้วย นางได้พัฒนาพาหนะที่จูกัดเหลียงประดิษฐ์ขึ้น และส่งต่อวิทยาการนั้นสู่อนุชนรุ่นหลังจนกลายเป็นที่กล่าวขานในเกงจิ๋วสืบมาจนปัจจุบัน
นอกจากชื่อเดิมของนางแล้ว อุ๋ยซี หรือหวงเยฺว่อิง ยังมีอีกชื่อหนึ่ง คือ หวงว่าน อันหมายถึงผู้มีปัญญาอันล้ำเลิศ ความฉลาดเฉลียวของนางไม่ได้ด้อยไปกว่าบิดาอุยสิง่าน และเสอปิ่งผู้เป็นพี่ชายเลย ในบทประพันธ์ของหลอกว้านจงมีการกล่าวถึงนางอีกด้วย รวมทั้งชื่อของนางยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นสตรีผู้มีความสามารถสูงส่งแห่งยุค ส่วนที่มีการกล่าวว่านางเป็นสตรีที่อัปลักษณ์ ผมเหลือง ผิวดำนั้น มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการกล่าวให้ร้ายจากผู้ที่ริษยาในความเก่งกาจสามารถผิดจากหญิงใดๆ ในยุคเดียวกันมากกว่า ซึ่งก็น่าจะมีส่วน เพราะสตรีจีนที่มีความเก่งกาจโดดเด่น ส่วนใหญ่มักถูกพาดพิงถึงในแง่ลบอยู่เสมอ
นอกจากความสามารถในด้านต่างๆ แล้ว อุ๋ยซียังเป็นที่ปรึกษาที่ดีของจูกัดเหลียง นางมักจะเศร้าโศกไปด้วยทุกครั้งที่จูกัดเหลียงกลัดกลุ้มใจ นางมีความปรารถนาดีต่อจูกัดเหลียงอย่างลึกซึ้ง นอกจากจะเป็นภรรยาที่ดีแล้ว อุ๋ยซียังเป็นแม่ที่ดีอีกด้วย เรื่องราวที่เล่าขานเกี่ยวกับความรักระหว่างอุ๋ยซีและจูกัดเหลียงนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่งดงามที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว ในพงศาวดารบันทึกไว้ว่า หลังจากจูกัดเหลียงตายจากไปแล้ว อุ๋ยซีได้ตรอมใจและตายตามไปในเวลาไม่นาน เรื่องของอุ๋ยซีจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งกล่าวถึงความภักดี และความกตัญญู ที่คนรุ่นหลังควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
ความจริงแล้วนางอุยซี คงมิได้อัปลักษณ์อย่างที่เล่าขานกันมา คนกล่าวว่านางอัปลักษณ์ สาเหตุสำคัญเป็นเพราะอุยสิง่านพูดกับขงเบ้งว่า “มีบุตรีอัปลักษณ์” แต่อนุมานตามสภาพการณ์ในครั้งนั้นแล้วอย่างมากอุยซีก็แค่รูปร่างพื้นๆ ประการแรก คำพูดของอุยสิง่านเป็นคำถ่อมตัว คนเป็นพ่อย่อมไม่กล้าอวดว่าลูกสาวสวย การถ่อมตัวนิดหน่อยเป็นเรื่องธรรมดามาก
มารดาของนายอุยซีเป็นพี่สาวร่วมท้องกับภรรยาหลวงของเล่าเปียว ไม่เคยมีคนพูดว่าภรรยาเล่าเปียวอัปลักษณ์ พี่สาวร่วมท้องถึงจะรูปร่างต่างกันแต่ก็ไม่น่าจะต่างกันมากเช่นนั้น และ แม้จะมีคำกล่าวอีกแง่หนึ่งว่า ขงเบ้งยอมมีภรรยาอัปลักษณ์ก็เพื่อใช้เป็นหนทางเข้าสู่สังคมชั้นสูง แต่ความจริงแล้วในยุคนั้น สถานะของแซ่จูกัดกับแซ่อุยเสมอกัน พี่สาวขงเบ้ง (สองคน) ก็แต่งกับแซ่เก็ง (จิง) และแซ่บ้ง (ผัง) ซึ่งมีเกียรติอยู่ในยุคนั้น
ดังนั้น คำกล่าวนี้ที่ว่า เมียของเบ้งอัปลักษณ์ จึงไม่มีเหตุผลพอจะเชื่อถือได้
การที่ขงเบ้งเลือกแต่งงานกับสตรีที่หน้าตาขี้เหร่เป็นภรรยา จึงมีคำนินทาเล่าลือกันมาก แต่อีกนัยหนึ่งก็เป็นคำกล่าวยกย่องว่า ขงเบ้งไม่สนใจรูปกายนอกเท่ากับสติปัญญาของนาง แต่ก็น่าคิดสนุกๆว่า หากพิจารณารูปโฉมของนางแล้ว อาจพบว่า เย่อิงไม่ได้ตรงกับมาตรฐานความงามของสตรีชาวฮั่นทั่วไป แต่รูปโฉมจะคล้ายคลึงกับลักษณะภายนอกของพวกแขกอาหรับ เปอร์เซีย หรือชาวตะวันตก เพราะเล่าลือกันว่า แม่ของนางเป็นชนเผ่านอกด่านไปทางตะวันตก